คาบลูกคาบดอก : ความสามารถในการแข่งขัน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

คาบลูกคาบดอก : ความสามารถในการแข่งขัน

Date Time: 1 พ.ย. 2562 05:02 น.

Summary

  • รายงานดัชนีความสามารถในการแข่งขันระดับโลกปีนี้ โดย สภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum (WEF) พิจารณาจากปัจจัยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

Latest

“เจ้าสัวธนินท์” มองโลก มองธุรกิจ เชื่อมือ รัฐบาล ดันไทยเป็น “ฮับการเงิน” ปลุกผู้ค้าก้าวทัน AI-เทคฯ

รายงานดัชนีความสามารถในการแข่งขันระดับโลกปีนี้ โดย สภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum (WEF) พิจารณาจากปัจจัยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ในส่วนที่มีการส่งเสริมการพัฒนาการเจริญเติบโต พบว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า ในประเทศไทยสามารถที่จะดำเนินการจัดการบริหารได้ดีในด้านการเข้าถึงไฟฟ้า อยู่อันดับที่ 2 ของโลก เมื่อเทียบกับอีก 67 ประเทศ

คุณภาพการจ่ายกระแสไฟฟ้า สามารถทำได้ดีถึงระดับร้อยละ 98.1 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา อยู่ในอันดับที่ 31 ขยับขึ้นมาอีกหนึ่งอันดับ แสดงถึงศักยภาพและความเข้มแข็งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้า ของ กฟผ. กฟน.และ กฟภ.เป็นอย่างดี

ภาพรวมของประเทศดัชนีความสามารถในการแข่งขันปีนี้ ประเทศไทย มีความสามารถในการแข่งขันดี อยู่ในอันดับที่ 40 ของโลกจากทั้งหมด 141 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับ มีการพัฒนาขึ้น แต่อันดับลดลงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

ส่องดูประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนาม เป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดสูงที่สุดในโลก

ค่าดัชนีการแข่งขันเพิ่มขึ้นถึง 3.5 คะแนน ทำให้อันดับขยับเพิ่มขึ้นถึง 10 อันดับจากอันดับที่ 77 ในปีที่แล้ว ปีนี้ขึ้นเป็นอันดับที่ 67 ของโลก

ผศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯให้เหตุผลที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขันลดลง 2 อันดับในขณะที่เวียดนามเพิ่มขึ้น 10 อันดับ เมื่อเปรียบเทียบความสามารถการแข่งขันใน กลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยกัน ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 6 จาก 12 ประเทศสิงคโปร์ ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโลกแซงหน้า สหรัฐฯ ส่วน ญี่ปุ่น อยู่อันดับที่ 6 เกาหลีใต้ อันดับที่ 13 มาเลเซีย อันดับที่ 27 จีน อันดับที่ 28 ที่น่าสนใจคือ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ ที่ดัชนีความสามารถในการแข่งขันขยับมาที่อันดับ 50 และ 64 ตามลำดับ

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของประเทศไทย มิติของสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและสภาพแวดล้อมหน่วยงานลดลง การเข้าถึงไฟฟ้าและการเชื่อมต่อของสนามบินทำได้ดีขึ้น แต่ที่ส่งผลถึงคะแนนโครงสร้างพื้นฐานไม่ค่อยดีเนื่องจากความหนาแน่นของระบบทางรถไฟและความมีประสิทธิภาพของการให้บริการรถไฟ

ตัวเลขดัชนีดังกล่าวเป็นการสะท้อนถึงการพัฒนาประเทศในปีที่ผ่านมา ซึ่งต้องยอมรับว่า มีการแข่งขันที่สูงขึ้น และความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก ไม่ใช่เกิดจากการพัฒนาประเทศเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจาก การเปรียบเทียบกับการพัฒนาของประเทศอื่นๆด้วย ดังนั้น จึงต้องอาศัยกลยุทธ์ในการพัฒนาการแข่งขันที่เหนือกว่าประเทศอื่น

การคาดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีของประเทศจะลดลงเหลือแค่ 2.8 เป็นเพียงตัวเลข แต่สิ่งที่จะวัดความสามารถในการแข่งขันคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลักการให้ความสำคัญกับด้านพลังงานและไฟฟ้า เป็นกลยุทธ์ที่เราได้เปรียบประเทศอื่นอยู่แล้ว ถ้าส่งเสริมควบคู่ไปกับการสร้างความโปร่งใสของประเทศเชื่อว่าเราจะกลับมาเป็นหนึ่งในอาเซียนได้แน่นอน.

หมัดเหล็ก


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ