3 มาตรการช่วยราคายางสะดุดตอ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

3 มาตรการช่วยราคายางสะดุดตอ

Date Time: 13 ธ.ค. 2560 09:05 น.

Summary

  • ได้รายงานให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยการลดปริมาณยางในตลาดลงประกอบด้วย 3 มาตรการ คือ มาตรการแรก เพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศ...

Latest

เปิดคำตีความคณะกรรมการกฤษฎีกา “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” ขาดคุณสมบัติ!

นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้รายงานให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยการลดปริมาณยางในตลาดลงประกอบด้วย 3 มาตรการ คือ มาตรการแรก เพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯได้หารือกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย เพื่อขอรับทราบปริมาณความต้องการใช้ยางพาราเบื้องต้นอยู่ที่ 70,000-80,000 ตัน เห็นว่ายังมีจำนวนน้อย จึงเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ส่วนราชการไปหารือกันอีกครั้ง และให้รายงานภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายการใช้ยางส่วนนี้ไว้ที่ 200,000 ตัน

สำหรับมาตรการที่สอง คือการช่วยเหลือผู้ประกอบการรับซื้อยางพาราที่ต้องกู้เงินมาดำเนินการ ส่วนนี้รัฐบาลจะช่วยเหลือดอกเบี้ยในอัตราไม่เกิน 3% ซึ่งเป็นโครงการสินเชื่อเดิมวงเงิน 20,000 ล้านบาท รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยวงเงิน 600 ล้านบาท ขณะนี้ปล่อยสินเชื่อเต็มวงเงินแล้ว และสินเชื่อสำหรับสถาบันเกษตรกรที่จะไปรับซื้อยางวงเงิน 10,000 ล้านบาท เหลืออยู่ประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท ทั้ง 2 ส่วนจะดึงยางออกจากตลาดได้ 350,000 ตัน

ส่วนมาตรการที่สาม เป็นแนวทางลดการกรีดยางและลดพื้นที่การปลูกยาง แบ่งเป็นลดพื้นที่ปลูกยางและกรีดยางในที่ดินของส่วนราชการซึ่งมีอยู่ประมาณ 200,000 ไร่ เปิดกรีดยางได้แล้ว 70,000-80,000 ไร่ เช่น พื้นที่ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หรือ อ.อ.ป.พื้นที่ในการดูแลของกระทรวงเกษตรฯที่ให้ชาวบ้านปลูกยางในส่วนที่ดูแลอยู่ได้ ส่วนนี้ให้ลดการปลูกหรือกรีดยางลง 100% ช่วงเวลา 3 เดือนคือ ม.ค.-มี.ค.2561 จะลดปริมาณยางในตลาดลง 5,000 ตัน ขณะที่อีกส่วนจะเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปลดการปลูกยางลงเป้าหมาย 200,000 ไร่ โดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จะมีทุนสำหรับซื้อปัจจัยการผลิตในการปลูกพืชชนิดอื่น และทางกระทรวงพาณิชย์จะหาผู้มารับซื้อ

“นายกรัฐมนตรีมีบัญชาว่า ให้กระทรวงนำ 3 มาตรการดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการ กยท.และคณะกรรมการกำหนดนโยบายยางเห็นชอบก่อน จากนั้นนำมาเสนอ ครม.พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 19 ธ.ค.2560 ซึ่งผลจาก 3 มาตรการมีเป้าหมาย ทำให้ราคายางอยู่ในระดับที่เกษตรกรไม่ขาดทุน โดยต้นทุนผลิตยางขณะนี้อยู่ที่ กก.ละ 50-60 บาท”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ