น้ำมันแพง เงินเฟ้อเดือน พ.ค.61 พุ่ง 1.49% สูงสุดในรอบ 16 เดือน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

น้ำมันแพง เงินเฟ้อเดือน พ.ค.61 พุ่ง 1.49% สูงสุดในรอบ 16 เดือน

Date Time: 1 มิ.ย. 2561 16:06 น.

Video

ไทยฝันเป็น “ฮับการเงิน” แต่จะไปให้ถึงยังไงดี ? | Digital Frontiers

Summary

  • พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อเดือน พ.ค.61 พุ่ง 1.49% สูงสุดในรอบ 16 เดือน เหตุน้ำมันแพงสูงสุดรอบ 13 เดือน แต่ทั้งปียังคาดโต 0.7-1.7%...

Latest


พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อเดือน พ.ค.61 พุ่ง 1.49% สูงสุดในรอบ 16 เดือน เหตุน้ำมันแพงสูงสุดรอบ 13 เดือน แต่ทั้งปียังคาดโต 0.7-1.7%...

เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2561 น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) เดือนพ.ค.61 ว่า เท่ากับ 102.14 สูงขึ้น 1.49% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. 60 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดรอบ 16 เดือน นับตั้งแต่เดือนม.ค.60 ที่สูงขึ้น 1.55% และเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ส่วนเมื่อเทียบเดือนเม.ย.61 สูงขึ้น 0.56% ขณะที่เฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) ปี 61 สูงขึ้น 0.89% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น 1.49% เป็นผลจากดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น 1.93% สินค้าสำคัญราคาแพงขึ้น เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่ม 9.86% ซึ่งปรับตัวสูงสุดรอบ 13 เดือน ค่าโดยสารสาธารณะเพิ่ม 0.67% หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพิ่ม 5.94% ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าหอพัก เพิ่ม 1.12% ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่ม 0.74% สินค้าสำคัญราคาแพงขึ้น เช่น ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่ม 2.02% ผักสด เพิ่ม 5.47% อาหารบริโภคในบ้าน เพิ่ม 1.37% อาหารบริโภคนอกบ้าน เพิ่ม 1.31% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่ม 1.40%

อย่างไรก็ตาม เมื่อแยกรายการสินค้า 422 รายการที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อ พบว่า มีสินค้าราคาสูงขึ้น 231 รายการ เช่น ข้าวสารบรรจุถุง เพิ่ม 2% ถั่วฝักยาว เพิ่ม 30.70% มะนาว เพิ่ม 17.89% นมสด เพิ่ม 0.50% กับข้าวสำเร็จรูป เพิ่ม 1.72% ข้าวราดแกง เพิ่ม 1.08% เครื่องแบบนักเรียนชาย เพิ่ม 5.29% เครื่องแบบนักเรียนหญิง เพิ่ม 6.21% ก๊าซหุงต้ม เพิ่ม 12.52% ค่ากระแสไฟฟ้า เพิ่ม 2.62% น้ำมันดีเซล เพิ่ม 14.65% เป็นต้น

"เงินเฟ้อในเดือนเม.ย. ทีแรกเห็นก็ตกใจ เพราะเพิ่มขึ้นจาก 1.07% ในเดือนเม.ย.61 มาเป็น 1.49% แต่พอพบว่า เป็นการเพิ่มขึ้นจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ก็ไม่ตกใจแล้ว เพราะรัฐบาลมีมาตรการดูแลราคาพลังงาน คาดว่า ในเดือนต่อไป เงินเฟ้อน่าจะลดลงจากเดือนนี้ เพราะราคาพลังงานเริ่มลดลงแล้ว ส่วนทั้งปี ยังคงคาดการณ์ตามเดิมที่คาดขยายตัว 0.7-1.7%” น.ส.พิมพ์ชนก กล่าว

สำหรับเงินเฟ้อของไทย ที่เพิ่มขึ้นนั้น ยังน้อยกว่าหลายประเทศ โดยในช่วง 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) ปีนี้ เงินเฟ้อไทยเพิ่มขึ้น 1.07% แต่อินเดีย เพิ่มขึ้น 4.2% ฟิลิปปินส์ เพิ่ม 4.0% ขณะที่สิงคโปร์ อยู่ที่ 0.2% เกาหลีใต้ 1.3% ไต้หวัน 1.6% เป็นต้น ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (หักอาหารสดและน้ำมันดิบ) เดือนพ.ค.61 เท่ากับ 101.95 สูงขึ้น 0.80% เทียบกับเดือนพ.ค.60 และสูงขึ้น 0.17% เทียบกับเดือนเม.ย.61 ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐานช่วง 5 เดือน เพิ่มขึ้น 0.66% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ