เรื่องต้องรู้ ก่อนยื่นภาษีผู้มีเงินได้ ไม่ให้พลาดเสียสิทธิ์ลดหย่อน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เรื่องต้องรู้ ก่อนยื่นภาษีผู้มีเงินได้ ไม่ให้พลาดเสียสิทธิ์ลดหย่อน

Date Time: 19 ธ.ค. 2562 17:49 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • มนุษย์เงินเดือนเตรียมพร้อมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2562 กำหนดให้ยื่นภายใน 31 มี.ค.2563 โดยคนส่วนใหญ่จะยื่นผ่านระบบออนไลน์ของกรมสรรพากร เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.

Latest


มนุษย์เงินเดือนเตรียมพร้อมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2562 กำหนดให้ยื่นภายใน 31 มี.ค.2563 โดยคนส่วนใหญ่จะยื่นผ่านระบบออนไลน์ของกรมสรรพากร เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 และขยายเวลาออกไปอีก 8 วัน ถึงวันที่ 8 เม.ย. 2563

เพื่อย้ำเตือนถึงสิ่งที่ต้องทำในการยื่นภาษีและให้เป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ทาง "ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์" อาจารย์ด้านกฎหมายภาษี หนึ่งในทีมผู้พัฒนา และ CEO iTAX ให้คำแนะนำผ่าน "ทีมข่าวไทยรัฐเจาะประเด็น" ว่า โดยหลักๆ เป็นเรื่องของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับรายได้ และการ "ลดหย่อนภาษี" ซึ่งเอกสารรายได้ต้องมีหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ ในกรณีทำงานประจำทางนายจ้างได้จัดทำให้ ส่วนรายได้อื่นๆ เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก ต้องไปขอเอกสารจากทางธนาคาร

"ต้องรู้ว่าเรามีรายได้จากที่ใดบ้าง ซึ่งสำคัญมาก เพราะไม่เช่นนั้นอาจมีปัญหาถูกสรรพากรเรียกเก็บภาษีตามหลัง ส่วนค่าลดหย่อนต่างๆ มีกว่า 20 รายการ ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อมในการกรอกยื่นลดหย่อนเพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์ เช่น ประกันชีวิต กองทุนรวมต่างๆ ส่วนใหญ่ทางบริษัทจะส่งมาให้ลูกค้าอยู่แล้วช่วงปลายปี ควรเช็กให้ดีเผื่อมีการหล่นหาย หรือเอกสารใบกำกับภาษี กรณีซื้ออุปกรณ์การศึกษาและกีฬา รวมถึงค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวเที่ยวเมืองหลักและเมืองรอง สามารถยื่นขอลดหย่อนภาษีได้ เคสพวกนี้อาจมีคนประมาณ 20% ถูกสุ่มตรวจขอดูเอกสาร แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยโดนกัน"

นอกจากนี้ค่าลดหย่อนบางรายการไม่ต้องใช้เอกสาร สามารถใช้สิทธิได้ทันที เช่น เงินบริจาค ผ่านระบบ e-Donation ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ในกรณีนี้หลายคนจะเจอปัญหา ไม่สามารถลดหย่อนได้ เนื่องจากยื่นซ้ำซ้อนกับพี่น้องในครอบครัว เพราะฉะนั้นต้องคุยกับพี่น้องว่าตกลงใครจะใช้สิทธิ์นี้ หรือแบ่งกันใช้สิทธิ์อุปการะเลี้ยงดูเฉพาะพ่อ หรือแม่คนใดคนหนึ่ง และสิ่งสำคัญพ่อและแม่อยู่ในเกณฑ์หรือไม่ ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อปี

"ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ หลายคนอาจเกิดเหตุการณ์จุดไต้ตำตอ เพราะพ่อแม่บางคนเล่นหุ้น อาจไม่ได้บอกลูก ทำให้มีปัญหาไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้ บางคนมั่นใจมากว่าพ่อแม่ไม่ไปลงทุนอะไร และพ่อแม่หลายๆ ครอบครัวก็คิดว่าไม่จำเป็นต้องบอกลูก สุดท้ายพลาดกันหลายคนในเรื่องนี้"

อีกเทคนิคสำคัญในการยื่นภาษี ซึ่งจะมีการคำนวณจ่ายคืนภาษี หรือต้องจ่ายภาษีเพิ่ม ซึ่งขอแนะนำให้ยื่นภาษีให้เร็วที่สุดในช่วงเดือนม.ค.ถึง ก.พ. เนื่องจากเป็นช่วงจังหวะที่คนยื่นภาษียังไม่มาก ทำให้การพิจารณาของเจ้าหน้าที่ใช้เวลาไม่นานในการคืนเงินภาษี ซึ่งผ่านพร้อมเพย์จะได้เงินคืนเร็วกว่าจ่ายทางเช็ก ส่วนกรณีต้องจ่ายภาษีเพิ่มนั้น จะยื่นเมื่อใดก็ได้ไม่มีปัญหา แต่หากต้องจ่ายเพิ่ม เช่น 3 พันบาทขึ้นไป รู้หรือไม่ตรงนี้สามารถผ่อนจ่าย 0% กับสรรพากรได้นานถึง 3 เดือน

สำหรับการยื่นภาษีขณะนี้มีข้อกฎหมายให้สามารถยื่นเป็นกระดาษทางไปรษณีย์ และสรรพากรในแต่ละเขตพื้นที่ ซึ่งการยื่นภาษีไม่แตกต่างกับการยื่นผ่านระบบออนไลน์ แต่การยื่นออนไลน์จะมีข้อดี เนื่องจากมีการขยายเวลาออกไปอีก 8 วัน จนถึงวันที่ 8 เม.ย. 2563 ดังนั้นกรณียื่นภาษีไม่ทัน ภายในวันที่ 31 มี.ค.2563 ก็สามารถยื่นผ่านออนไลน์ได้ และสุดท้ายเวลายื่นเอกสารขอคืนเงิน สิ่งสำคัญคือเรื่องเอกสาร อาจถูกสรรพากรขอตรวจสอบ เช่น สัญญาเกี่ยวกับงาน หรือค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับรายได้ตรงๆ โดยเอกสารเหล่านี้ควรเก็บไว้อย่างน้อย 5 ปี หากมีการขอตรวจสอบ

"อีกสิ่งหนึ่งไม่ควรลืมกรณีกู้ซื้อบ้าน นอกจากนำดอกเบี้ยบ้านมาลดหย่อนแล้ว ได้มีหลายคนถูกทางธนาคารบังคับให้ทำประกันชีวิตไปด้วย ตรงนี้อย่าลืม เพราะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน หรือกรณีบริจาคให้พรรคการเมือง หลายคนเข้าใจผิดมาตลอดคิดว่าหากบริจาคแล้วจะโดนหักเงินภาษีที่ได้คืน ซึ่งจริงๆ แล้วไม่มีผลต่อเงินภาษีที่ได้คืน โดยคลังจะนำภาษีของเราที่จ่ายไป นำส่งพรรคการเมือง ยกตัวอย่าง บริจาค 500 บาท ก็ไม่ได้หักเงินภาษีที่ได้คืนของเรา ทำให้ที่ผ่านมาไม่ค่อยมีคนบริจาคให้พรรคการเมือง เพราะความเข้าใจผิดคิดว่าเงินที่ได้คืนจะหายไปด้วย".

สรุปการยื่นภาษีง่ายนิดเดียว หากรู้ข้อมูลมีการเตรียมพร้อมด้านเอกสาร คุณจะไม่เสียสิทธิ์ลดหย่อนภาษีอย่างแน่นอน !!! (อ่านเพิ่มเติม ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง?)


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ