ลุ้น กสทช.สางปัญหาเยียวยา

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ลุ้น กสทช.สางปัญหาเยียวยา

Date Time: 22 มิ.ย. 2561 08:50 น.

Summary

  • ในเดือน ก.ค.นี้ สำนักงาน กสทช.จะเสนอให้บอร์ด กสทช.พิจารณาเรื่องค่าใช้จ่ายในการใช้จ่ายคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในช่วงระหว่างรอการประมูลตั้งแต่ 15 ก.ย.56 ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค.นี้ สำนักงาน กสทช.จะเสนอให้บอร์ด กสทช.พิจารณาเรื่องค่าใช้จ่ายในการใช้จ่ายคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในช่วงระหว่างรอการประมูลตั้งแต่ 15 ก.ย.56 ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือดีพีซี และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทานเมื่อ 30 ก.ย.58 ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส จนถึงการประมูลเสร็จสิ้นและออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคให้กับผู้ชนะการประมูลรายใหม่ในช่วงปีปลายปี 59 เพื่อนำรายได้ดังกล่าว ส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน และแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งให้คู่สัญญาสัมปทานคือบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเช่าใช้โครงข่ายในระยะเวลารอการประมูลเสร็จสิ้น

“ยอมรับว่าการคำนวณค่าใช้คลื่นความถี่หลังสัญญาสัมปทาน สิ้นสุดของทรูมูฟ และของเอไอเอส เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และถึงแม้จะมีการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเรื่องประกาศมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด ไม่เป็นธรรม แต่ศาลปกครองก็ยังไม่ได้ตัดสิน ในขณะนี้ที่ กสทช.ก็ควรจะสรุปอัตราค่าใช้คลื่นความถี่ 1800 ดังกล่าวให้ชัดเจน หากเอกชนไม่พอใจจะฟ้องร้องก็สามารถดำเนินการได้ ไม่ควรปล่อยให้ยืดเยื้อไปอีก”

นายฐากรกล่าวว่า ที่ผ่านมาการคำนวณค่าใช้จ่ายการใช้คลื่นความถี่ในช่วงนั้น ทางทรูมูฟ เสนอค่าใช้จ่ายราว 200-300 ล้านบาท ขณะที่สำนักงาน กสทช.ได้คำนวณแล้วเช่นกัน อยู่ที่ราว 2,800-3,000 ล้านบาท ส่วนของเอไอเอสนั้น อยู่ระหว่างสรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมด เนื่องจากเอไอเอส ใช้สำหรับการบริการข้ามโครงข่าย (โรมมิ่ง) เป็นหลัก ส่วนการเยียวยาผู้ใช้บริการของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคนั้น จะใช้สิทธิ์เยียวยาได้หรือไม่นั้น ต้องรอคณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายพิจารณาก่อน และคาดว่าจะนำเสนอคณะอนุกรรมการกิจการโทรคมนาคม พิจารณาได้ในเดือน ก.ค.เช่นกัน และหลังจากนั้นจึงจะนำเสนอบอร์ด กสทช.เพื่อพิจารณาต่อไป.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ