ฟื้นฟูท้องทะเลเพิ่ม “บลู คาร์บอน” หวังแก้โลกร้อนหลังพื้นที่ป่าลดลง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ฟื้นฟูท้องทะเลเพิ่ม “บลู คาร์บอน” หวังแก้โลกร้อนหลังพื้นที่ป่าลดลง

Date Time: 15 มี.ค. 2561 08:45 น.

Summary

  • บลู คาร์บอน หรือคาร์บอนสีน้ำเงิน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน โดยอาศัยศักยภาพของท้องทะเลในการเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ...

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์ ร่วมกับนางทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ในฐานะผู้ก่อตั้ง “Blue Carbon Society” (บลู คาร์บอน โซไซตี้) กล่าวว่า บลู คาร์บอน หรือคาร์บอนสีน้ำเงิน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน โดยอาศัยศักยภาพของท้องทะเลในการเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ผ่านองค์ประกอบหลักของระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่ง อาทิ ป่าชายเลนหญ้าทะเล ที่ลุ่มน้ำเค็ม เป็นต้น ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเครื่องฟอกอากาศของโลก

“Blue Carbon Society เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และเป็นที่สำหรับทุกคนเข้ามาร่วมสร้างความตระหนักและเรียนรู้ร่วมกันถึงความสำคัญของท้องทะเลและชายฝั่ง ในบทบาทการเป็นผู้พิทักษ์โลก”

นอกจากนี้ ภายในงานยังฉายภาพยนตร์สารคดีแนวอนุรักษ์ระดับโลกจากบีบีซี ซึ่งร่วมมือกับมงคลเมเจอร์ ในการจัดฉายในประเทศไทย ที่มีชื่อว่า “Earth : One Amazing Day” (เอิร์ธ 1 วันมหัศจรรย์สัตว์โลก) ที่ถ่ายทอดชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ 38 ชนิดจากทั่วโลกจำนวน 22 ประเทศ ซึ่งจะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์วันที่ 15 มี.ค.นี้

นายมาร์ติน ฮาร์ทแฮนเซ่น รองผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNDP) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็น 1 ใน 20 ประเทศ ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ แต่กลับมีพื้นที่สีเขียวลดลง โดยผลสำรวจพื้นที่ป่าในประเทศไทยพบว่าในปี 2504 ไทยมีพื้นที่ป่า 53% แต่ในปี 2556 พื้นที่ป่าลดลงเหลือเพียง 31% นอกจากนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ประเทศไทยทิ้งขยะลงแม่น้ำมากที่สุด ส่งผลให้ขยะไหลลงสู่ทะเลเป็นอาหารสำหรับสัตว์น้ำ ดังนั้น ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรต่างๆ จึงต้องร่วมกันฟื้นฟูระบบนิเวศของไทยให้กลับมาสมบูรณ์และยั่งยืน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ