ครม.ไฟเขียวแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มเงิน 500 บัตรคนจน-ผู้สูงอายุ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ครม.ไฟเขียวแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มเงิน 500 บัตรคนจน-ผู้สูงอายุ

Date Time: 20 ส.ค. 2562 16:19 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • ครม.ไฟเขียวแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ วงเงิน 3.16 แสนล้านบาท ทยอยบังคับใช้ตั้งแต่ ก.ย. ทั้งช่วยเหลือเกษตรกร เอสเอ็มอี ท่องเที่ยว ดูแลค่าครองชีพ เพิ่มเงินบัตรคนจนและผู้สูงอายุ เป็น 500 บาท

Latest


ครม.ไฟเขียวแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ วงเงิน 3.16 แสนล้านบาท ทยอยบังคับใช้ตั้งแต่ ก.ย. ทั้งช่วยเหลือเกษตรกร เอสเอ็มอี ท่องเที่ยว ดูแลค่าครองชีพ เพิ่มเงินบัตรคนจนและผู้สูงอายุ เป็น 500 บาท ช่วง ส.ค.-ก.ย.

เมื่อวันที่ 20 ส.ค. นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ วงเงิน 3.16 แสนล้านบาท ตามที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ ไปแล้วในสัปดาห์ก่อน ไม่ว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยว, การช่วยเหลือเกษตรกร, การดูแลค่าครองชีพ, การช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นต้น ซึ่งในแต่ละมาตรการจะค่อยๆ ทยอยมีผลบังคับใช้ได้ตั้งแต่เดือน ก.ย.เป็นต้นไป


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านการพิจารณาของ ครม.เศรษฐกิจ ประกอบด้วยมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง โดยจัดสินเชื่อฉุกเฉิน 50,000 บาท/คน ปลอดดอกเบี้ยปีแรก ปีต่อปี MRR 7%, สินเชื่อฟื้นฟูความเสียหายจากภัยแล้ง 500,000 บาท/คน ดอกเบี้ย MRR -2%, ขยายระยะเวลาชำระหนี้เงินกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ สนับสนุนต้นทุนการผลิตข้าวปีการผลิต 62/63 ที่ 500-800 บาท/ไร่ ไม่เกิน 20 ไร่

มาตรการกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคในประเทศ โดยสนับสนุนท่องเที่ยว "ชิม ช๊อป ใช้" ข้ามจังหวัด โดยให้ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารกรุงไทย วางเป้าหมาย 10 ล้านคน ประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสำหรับท่องเที่ยวผ่านอีวอลเลท 1,000 บาท/คน และมาตรการสนับสนุนค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าท้องถิ่น รับประทานอาหาร พักโรงแรม ต่างๆ รวมกันไม่เกิน 3 หมื่นบาท จะได้รับเงินคืน 15% เป็นต้น

มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ ให้หักค่าใช้จ่ายการซื้อเครื่องจักรจากการลงทุนหักภาษี 1.5 เท่า ภายใน 5 ปี และให้สินเชื่อผ่อนปรนกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ระยะเวลากู้ 7 ปี

ขณะเดียวกัน สถาบันการเงินรัฐ ให้เร่งปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอี ธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน รวม 1 แสนล้านบาท และ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ปล่อยสินเชื่อบ้าน 52,000 ล้านบาท และให้ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ลดค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อให้เอสเอ็มอีในช่วง 2 ปีแรก

มาตรการดูแลค่าครองชีพผ่านกลไกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในช่วง 2 เดือน (ส.ค.-ก.ย.) เพิ่มเงินผู้ถือบัตรเป็น 500 บาท/คน/เดือน, เพิ่มเงินผู้สูงอายุอีก 500 บาท/คน/เดือน และให้เงินดูแลเด็กแรกเกิดเพิ่ม 300 บาท/คน/เดือน

รวมถึงการพักชำระหนี้เงินต้นของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) ที่จ่ายคืนผ่าน ธ.ก.ส.และออมสิน 1 ปี (ต.ค. 62-ก.ย. 63) เพื่อให้ กทบ.มีงบประมาณปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น ซึ่ง กทบ. 50,732 แห่งมียอดหนี้คงค้างที่กู้จาก ธ.ก.ส.และออมสิน 67,000 ล้านบาท.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ