กลุ่มฐานรากจ่ายปีใหม่คนละ 3 พันกว่า แห่ใช้สิทธิ์บัตรคนจน กลับภูมิลำเนา

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กลุ่มฐานรากจ่ายปีใหม่คนละ 3 พันกว่า แห่ใช้สิทธิ์บัตรคนจน กลับภูมิลำเนา

Date Time: 29 ธ.ค. 2560 04:05 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • คาดกลุ่มฐานราก รายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท ใช้จ่ายช่วงเทศกาลปีใหม่ เฉลี่ยคนละ 3.7 พันบาท เงินส่วนใหญ่มาจากรายได้ มีส่วนหนึ่งที่ต้องกู้ยืม พบปีนี้กลับภูมิลำเนาเพิ่มขึ้น จากได้ค่าเดินทางบัตรคนจน...

Latest


คาดกลุ่มฐานราก รายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท ใช้จ่ายช่วงเทศกาลปีใหม่ เฉลี่ยคนละ 3.7 พันบาท เงินส่วนใหญ่มาจากรายได้ มีส่วนหนึ่งที่ต้องกู้ยืม พบปีนี้กลับภูมิลำเนาเพิ่มขึ้น จากได้ค่าเดินทางบัตรคนจน...

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยวิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน ได้ทำการสำรวจการใช้จ่ายของประชาชนระดับฐานรากในช่วงเทศกาลปีใหม่ จากกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาททั่วประเทศ จำนวน 1,849 ตัวอย่าง พบว่า ภาพรวมการใช้จ่ายของประชาชนระดับฐานรากในช่วงเทศกาลปีใหม่ คาดว่าจะมีการจับจ่ายใช้สอยประมาณ 57,000 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 3,765 บาท ซึ่งปัจจัยสนับสนุนที่กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนระดับฐานรากให้ มีบรรยากาศที่คึกคักนั้น ส่วนหนึ่งส่งผลมาจากมาตรการภาครัฐที่ออกมากระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในช่วงปลายปี โครงการประชารัฐสวัสดิการ ประกอบกับการประกาศให้มีวันหยุดราชการติดต่อกัน เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในช่วงปลายปี

เมื่อเปรียบเทียบรายได้และค่าใช้จ่ายกับช่วงปีใหม่ของปีก่อน พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 มีรายได้ไม่ต่ำกว่า ปีก่อน ในขณะที่ร้อยละ 51.1 มีค่าใช้จ่ายเท่าเดิม

สำหรับแหล่งที่มาของเงินที่นำมาจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลปีใหม่ พบว่า ส่วนใหญ่มาจาก รายได้ (ร้อยละ 51.4) เงินออม (ร้อยละ 36.3) เงินกู้ยืม ซึ่งมีทั้งเงินกู้นอกระบบและในระบบ (ร้อยละ 7.5) และเงินสนับสนุนจากภาครัฐ (ร้อยละ 4.8)

เมื่อสำรวจลักษณะการทำกิจกรรม และการจับจ่ายใช้สอยเฉลี่ยต่อคนในช่วงเทศกาลปีใหม่ พบว่า กิจกรรม 3 อันดับแรกที่ประชาชนระดับฐานรากนิยม คือ 1. ทำบุญ/ไหว้พระ/สวดมนต์ ร้อยละ 75.4 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 700 บาท 2.สังสรรค์ เลี้ยงฉลอง ร้อยละ 46.6 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,280 บาท 3. ซื้อของขวัญ/ ของฝาก และให้เงินคนในครอบครัว ร้อยละ 46.3 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,200 บาท และ 1,900 บาท ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่ท่องเที่ยวต่างจังหวัดและกลับภูมิลำเนา/เยี่ยมญาติ มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการได้รับสวัสดิการ ค่าเดินทางจากโครงการประชารัฐสวัสดิการ

ส่วนของขวัญ/ของฝากที่ประชาชนระดับฐานราก คาดว่าจะซื้อในช่วงเทศกาลปีใหม่ พบว่า 3 อันดับแรก คือ อาหาร/ขนม (ร้อยละ 52.7) เสื้อผ้า/เครื่องนุ่งห่ม (ร้อยละ 45.5) และเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ (ร้อยละ 37.8)

สำหรับสถานที่ซื้อ และบุคคลที่ต้องการให้ของขวัญ/ของฝาก พบว่า สถานที่ซื้อ 3 อันดับแรก คือ ห้างสรรพสินค้า (ร้อยละ 54.4) ตลาด/ร้านค้าทั่วไป (ร้อยละ 43.3) และร้านขายของฝาก/ของที่ระลึก (ร้อยละ 41.3) ส่วนบุคคลที่ต้องการให้ คือ คนในครอบครัว (ร้อยละ 73.5) ผู้ใหญ่ที่เคารพ (ร้อยละ 65.6) ตนเอง (ร้อยละ 28.6) เพื่อน (ร้อยละ 27.8) และคู่รัก/แฟน (ร้อยละ 22.5)

เมื่อสอบถามถึงเป้าหมายที่จะทำในปีใหม่นี้ พบว่า ประชาชนระดับฐานราก ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาชีวิตตนเองให้ดีขึ้น โดยจะออมเงิน (ร้อยละ 23.8) พัฒนาตนเอง/พัฒนางาน อาชีพ/การศึกษา (ร้อยละ 21.1) และดูแลสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย เลิกเหล้า/บุหรี่ (ร้อยละ 13.3)

สำหรับภาพรวมจะเห็นว่าสัดส่วนผู้ใช้จ่ายในกิจกรรมที่ไม่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพ เช่น สังสรรค์ เลี้ยงฉลอง และซื้อของขวัญของฝาก ลดลงจากปีก่อน แต่ให้ความสำคัญกับตนเองและครอบครัวมากขึ้น โดยการให้เงินคนในครอบครัว การท่องเที่ยวและเยี่ยมญาติ ตลอดจนการตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาตนเองและดูแลสุขภาพ และเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่ท่องเที่ยวต่างจังหวัดและกลับภูมิลำเนา/เยี่ยมญาติ มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการได้รับสวัสดิการค่าเดินทางจากโครงการประชารัฐสวัสดิการ

ทั้งนี้ในอนาคตรัฐบาลอาจกำหนดให้มีการสะสมค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางได้ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายปลายปีเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้มีรายได้น้อย.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ