ใช้สิทธิ์ก่อนหมดปี! สมาชิกประกันสังคมต้องรู้ มีอะไรที่ฟรีสำหรับเราบ้าง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ใช้สิทธิ์ก่อนหมดปี! สมาชิกประกันสังคมต้องรู้ มีอะไรที่ฟรีสำหรับเราบ้าง

Date Time: 19 ธ.ค. 2560 07:30 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • หากพูดถึงประกันสังคม เหล่ามนุษย์เงินเดือน คงหนีไม่พ้นเรื่องการถูกหักเงินของแต่ละเดือน เพื่อแลกให้ผู้ประกันตนมีหลักประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการ...

Latest


หากพูดถึงประกันสังคม เหล่ามนุษย์เงินเดือน คงหนีไม่พ้นเรื่องการถูกหักเงินของแต่ละเดือน เพื่อแลกให้ผู้ประกันตนมีหลักประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย การคลอดบุตร การเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือแม้กระทั่ง การว่างงาน...

ดังนั้น ผู้ประกันตน สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ตามสิทธิ์ โดยเฉพาะสิทธิ์ที่เป็นปีต่อปี ประกอบด้วย

- สิทธิประโยชน์ กรณีทันตกรรม ทั้งกรณีอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด ประจำปี 2560 ซึ่งสามารถขอรับบริการในคลินิกหรือสถานพยาบาลเอกชน สถานพยาบาลของรัฐ ได้ถึงภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2560 หากไม่ใช้สิทธิ์ในปีนี้เท่ากับจะเสียโอกาสในการดูแลสุขภาพในช่องปาก

ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมได้เพิ่มอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณี อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด ให้แก่ผู้ประกันตน เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อคนต่อปี (จากเดิม 600 บาทต่อคนต่อปี)

- สิทธิประโยชน์ การให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค คือตรวจสุขภาพได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ต้องรับบริการในโรงพยาบาลตามสิทธิ์ที่ผู้ประกันตนเลือกเอาไว้ จะสามารถตรวจสุขภาพพื้นฐานได้ ทั้งตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจการทำงานของไต เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงและภาวะผิดปกติ

ส่วนการตรวจสุขภาพ หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด ซึ่งจะดูตามอายุและความจำเป็น อาทิ การตรวจเต้านมโดยแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข ผู้ประกันตนอายุ 30-39 ปี ตรวจได้ทุก 3 ปี แต่ถ้าอายุ 40-54 ปี ตรวจได้ทุกปี หรือการตรวจน้ำตาลในเลือด อายุ 35-54 ปี ตรวจทุก 3 ปี แต่ถ้าอายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจได้ 1 ครั้งต่อปี หรือการเอกซเรย์ทรวงอก Chest x–ray ได้ปีละ 1 ครั้ง อายุ 15 ปีขึ้นไป

ขณะที่ สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 33 (พนักงานเอกชนทั่วไป) ที่ต้องจ่ายเงินสมทบ 750 บาททุกเดือน จะได้รับการคุ้มครอง 7 กรณี ประกอบด้วย

กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ
- จะได้รับการรักษาพยาบาล โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ส่วนกรณีที่ต้องหยุดพักตามคำสั่งแพทย์ หากหมดสิทธิ์ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในวันลาป่วยตามกฎหมาย จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 3 เดือนต่อครั้ง และไม่เกิน 6 เดือนต่อปี เว้นแต่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 1 ปี

กรณีทุพพลภาพ
- ค่ารักษาพยาบาล + เงินทดแทนการขาดรายได้
- ค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพทางร่างกาย จิตใจ และอาชีพ ไม่เกิน 40,000 บาทต่อราย

กรณีเสียชีวิต
- รับเงินค่าทำศพ 40,000 บาท + เงินสงเคราะห์

กรณีคลอดบุตร
- ค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายไม่จำกัดจำนวนครั้ง เบิกได้ 13,000 บาท/ครั้ง

กรณีสงเคราะห์บุตร
- จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 400 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 3 คน

กรณีชราภาพ
- อายุครบ 55 ปี สมทบไม่ครบ 15 ปี ได้บำเหน็จ
- อายุครบ 55 ปี สมทบตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปได้บำนาญ ถ้าค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท จะได้บำนาญ (เดือนละ 3,000 บาท ตลอดชีวิต ทุกๆ 1 ปีที่สมทบเพิ่ม จะได้เงินเพิ่มอีกเดือนละ 225 บาท ตลอดชีวิต)

กรณีว่างงาน
- เลิกจ้าง ได้เงินทดแทน 50% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 6 เดือน
- ลาออก ได้เงินทดแทน 30% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 3 เดือน
- เหตุสุดวิสัย ได้เงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 6 เดือน

ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนรู้จักการใช้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ จากการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทุกเดือน ก็จะมั่นใจได้ว่าเงินที่จ่ายไปไม่สูญเปล่าแน่นอน อย่างไรก็ตาม กองทุนประกันสังคม ยังเป็นเสมือนอนาคตของมนุษย์เงินเดือน ที่ผู้ประกันตนจะฝากความหวังไว้จนถึงยามเกษียณ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ