“เต่ากัดยาง” บัตรแมงมุมเลื่อนอีก 18 เดือน “ชัยวัฒน์” ไม่ทนสั่งงัดแผน “เชื่อมบัตรเก่า”

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“เต่ากัดยาง” บัตรแมงมุมเลื่อนอีก 18 เดือน “ชัยวัฒน์” ไม่ทนสั่งงัดแผน “เชื่อมบัตรเก่า”

Date Time: 1 พ.ย. 2562 08:40 น.

Summary

  • นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม หรือบัตรแมงมุม ว่า

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้



นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม หรือบัตรแมงมุม ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาระบบ ตั๋วร่วมของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ (รฟม.) เป็นเทคโนโลยีดิจิทัล มาตรฐาน EMV (Europay Mastercard and Visa) เพื่อให้นำไปชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าได้ทุกสาย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พบว่ามีความล่าช้ามาก รฟม.รายงานว่า จะต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบถึง 18 เดือน ถึงจะสมบูรณ์ เพราะต้องตกลงเรื่องรูปแบบธุรกิจและส่วนแบ่งรายได้ ซึ่งจะต้องนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.เห็นชอบ คาดว่าจะใช้งานได้ช่วงเดือน เม.ย.64 จากเดิมที่กำหนดให้ใช้งานได้ไม่เกินปลายปี 62

ที่ประชุมเห็นว่าการรอพัฒนาตั๋วร่วม EMV เป็นเวลานานไม่ตอบโจทย์ให้ประชาชน และส่วนตัว ก็ไม่สบายใจอย่างมาก ดังนั้น จึงเห็นตรงกันที่จะมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปหารือกับ รฟม. แอร์พอร์ตเรลลิงก์ และบีทีเอส ในการปรับระบบของบัตรโดยสารรถไฟฟ้า ที่มีอยู่แล้วให้สามารถใช้บริการข้ามทุกระบบ โดยนำไปชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสายได้ไม่ว่าจะถือบัตรใด ได้แก่ บัตรแรบบิท ที่ใช้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส, บัตรแมงมุมและบัตร MRT plus ที่ใช้กับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง/สายสีน้ำเงิน บัตร Smart Pass ที่ใช้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ถือบัตรแรบบิทอยู่ 12 ล้านใบ บัตร MRT plus 2 ล้านใบ และบัตรแมงมุม 2 แสนใบ

“ต้องหารือว่าจะใช้เวลาแค่ไหนในการร้อยระบบบัตรโดยสารทั้งหมดให้ใช้งานข้ามระบบได้ และใช้ค่าใช้จ่ายจำนวนเท่าไหร่ในการปรับปรุงระบบหัวอ่าน และใครจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย โดยต้องหาข้อสรุปให้ได้ภายใน 2 สัปดาห์ และนำมาเสนอที่ประชุมพิจารณาความคุ้มค่าอีกครั้ง ซึ่งในเบื้องต้นทุกหน่วยงานทั้งบีทีเอส แอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ และ รฟม.รับหลักการที่จะไปพิจารณาปรับระบบบัตรโดยสารของตัวเองให้สามารถใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าทุกสายในปัจจุบันได้ ทั้งนี้ หากดำเนินการได้จะ วิน-วินทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชน ที่ไม่ต้องไม่ซื้อหรือเปลี่ยนบัตรใหม่ในอนาคต อย่างไรก็ตาม แม้ว่า บัตรโดยสารจะสามารถใช้ข้ามระบบได้ แต่การเติมเงินยังต้องเติมกับเคาน์เตอร์เจ้าของบัตรเท่านั้น”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ