ชง ครม.เห็นชอบ 28 พ.ค.นี้ "กลุ่มซีพี" คว้ารถไฟเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ชง ครม.เห็นชอบ 28 พ.ค.นี้ "กลุ่มซีพี" คว้ารถไฟเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

Date Time: 14 พ.ค. 2562 09:30 น.

Summary

  • “บอร์ดอีอีซี” ผ่านฉลุยให้ “กลุ่มซีพี” คว้าไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน รอเข้า ครม. 28 พ.ค.นี้ พร้อมมั่นใจคัดเลือกเอกชนลงทุนสนามบินอู่ตะเภาได้ใน มิ.ย.นี้ แม้มีคนร้องศาลปกครอง

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

“บอร์ดอีอีซี” ผ่านฉลุยให้ “กลุ่มซีพี” คว้าไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน รอเข้า ครม. 28 พ.ค.นี้ พร้อมมั่นใจคัดเลือกเอกชนลงทุนสนามบินอู่ตะเภาได้ใน มิ.ย.นี้ แม้มีคนร้องศาลปกครอง ไฟเขียวโครงการใหม่ศูนย์ทดสอบแพทย์จีโนมิกส์ 1,500 ล้านบาท

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้คัดเลือกและบรรลุข้อตกลงเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพีเอช) แล้ว

ทั้งนี้ คาดจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 28 พ.ค.นี้ พิจารณาร่างสัญญาการร่วมลงทุนกับรัฐในระบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) หลังจากนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะลงนามในสัญญากับกลุ่มซีพีเอชได้ โดยใช้เวลาทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงบัดนี้ 1 ปี และวงเงินต่ำกว่าที่เสนอ ครม.อนุมัติ 2,492 ล้านบาท หรือ ครม.อนุมัติกรอบวงเงินใส่ส่วนที่รัฐต้องลงทุน 152,457 ล้านบาท หรือตามมูลค่าปัจจุบัน (เอ็นพีวี) 119,425 ล้านบาท แต่กลุ่มซีพีเอช เสนอ 149,965 ล้านบาท หรือเอ็นพีวี 117,226 ล้านบาท จากมูลค่าทั้งโครงการตามมูลค่าปัจจุบัน 182,524 ล้านบาท โดยส่วนต่างที่เหลือคือส่วนที่เอกชนต้องลงทุน

ส่วนโครงการอื่นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้แก่ โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 ได้ภาคเอกชนที่ผ่านการคัดเลือกให้ร่วมลงทุนแล้ว แต่จะเสนอ ครม.พิจารณาวันที่ 14 พ.ค. นี้เพิ่มกรอบวงเงินจากที่เสนอ ครม. อีก 3,120 ล้านบาทในส่วนค่าถมทะเล โดยจะใช้เงินของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เนื่องจากเดิมคำนวณต้นทุนการกู้ยืมด้วยดอกเบี้ย 2.5% ต่อปี แต่เอกชนกู้ได้ที่ดอกเบี้ย 4.8% ทำให้เงินที่ กนอ.ต้องจ่ายคืนเอกชนเพิ่มขึ้นจากปีละ 616 ล้านบาท เป็น 720 ล้านบาท หรือเพิ่มปีละ 104 ล้านบาท รวม 30 ปี เป็นเงิน 3,120 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีอีก 2 โครงการที่เอกชนยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครอง คือ สนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินตะวันออก ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชน มั่นใจจะเสร็จตามกำหนดเดิมเดือน ก.ค.62 แต่ สกพอ.ขอให้เสร็จในเดือน มิ.ย.นี้ โดยเกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร ร้องให้อย่าเพิ่งตัดสิทธิ์กลุ่มของตนเอง ทำให้คณะกรรมการคัดเลือกยังทำงานได้ เพียงแต่ต้องรอศาลตัดสินก่อน จึงจะประกาศผลได้ ส่วนท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ได้เอกชนผู้ดำเนินโครงการแล้ว ส่วนกรณีที่เอกชนอีกรายไปร้องศาลนั้น สกพอ.ยังไม่ทราบคำฟ้อง

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า การลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะเกิดขึ้นภายหลังจากรายงานการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้รับการอนุมัติ รวมถึงความพร้อมการส่งมอบพื้นที่และการก่อสร้าง ส่วนการเวนคืนพื้นที่เพื่อก่อสร้าง อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด แต่จะมีไม่มาก เพราะแนวเส้นทางก่อสร้างอยู่ในเขตทางรถไฟอยู่แล้ว จะมีเพียงบางพื้นที่ เช่น สถานี ที่จะเวนคืน จึงกระทบประชาชนไม่มากนัก ส่วนนายสุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กพอ. เห็นชอบแนวทางดำเนินงานของโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ในอีอีซี มูลค่าลงทุน 1,500 ล้านบาท.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ