ชาวนาเฮ! กรมการข้าว ชวนร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์-GAP หวังป้อนตลาดโลก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ชาวนาเฮ! กรมการข้าว ชวนร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์-GAP หวังป้อนตลาดโลก

Date Time: 24 ต.ค. 2561 15:29 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • กรมการข้าวชวนชาวนาผลิตข้าวอินทรีย์และรวมกลุ่มผลิตข้าวมาตรฐาน GAP ตั้งเป้า 5 ปี ผลิตข้าวเปลือกอินทรีย์ 6 แสนตัน และข้าวเปลือก GAP 10 ล้านตัน ส่งตลาดทั้งในและต่างประเทศ...

Latest


กรมการข้าวชวนชาวนาผลิตข้าวอินทรีย์และรวมกลุ่มผลิตข้าวมาตรฐาน GAP ตั้งเป้า 5 ปี ผลิตข้าวเปลือกอินทรีย์ 6 แสนตัน และข้าวเปลือก GAP 10 ล้านตัน ส่งตลาดทั้งในและต่างประเทศ...

วันที่ 24 ต.ค.61 นายกฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล รองอธิบดีกรมการข้าว รักษาการแทนอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2560-2564 นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ และโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ให้ชาวนารายย่อยรวมกลุ่มพื้นที่นาผลิตข้าวตามมาตรฐาน GAP ภายในระยะเวลา 5 ปี

โดยวางเป้าหมายว่า จะมีผลผลิตข้าวเปลือกอินทรีย์ ประมาณ 6 แสนตัน และข้าวเปลือก GAP ประมาณ 10 ล้านตัน ดังนั้น เพื่อให้ผลผลิตข้าวจากทั้ง 2 โครงการนี้ส่งต่อไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายทั้งในและต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ร่วมกันดำเนินโครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร โดยมี 3 ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

1. การรับสมัครผู้ประกอบการค้าข้าวที่เป็นโรงสีข้าว อุตสาหกรรมที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ สหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร และผู้ส่งออกข้าวเพื่อการจับคู่ธุรกิจกับชาวนาที่ผลิตข้าวอินทรีย์และ GAP และทำบันทึกข้อตกลงซื้อขายข้าวทั้ง 2 ฝ่าย

2. การซื้อขายข้าวระหว่างผู้ประกอบการค้าข้าวและกลุ่มชาวนาหลังเก็บเกี่ยว ในราคาที่สอดคล้องกับคุณภาพ มีราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป

3. การขอรับเงินชดเชยดอกเบี้ยของผู้ประกอบการค้าข้าววงเงิน

นอกจากผู้ประกอบการค้าข้าวจะได้รับเงินชดเชยดอกเบี้ยที่ไปรับซื้อข้าวเปลือกจากกลุ่มชาวนาแล้ว ยังสามารถขอรับการจัดสรรโควตาส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรป (EU) ได้อีกด้วย

ทั้งนี้เกษตรกรสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ โดยการรวมกลุ่มกันในพื้นที่ สมัครเข้าร่วมได้ตลอดทั้งปี รวมไปถึงสมัครเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ด้วย สำหรับผู้ประกอบการค้าข้าวรายใหม่ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ พร้อมกับระบุรายชื่อกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการจับคู่ธุรกิจ โดยผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. เป็นผู้ประกอบการค้าข้าวที่เป็นโรงสีข้าว อุตสาหกรรมที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ สหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร หรือผู้ส่งออก ที่ได้รับอนุญาตในการประกอบการค้าข้าวอย่างถูกต้อง

2. หากเป็นธุรกิจโรงสีข้าว ต้องได้การรับรองมาตรฐานการผลิต GAP, HACCP หรือ ISO 22000 หรืออื่นๆ ที่เทียบเท่า และมีอายุคงเหลือไม่ต่ำกว่า 6 เดือน นับจากวันสุดท้ายของการรับสมัคร

3. กรณีมีความประสงค์ขอรับเงินชดเชยดอกเบี้ย ต้องเป็นลูกค้าของธนาคารที่มีวงเงินสินเชื่ออยู่กับธนาคารแล้ว และมีหนังสือรับรองวงเงินสินเชื่อจากธนาคาร

สำหรับผู้ประกอบการค้าข้าวที่เคยทำบันทึกข้อตกลงซื้อข้าวอินทรีย์ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ไม่ต้องสมัครใหม่ แต่ให้แจ้งยืนยันการเข้าร่วมโครงการพร้อมกับรายชื่อกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการจับคู่ธุรกิจด้วย ในการจับคู่ธุรกิจนั้น สำนักงานพาณิชย์จังหวัดจะเป็นหน่วยงานหลักในการเชิญผู้ประกอบการค้าข้าวและกลุ่มชาวนาร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายข้าว หรือ MOU และเสนอให้คณะอนุกรรมการการติดตามกำกับดูแลการบริหารจัดการข้าวระดับจังหวัดให้ความเห็นชอบก่อน แล้วจังหวัดจึงจะส่งใบสมัครและเอกสาร MOU ให้กรมการข้าว เพื่อนำเสนอให้คณะทำงานโครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และ GAP ครบวงจร พิจารณาอนุมัติต่อไป

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถรับใบสมัครที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือดาวโหลดผ่านเว็บไซต์กรมการข้าว www.ricethailand.go.th และยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐานได้ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ