“กฤษฎา” เผย อินโดนีเซียสนใจมาตรการลดกรีดยาง 3 เดือน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

“กฤษฎา” เผย อินโดนีเซียสนใจมาตรการลดกรีดยาง 3 เดือน

Date Time: 3 มี.ค. 2561 18:40 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • รมว.เกษตรฯ เผย ทางอินโดนีเซียสนใจมาตรการลดกรีด 3 เดือน ตั้งเป้าลดปริมาณยางในตลาด 1 ล้านตัน/ปี คาดดันราคายางพุ่ง หวังสร้างเสถียรภาพด้านราคายาง...

Latest


รมว.เกษตร เผย ทางอินโดนีเซียสนใจมาตรการลดกรีด 3 เดือน ตั้งเป้าลดปริมาณยางในตลาด 1 ล้านตัน/ปี คาดดันราคายางพุ่ง หวังสร้างเสถียรภาพด้านราคายาง...

เมื่อวันที่ 3 มี.ค.61 

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้เชิญผู้แทนจากประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม (AETS) ร่วมประชุมหารือความร่วมมือด้านยางพารา เพื่อจะสร้างเสถียรภาพด้านราคา ซึ่งประเทศอินโดนีเซียให้ความสนใจมาตรการลดกรีดยางที่ไทยอยู่ระหว่างพิจารณาถึงแนวทางความเป็นไปได้โดยมี 2 แนวทาง คือ ลดกรีดยาง 3 ล้านไร่ ระยะเวลา 3 เดือน จะสามารถลดซัพพลายได้ 2.5 แสนตัน โดยมีมาตรการชดเชยให้เกษตรกรรายละ 4,500 บาท/ไร่ หรือมาตรการระยะยาวทั้งปี คือ จะลดกรีดยางกรีด 15 วัน หยุด 15 วัน ตลอดทั้งปี

ทั้งนี้ ไทยอยู่ระหว่างการคำนวณตัวเลขผลผลิตยางที่จะออกสู่ตลาดที่ชัดเจน รวมถึงงบประมาณรองรับในระหว่างที่เกษตรกรไม่สามารถกรีดยางได้ ทั้งนี้ มาตรการหยุดกรีดยางนั้นไทยจะไม่ทำเพียงประเทศเดียวแต่ในเบื้องต้นจากการหารือนั้นอินโดนีเซียสนใจมากที่สุดกับมาตรการขอความร่วมมือนี้ 


"ราคาวันนี้ 48.52 บาท/กก. ลดลงบ้างหรือปรับขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากค่าเงินเพื่อนบ้านและตลาดโลก ดังนั้นความกังวลจากหลายฝ่ายต่อมาตรการนี้ต่อให้ไทยผลิตเท่าเดิมหรือมากขึ้นจึงไม่เป็นผล มั่นใจว่าหากมีมาตรการนี้จะช่วยลดซัพพลายได้มากถึง 2.5 แสนตัน หรือ 1 ล้านตัน/ปี และตั้งเป้าว่าหากดำเนินการได้ 3 เดือนที่ตั้งเป้านี้ราคาต้องเพิ่มกว่าเดิม" 


ทั้งนี้ รัฐบาลไทยโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ชี้แจงนโยบายผลักดันราคายางทั้งระบบ อาทิ 1.ไทยมีนโยบายสนับสนุนนักธุรกิจรายย่อย (sme) โดยมีแนวคิดนวัตกรรมจากยางพารา คิดค้นผลิตภัณฑ์แปรรูปยางให้มากขึ้นและสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยพิเศษ 2.ไทยสนับสนุนให้ใช้ยางพาราในประเทศ อาทิ หน่วยงานรัฐ 1.8 แสนตัน ซึ่งขณะนี้มี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมี 2 จังหวัดนำร่องไปแล้ว คือ จ.สงขลา และ จ.บึงกาฬ และ 3.ไม่สนับสนุนให้ขยายพื้นที่ปลูกยางพาราใหม่ ส่วนยางพาราเก่าจะตรวจสอบและสนับสนุนปลูกพืชอื่น

ขณะที่ มาตรการขอความร่วมมือในส่วนของไทยนั้น ได้ให้มีการแต่งตั้งกรรมการดูราคาต้นทุน ส่งออก เพื่อให้ผู้ค้าได้รับความเป็นธรรม จึงต้องมีคณะกรรมการกำหนดราคาขึ้นมา อาทิ ส่วนราชการ ผู้ประกอบการ และเกษตรกร หาก 3 ประเทศร่วมกำหนดราคายางขึ้นมาร่วมกันจะสามารถสร้างจุดแข็ง ขณะที่มาตรการระยะยาวเห็นควรให้ทั้ง 3 ประเทศมีมาตรการลดซับพลาย ซึ่งไทยอยู่ระหว่างหารือมาตรการนี้อยู่ เช่น มาตรการลดกรีดยาง 3 เดือน 3 ล้านไร่ พร้อมกัน หรือ ลดกรีดวันเว้นวัน กรีด 15 วัน หยุด 15 วัน ซึ่งในมาตรการนี้อินโดนีเซียให้ความสนใจมาก ที่สุด ดังกล่าวข้างต้น 


สำหรับ การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานมาตรการควบคุมปริมาณการส่งออกยางพารา (Agreed Export Tonnage Scheme : AETS) ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 ภายใต้ข้อตกลงสภาไตรภาคียางพาราระหว่างประเทศ (International Tripartite Rubber Council : ITRC) ประกอบด้วย ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย โดยกำหนดการลดโควตาการส่งออกยางพาราร่วมกันของ 3 ประเทศสมาชิก ITRC จำนวน 350,000 ตัน
ทั้งนี้มาตรการ AETS เป็นมาตรการที่แก้ไขปัญหาราคายางในระยะสั้น ภายในระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2561 โดยนับจากนี้ยังเหลือเวลาในการดำเนินมาตรการนี้อีกประมาณ 1 เดือน ในการควบคุมปริมาณยางในตลาดให้ลดลง

ทั้งสามประเทศยืนยันที่จะดำเนินการอย่างเข้มงวดและจริงจังมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเกิดความต้องการใช้ยางในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยของแต่ละประเทศซึ่งจะมีรายได้ที่สูงขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ การดำเนินการมาตรการนี้ ประเทศเวียดนาม ในฐานะประเทศผู้ผลิตยาง ยังช่วยสนับสนุนมาตรการครั้งนี้สัมฤทธิ์ผลควบคู่ด้วยดังกล่าวร่วมด้วย 
การประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ในวงการยางพารา ที่ทั้ง 4 ประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก ได้ร่วมประชุมหารือและกำหนดแนวทาง เพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์ราคายางผันผวน โดยมุ่งให้เกิดการยกระดับราคายางในตลาด เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาคเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย ซึ่งจะมีรายได้ที่สูงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือร่วมกันระหว่างสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ รวมถึงประเทศเวียดนาม ให้มีความเข้มแข็งและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อความร่วมมือของประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่มีมากยิ่งขึ้น จะสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคอุตสาหกรรม การตลาด และเกษตรกรได้ เพิ่มอำนาจการต่อรองกับตลาดต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้นต่อไป.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ