กสอ.ดัน SMEs  ไทยพุ่งแรง ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เตรียมพร้อมรองรับ 4.0

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กสอ.ดัน SMEs ไทยพุ่งแรง ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เตรียมพร้อมรองรับ 4.0

Date Time: 15 พ.ค. 2562 01:26 น.

Video

บิทคอยน์ VS เงินในกระเป๋าเกี่ยวกันยังไง ? | Digital Frontiers

Summary

  • กสอ.ติดจรวด SMEs ไทยพุ่งแรง ลดต้นทุน เพิ่มศักยภาพ เห็นผลจริง พร้อมเดินหน้าครึ่งปี 62 ผลักดัน SMEs 600 กิจการ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่างเต็มสูบ เตรียมความพร้อมรองรับเข้าสู่การเป็นเอสเอ็มอี 4.0

Latest


กสอ.ติดจรวด SMEs ไทยพุ่งแรง ลดต้นทุน เพิ่มศักยภาพ เห็นผลจริง พร้อมเดินหน้าครึ่งปี 62 ผลักดัน SMEs 600 กิจการ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่างเต็มสูบ เตรียมความพร้อมรองรับเข้าสู่การเป็นเอสเอ็มอี 4.0 หวังสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจมากกว่า 2 พันล้านบาท

เมื่อวันที่ 14 พ.ค.62 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) มุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย สามารถปรับตัวให้เข้าถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ ได้อย่างรวดเร็วก้าวทันกับสถานการณ์ดิจิทัลของโลก รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นเอสเอ็มอี 4.0 (Smart SMEs) ผ่านเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมา กสอ.ได้ร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ Connected Industries จัดกิจกรรม "3-Stage Rocket Approach" หรือ "จรวด 3 ขั้น โดยนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น Internet of Things (IoT) Artificial Intelligence (AI) และ Big Data มาปรับใช้ เพื่อผลักดันเอสเอ็มอี สู่อุตสาหกรรม 4.0 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่

1. Visualize Machine คือ การรวบรวมข้อมูลจากเครื่องจักรให้เป็นดิจิทัล และนำมาใช้วิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต 2.Visualize Craftsmanship คือ การเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวของแรงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อวิเคราะห์การทำงานให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และ 3.Lean Automation System Integrator : หรือ LASI Project คือ การพัฒนา โครงการสาธิตการผลิตแบบลีนออโตเมชั่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ตลอดทั้งการปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมทั้งระบบ ด้วยการเชื่อมต่อบริษัทอุตสาหกรรมทั้งระบบ ทั้งข้อมูล บุคลากร และเครื่องจักรระหว่างบริษัทและเอสเอ็มอี เข้าด้วยกัน

"สำหรับในปี 2561 ที่ผ่านมา กสอ.นำร่องได้ติดตั้ง 3-Stage Rocket Approach ให้กับเอสเอ็มอีที่มีความพร้อมตามเกณฑ์การคัดเลือกจรวดขั้นที่ 1 และ 2 ไปแล้ว จำนวน 600 กิจการทั่วประเทศ โดยพบว่าในขั้นที่ 1 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้มากกว่าร้อยละ 30 คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 850 ล้านบาท และขั้นที่ 2 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้มากกว่าร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 150 ล้านบาท ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.2562 นี้ กสอ.ได้เตรียมแผนงานเพื่อเดินหน้าสานต่อกิจกรรม "3-Stage Rocket Approach" หรือ "จรวด 3 ขั้น โดยการรับสมัครเอสเอ็มอีภาคการผลิตทั่วประเทศ เพื่อผลักดันเอสเอ็มอีเข้าสู่จรวดขั้นที่ 1 และ 2 จำนวนไม่น้อยกว่า 500 กิจการ และจรวดขั้นที่ 3 อีกไม่น้อยกว่า 100 กิจการ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างแท้จริง ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นอีกกว่าร้อยละ 45 และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่าร้อยละ 30 และคาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 2,000 ล้านบาท" นายกอบชัย กล่าว

ด้าน นายชัยศักดิ์ วรวิริยะประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ช้างทอง อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตเครื่องมือทางการเกษตร โดยมีเครื่องหยอดเมล็ดข้าวเป็นสินค้าหลัก กล่าวว่า บริษัทฯได้เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ระบบอัจฉริยะเฝ้าติดตามและตรวจสอบดูแลการทำงานของเครื่องจักร (Machine Monitoring System) กับทาง กสอ.ทำให้บริษัทฯสามารถมองเห็นถึงปัญหาและประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต ทั้งจุดแข็ง-จุดอ่อน ได้มากขึ้น และได้นําระบบเทคโนโลยีการเชื่อมด้วยหุ่นยนต์ (Robot Welding) มาใช้ในกระบวนการผลิตนี้ เนื่องจากเป็นระบบที่มีการจับยึด และการเชื่อมอัตโนมัติที่รวดเร็วและแม่นยํา ทําให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนด สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนแรงงานได้ ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางธุรกิจในปีนี้ของบริษัทฯค่อนข้างสูงขึ้น

ด้าน นายชลิต โฆษิตวัฒนาพานิชย์ ผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัท โออิชิฟู้ด จำกัด ผู้ผลิตเบเกอรี่แบรนด์ โออิชิ และแบรนด์ Kit’z กล่าวว่า หลังจากบริษัทฯได้เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบอัจฉริยะ เฝ้าติดตามและตรวจสอบดูแลการปฏิบัติงานของพนักงาน (Visualize Craftsmanship) ได้เรียนรู้ถึงการแก้ไขปัญหาที่จุดต้นเหตุ คือ การควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด แต่คุณภาพสินค้าต้องดีที่สุดจริงๆแล้ว การเปิดใจกว้างๆเพื่อเรียนรู้ในสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐมานำเสนอ จะสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้จริงๆ


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ