ชี้โรงงานรีไซเคิลฯ ฉะเชิงเทรา เข้าข่ายลักลอบประกอบกิจการ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ชี้โรงงานรีไซเคิลฯ ฉะเชิงเทรา เข้าข่ายลักลอบประกอบกิจการ

Date Time: 25 พ.ค. 2561 17:55 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • กรมโรงงานอุตสาหกรรม ชี้ โรงงานรีไซเคิลฯ ที่ฉะเชิงเทรา เข้าข่ายลักลอบประกอบกิจการ เหตุดำเนินกิจการก่อนวันที่แจ้ง และลักลอบขนขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ...

Latest


กรมโรงงานอุตสาหกรรม ชี้ โรงงานรีไซเคิลฯ ที่ฉะเชิงเทรา เข้าข่ายลักลอบประกอบกิจการ เหตุดำเนินกิจการก่อนวันที่แจ้ง และลักลอบขนขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ...

นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า จากประเด็นร้องเรียนของชาวบ้านในพื้นที่ ต.แปลงยาว อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ที่ได้รับผลกระทบจากโรงงานประกอบกิจการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท ดับบลิว เอ็มดี ไทย รีไซคลิ้ง จำกัด ที่มีการหลอมตะกั่วส่งกลิ่นเหม็นรบกวนตลอดเวลา หลังจากตรวจสอบพบว่า บริษัทดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการถอดแยกชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และบดย่อยชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จริง แต่บริษัทฯ ถูกสั่งให้ระงับการประกอบกิจกรรมเพื่อปรับปรุงแก้ไขโรงงาน พร้อมตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงอาคาร ระบบไฟฟ้า ระบบขจัดมลพิษทางอากาศ ตลอดจนยังมีความผิดด้านเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน เนื่องจากมีการประกอบกิจการโรงงานก่อนวันเริ่มประกอบกิจการโรงงานที่แจ้งไว้  

ส่วนกรณีวัตถุดิบที่ตรวจพบภายในบริเวณโรงงานเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์จำพวกชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เข้าข่ายเป็นของเสียเคมีวัตถุ ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 และเข้าข่ายเป็นของเสียอันตรายตามอนุสัญญาบาเซล ซึ่งหากมีการนำเข้าจากต่างประเทศ จะต้องได้รับคำยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างหน่วยงานภาครัฐจากประเทศต้นทางกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ก่อนมีการเคลื่อนย้ายข้ามแดน และบริษัทฯ ต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้าวัตถุอันตรายก่อนเท่านั้น จึงจะนำเข้ามาในประเทศไทยได้ แต่จากการตรวจสอบ บริษัทฯ ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของอนุสัญญาบาเซล จึงมีความผิดตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ต้องระวางโทษตามมาตรา 73 จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นายมงคล กล่าวด้วยว่า กรอ. ได้สั่งการให้หน่วยงานภายใต้การกำกับลงพื้นที่ตรวจกำกับดูแลสถานประกอบการของกระทรวงอุตสาหกรรม และกรมโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 31,000 โรงงาน ภายในปี 2561 โดยจะเน้นการตรวจสอบที่เน้นเรื่องมลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ และการจัดการกากอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติตามเงื่อนไขใบประกอบอนุญาตกิจการอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังจะเน้นการตรวจสอบกลุ่มโรงงานในพื้นที่อีอีซี ในเรื่องของการจัดการกากอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยง โดยจะวางแผนร่วมตรวจสอบกับฝ่ายปกครองของจังหวัด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. ซึ่งจะดำเนินการตามแผนดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2561.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ