สงครามการค้า-การเมืองวุ่น รุมเร้า หั่นเป้าเศรษฐกิจไทย โตเหลือ 3.5%

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สงครามการค้า-การเมืองวุ่น รุมเร้า หั่นเป้าเศรษฐกิจไทย โตเหลือ 3.5%

Date Time: 16 พ.ค. 2562 19:19 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • ม.หอการค้าไทย หั่นเป้าจีดีพี เหลือ 3.5% จาก 6 ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้าเศรษฐกิจไทยหนัก โดยเฉพาะสงครามการค้า มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น การเมืองขาดสเถียรภาพ จี้ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลชุดใหม่ เร่งสร้างความมั่นใจ

Latest


ม.หอการค้าไทย หั่นเป้าจีดีพี เหลือ 3.5% จาก 6 ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้าเศรษฐกิจไทยหนัก โดยเฉพาะสงครามการค้า มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น การเมืองขาดสเถียรภาพ จี้ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลชุดใหม่ เร่งสร้างความมั่นใจ...

เมื่อวันที่ 16 พ.ค. นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ได้ปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 62 ลงเหลือขยายตัว 3.5% จากเดิมที่คาดขยายตัว 3.8% เพราะได้รับผลกระทบจาก 6 ปัจจัยเสี่ยงใหญ่ ทั้งสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน มีแนวโน้มรุนแรงและเข้มข้นขึ้น, เศรษฐกิจจีนชะลอลงกว่าที่คาดการณ์, ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ทำให้ค่าเงินบาทผันผวน, ความขัดแย้งทางการเมือง, ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินที่สูงและการเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และปัญหาการเมืองในตะวันออกกลาง

นอกจากนี้ ยังได้ปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ ในปี 62 อีก ได้แก่ มูลค่าการส่งออก ที่คาดขยายตัวเพียง 0.5% จากเดิมคาด 3.9% การนำเข้าลดลง 1.4% จากเดิมคาดโต 8.7% ดุลการค้าอยู่ที่ 2.4% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากเดิมคาด 1.8% ดุลบัญชีเดินสะพัด 7% ต่อจีดีพี จากเดิมคาด 6.6% เงินเฟ้อทั่วไป โต 0.8% เท่าเดิม

"ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 62 ไว้ 3 กรณี โดยกรณีร้ายแรงสุด คือ สงครามการค้า ยืดเยื้อและรุนแรง การเมืองขาดสเถียรภาพ จนทำให้นักธุรกิจและนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น การส่งออกไทยจะติดลบ 2.2% และฉุดจีดีพีเหลือขยายตัว 3.3% กรณีภาวะปกติ การเมืองมีเสถียรภาพและสงครามการค้าไม่เพิ่มความรุนแรงกว่าปัจจุบัน การส่งออกจะขยายตัว 0.5% และจีดีพีขยายตัว 3.5% ซึ่งกรณีนี้มีความเป็นไปได้มากที่สุด และกรณีดีที่สุด คือ สงครามการค้าผ่อนคลาย และการเมืองดีขึ้น จนนักลงทุนมีความมั่นใจ ทำให้ส่งออกไทยขยายตัว 2.4% และจีดีพีขยายตัว 3.7%"

ส่วนสถานการณ์การเมืองมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมาก ดังนั้นรัฐบาลใหม่ต้องมีเสถียรภาพ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีการชุมนุมนอกสภา เพราะจะส่งผลเสียต่อการท่องเที่ยวของประเทศ และรัฐบาลใหม่จะต้องนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ภายในต้นไตรมาส 4 รวมทั้งทีมเศรษฐกิจของสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ พร้อมกับเร่งขับเคลื่อนโครงการเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ เชื่อว่าจะช่วยลดผลกระทบจากสงครามการค้าได้.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ