เปิดรายได้ปี 2560 ของทีวีดิจิทัลทั้ง 22 ช่อง หลังนำส่งเอกสารทางการเงินให้ กสทช. ตรวจสอบ โดยจะพบว่า ช่องไหนมีรายได้สูงสุด ส่วนช่องไหนรายได้น้อยสุด...
เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัล 22 ช่อง จัดส่งค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี ประจำปี 2560 ให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งปี 2560 ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล 22 ช่อง ได้ส่งเอกสารทางการเงินให้ กสทช.ตรวจสอบแล้ว คือ มีรายได้รวม 17,313.70 ล้านบาท ชำระค่าธรรมเนียมรวม 81.14 ล้านบาท
หากแบ่งรายได้กลุ่มช่องทีวีดิจิทัล มีดังนี้
กลุ่มช่องเด็กและครอบครัว
ช่อง 13 หรือช่อง 3 แฟมิลี่ บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด มีรายได้ 99.65 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 124,656 บาท
ช่อง 14 หรือ Mcot kids & family บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) รายได้ 50.11 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 62,639 บาท
กลุ่มช่องข่าว ช่อง 16 หรือทีเอ็นเอ็น 24 บริษัท ไทยนิวส์ เน็ตเวิร์ค จำกัด รายได้ 379 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 822,521 บาท
ช่อง 18 นิว ทีวี บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด รายได้ 115.42 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 163,565 บาท
ช่อง 18 สปริงนิวส์ ของบริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด รายได้ 189.61 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 349,044 บาท
ช่อง 20 ไบร์ท ทีวี ของบริษัท ไบร์ททีวี จำกัด รายได้ 216.39 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 415,982 บาท
ช่อง 21 วอยซ์ ทีวี ของบริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด รายได้ 62.05 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 77,565 บาท
ช่อง 22 เนชั่นทีวี ของบริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น จำกัด รายได้ 346.80 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 742,010 บาท
กลุ่มช่องความคมชัดมาตรฐานปกติ (เอสดี)
ช่อง 23 เวิร์คพอยท์ ทีวี บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด มีรายได้ 3,172.46 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 19.91 ล้านบาท
ช่อง 24 ทรูโฟร์ยู บริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชั่น จำกัด มีรายได้ 779.75 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 2.5 ล้านบาท
ช่อง 25 หรือจีเอ็มเอ็ม 25 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด มีรายได้ 770.11 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 2.4 ล้านบาท
ช่อง 26 หรือ นาว บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด มีรายได้ 163.14 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 282,866 บาท
ช่อง 27 หรือช่อง 8 บริษัท อาร์เอส เทเลวิชั่น จำกัด มีรายได้ 1,347 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 6.2 ล้านบาท
ช่อง 28 หรือช่อง 3 เอสดี บริษัท มัลติมีเดียฯ มีรายได้ 496.33 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 1.11 ล้านบาท
ช่อง 29 โมโน บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด มีรายได้ 1,565.97 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 7.86 ล้านบาท
กลุ่มช่องความคมชัดมาตรฐานสูงมาก (เอชดี)
ช่อง 30 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) มีรายได้ 177.63 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 319,099 บาท
ช่อง 31 หรือช่องวัน บริษัท จีเอ็มเอ็ม วันทีวี จำกัด มีรายได้ 510 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 1.17 ล้านบาท
ช่อง 32 ไทยรัฐทีวี บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด มีรายได้ 665.81 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 1.9 ล้านบาท
ช่อง 33 หรือ 3 เอชดี บริษัท มัลติมีเดียฯ มีรายได้ 1,800 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 9.62 ล้านบาท
ช่อง 34 อมรินทร์ บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด มีรายได้ 518.86 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 1.21 ล้านบาท
ช่อง 35 หรือช่อง 7 เอชดี บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด มีรายได้ 3,591 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 23.05 ล้านบาท
ช่อง 36 หรือพีพีทีวี มีรายได้ 295.66 ล้านบาท จ่ายค่าธรรมเนียม 614,153 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากการเปรียบเทียบพบว่า ช่องทีวีดิจิทัลที่มีรายได้สูงสุด 5 อันดับ ได้แก่
1. ช่อง 7 เอชดี รายได้ 3,591 ล้านบาท
2. เวิร์คพอยท์ รายได้ 3,172 ล้านบาท
3. ช่อง 3 มี 3 ช่อง มีรายได้รวม 2,395.98 ล้านบาท
4. ช่อง 29 โมโน มีรายได้ 1,565 ล้านบาท
5. อาร์เอส 1,347 ล้านบาท.