หนุนเกษตรใช้เอฟทีเอส่งออก เล็งจัดใหญ่ผลไม้รุกตลาดจีน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

หนุนเกษตรใช้เอฟทีเอส่งออก เล็งจัดใหญ่ผลไม้รุกตลาดจีน

Date Time: 13 มี.ค. 2562 08:35 น.

Summary

  • นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ในปี 61 ประเทศไทยมีรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตร ไม่รวมสินค้าประมงกว่า 26,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่า 7.7% จากปี 60

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ในปี 61 ประเทศไทยมีรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตร ไม่รวมสินค้าประมงกว่า 26,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่า 7.7% จากปี 60 และคิดเป็นสัดส่วน 10.6% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด โดยไทยยังเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรเป็นอันดับที่ 18 ของโลก สินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าว น้ำตาล ผลไม้ อาหารปรุงแต่ง ของปรุงแต่งจากผักผลไม้ เครื่องดื่ม อาหารสัตว์

“ยังมีโอกาสและลู่ทางการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยอีกมาก โดยเฉพาะประเทศที่มีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับไทย กรมจึงมุ่งให้เกษตรไทยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ 13 ฉบับ ที่ไทยทำกับ 18 ประเทศ เช่น อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง โดยในปีงบประมาณ 62 กรมได้ลงพื้นที่แล้ว 4 จังหวัด เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ถึงประโยชน์เอฟทีเอและการพัฒนาสินค้าเกษตรให้แข่งขันได้ คือ อุดรธานี สินค้าสมุนไพร ขิง ข่า กระชาย ไม้ดอกไม้ประดับ ปราจีนบุรี สินค้าสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ แม่ฮ่องสอน สินค้าชา กาแฟ สมุนไพร ธัญพืช และสุโขทัย สินค้ากาแฟ ส้ม ชาดอกกาแฟ ละมุด และใบตองตานี โดยเตรียมลงพื้นที่อีก 2 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ สินค้าทุเรียน เงาะ และสมุนไพร และ สงขลา สินค้ามังคุด เงาะ ลองกอง ผลไม้อบแห้ง ในเดือน พ.ค.นี้”

ด้าน น.ส.บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กล่าวว่า กรมมีแผนผลักดันการส่งออกผลไม้เข้าตลาดจีน และฮ่องกงเพิ่มขึ้น ผ่านช่องทางการค้าออนไลน์ รวมทั้งใช้ความร่วมมือกับ อาลีบาบา เหอหม่า เฟรช (HEMA Fresh) ซึ่งมีสาขาจำนวนมาก เป็นโอกาสที่จะจำหน่ายสินค้าในจีนได้มากขึ้น พร้อมกันนี้ จากกระแสการตอบรับที่ดีของชาวจีนที่มีต่อผลไม้ไทย กรมยังมีแผนเจาะตลาดจีนเป็นรายมณฑล จำนวน 10 มณฑล โดยคาดภายใน 3-6 เดือนข้างหน้าจะเห็นผลจากมาตรการนี้ ซึ่งทำให้การส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดจีนเพิ่มขึ้น

“เร็วๆนี้ผู้นำเข้าของจีนจะเดินทางมาไทย ซึ่งเตรียมแผนที่จะพาลงพื้นที่สวนผลไม้ เพื่อให้ผู้นำเข้าได้เจรจากับผู้ค้าของไทยโดยตรงต่อไป โดยตลาดผลไม้ที่น่าสนใจ เช่น กวางโจว ยูนนาน เซี่ยงไฮ้ ฉิงเต่า เจ้อเจียง หางโจว ฮ่องกง ขณะที่ผลไม้ไทยที่มีโอกาส เช่น ทุเรียน มังคุด ลำไย กล้วย ส้มโอ มะม่วง สับปะรด มะพร้าว ส้ม และ ลิ้นจี่”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ