การบินไทยขีดเส้นตาย ธ.ค.นี้ ศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

การบินไทยขีดเส้นตาย ธ.ค.นี้ ศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา

Date Time: 9 ส.ค. 2561 09:58 น.

Summary

  • กองทัพเรือและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีกำหนดการลงนามบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นว่าด้วยการให้สิทธิแก่บริษัท การบินไทย ...

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

มั่นใจโกยกำไรเพียบ 11 ปีคืนทุน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา ณ หอประชุมกองทัพเรือโดยบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กองทัพเรือและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีกำหนดการลงนามบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นว่าด้วยการให้สิทธิแก่บริษัท การบินไทย ประกอบกิจการบนพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา แต่ต้องยกเลิกพิธีการลงนามและเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากนางอุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย ป่วยกะทันหันและไม่สามารถให้ผู้อื่นลงนามแทนได้เพราะติดปัญหาด้านกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม นายสุรชัย เพียรเจริญศักดิ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายช่าง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมาร่วมงานดังกล่าว เปิดเผยความคืบหน้าโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (Maintenance Repair and Overhaul : MRO) ว่า ภายในเดือน พ.ย. บริษัท การบินไทยเตรียมเดินหน้าขั้นตอนจัดหาเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาเอ็มอาร์โอ และคาดว่าจะลงนามสัญญาได้ภายใน ธ.ค.นี้ โดยตั้งเป้าเปิดให้บริการปี 2565 โดยเอกชนที่ชนะสิทธิ์ดังกล่าวจะต้องร่วมลงทุนกับการบินไทย ในสัดส่วน 50 : 50 ภายใต้งบประมาณ 4,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ในการจัดซ่อมอากาศยาน ส่วนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งประกอบไปด้วยโรงซ่อมอากาศยาน ลานจอด และโครงสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ โดยภาครัฐจะเป็นผู้สนับสนุนภายใต้วงเงินราว 6,300 ล้านบาท

ส่วนการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนกับรัฐในรูปแบบพีพีพี อีอีซี แทร็ค แต่จะไม่มีการเปิดประมูลเหมือนโครงการอื่น โดยจะปรับใช้รูปแบบคัดเลือกผู้ร่วมทุนเพียง 1 รายให้เข้าร่วมทุน ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำหน้าที่คัดเลือกแล้ว โดยอยู่ระหว่างหารือกับเอกชนราว 2 ราย ซึ่งเป็นบริษัทอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินขนาดใหญ่

“โรงซ่อมบำรุงอากาศยานจะเป็นโรงซ่อมขนาดใหญ่บนพื้นที่ 210 ไร่รองรับเครื่องบินได้ 80-100 ลำต่อปี ส่วนรูปแบบการซ่อมจะสามารถรองรับเครื่องบินทุกประเภท ทั้งโบอิ้ง และแอร์บัส อาทิ แอร์บัส 350 แอร์บัส 380 และโบอิ้ง 787 โดยช่วงแรกที่เปิดให้บริการรายได้อาจจะยังไม่มากเริ่มต้นจากปีละ 400-500 ล้านบาท แต่คาดว่ารายได้จะโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2% ตลอดอายุโครงการ โดยเมื่อครบ 50 ปี คาดว่าจะมีรายได้รวมประมาณ 200,000 ล้านบาท และคาดว่าโครงการจะคุ้มทุนภายใน 11 ปี หลังจากเปิดให้บริการ”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ