แบงก์ชาติ ปลื้มเศรษฐกิจไตรมาส 1 ฟื้นตัวดีขึ้น ยังห่วงหนี้คนจนพุ่ง!

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แบงก์ชาติ ปลื้มเศรษฐกิจไตรมาส 1 ฟื้นตัวดีขึ้น ยังห่วงหนี้คนจนพุ่ง!

Date Time: 27 เม.ย. 2561 15:00 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • แบงก์ชาติ ยิ้มแก้มปริ เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ฟื้นตัวดีขึ้นทั้งส่งออก-ท่องเที่ยว ยังห่วงหนี้ครัวเรือนเกษตรกร รวมถึงผู้มีรายได้น้อย ยังอยู่ในระดับสูง กระทบการฟื้นตัวเศรษฐกิจหลายพื้นที่...

Latest


แบงก์ชาติ ยิ้มแก้มปริ เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ฟื้นตัวดีขึ้นทั้งส่งออก-ท่องเที่ยว ยังห่วงหนี้ครัวเรือนเกษตรกร รวมถึงผู้มีรายได้น้อย ยังอยู่ในระดับสูง กระทบการฟื้นตัวเศรษฐกิจหลายพื้นที่...

เมื่อวันที่ 27 เม.ย. นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/61 เห็นการฟื้นตัวที่ดีขึ้นทั้งการส่งออกและการท่องเที่ยว กระจายตัวหลายอุตสาหกรรม ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ขนาดกลางและขนาดเล็ก จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และยังต้องติดตามตัวเลขการนำเข้า ซึ่งขณะนี้ขยายตัวดีขึ้น มีการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตขั้นกลางมากขึ้น รวมทั้งการนำเข้าสินค้าทุน เครื่องจักร ซึ่งสะท้อนว่าการส่งออกและการผลิตขยายตัวดี

อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจบางกลุ่มยังคงเปราะบาง เช่น เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งยังต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจชุมชน โดยมีการจัดสรรงบกลางปีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนและฐานรากในหลายโครงการ รวมทั้งมีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณสู่ท้องถิ่น

ส่วนภาวะหนี้ครัวเรือน แม้สัดส่วนหนี้ต่อผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะลดลง แต่หนี้ครัวเรือนเกษตรกร และผู้มีรายได้น้อยยังอยู่ในระดับสูง ต้องเผชิญปัจจัยลบหลายด้าน เช่น ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ภัยแล้ง ซึ่งแม้ว่าหนี้ครัวเรือนกลุ่มนี้จะไม่ใช่ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจมหภาค แต่มีผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในหลายพื้นที่

ขณะที่การปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักโดยเฉพาะสหรัฐฯ ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นนั้น ไม่กระทบต่อตลาดการเงินไทย เพราะปัจจุบันสภาพคล่องในประเทศและธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในระดับสูง จึงไม่ใช่สิ่งที่กังวลมากนัก ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้เตือนนักลงทุนหรือประชาชนที่กู้เงินต่างประเทศ ต้องระวังต้นทุนทางการเงินที่ปรับเพิ่มขึ้นจากภาวะดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอีกด้วย.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ