ตลาดพบพิรุธ POLAR เพียบ สั่งชี้แจงถี่ยิบ! แฉข้อมูลขัดแย้งกันเอง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ตลาดพบพิรุธ POLAR เพียบ สั่งชี้แจงถี่ยิบ! แฉข้อมูลขัดแย้งกันเอง

Date Time: 16 ส.ค. 2560 09:05 น.

Summary

  • ตลาดสั่ง POLAR แจงถี่ยิบ แฉพบข้อมูลที่บริษัทเคยแจ้งตลาดมีความขัดแย้งกันอย่างมีนัยสำคัญ แถมพบพิรุธบอร์ดรู้ล่วงหน้าว่าจะมีการเสกหนี้เพิ่ม 3,117 ล้านบาท เพราะไปยื่นศาลขอฟื้นฟูกิจการต้นเดือน พ.ค.ให้เหตุผลว่ามีหนี้สินล้น พ้นตัว

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

ตลาดสั่ง POLAR แจงถี่ยิบ แฉพบข้อมูลที่บริษัทเคยแจ้งตลาดมีความขัดแย้งกันอย่างมีนัยสำคัญ แถมพบพิรุธบอร์ดรู้ล่วงหน้าว่าจะมีการเสกหนี้เพิ่ม 3,117 ล้านบาท เพราะไปยื่นศาลขอฟื้นฟูกิจการต้นเดือน พ.ค.ให้เหตุผลว่ามีหนี้สินล้น พ้นตัว ทั้งที่ได้หมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจากผู้ที่อ้างเป็นเจ้าหนี้จำนวนดังกล่าวในปลายเดือน พ.ค.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ตลาดหลักทรัพย์สั่งให้ POLAR ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม กรณีบริษัทถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โดยถูกเจ้าหนี้นายกำแหง หุ่นหิรัณย์สาย เป็นโจทก์ฟ้อง เป็นคดีล้มละลายโดยนำมูลหนี้ข้อตกลงการซื้อหุ้นระหว่างบริษัทและนายกำแหงมายื่นฟ้องจนทำให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ประกอบกับข้อมูลทั้งหมดที่บริษัทเคยชี้แจงต่อตลาดมีความขัดแย้งกัน โดยให้ชี้แจงภายในวันที่ 17 ส.ค.นี้ ดังนี้ 1. เหตุใดนายกำแหงจึงกลายมาเป็นเจ้าหนี้ฟ้องเรียกให้บริษัทชำระหนี้และค่าเสียหาย และใช้เป็นเหตุยื่นฟ้องคดีล้มละลาย ทั้งที่บริษัทแจ้งว่านายกำแหงเป็นผู้ขอยกเลิกการซื้อหุ้นแพลทตินัมเอง และ ก.ล.ต.สั่งให้บริษัทจัดทำ Special audit เกี่ยวกับที่มาความมีอยู่จริงของหนี้ในงบการเงิน แต่บริษัทยังไม่ได้ทำตามคำสั่ง ก.ล.ต.
2. คณะกรรมการหรือบอร์ดดำเนินการอย่างไร ในการชี้แจงข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งว่า นายกำแหงไม่ได้เป็นเจ้าหนี้บริษัทในคดีล้มละลาย ให้อธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงประกอบ รวมทั้งสรุปสาระสำคัญของคำฟ้อง มูลหนี้ และระบุชื่อ/ตำแหน่งของผู้ที่ให้ข้อมูลต่อศาลด้วย 3.บอร์ดจะเลือกยื่นอุทธรณ์ หรือขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หรือทำไปพร้อมกันเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้น หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์พร้อมอธิบายเหตุผลและระยะเวลาดำเนินการ 4.เหตุใดบอร์ดจึงมีมติให้ถอนคำร้องขอ ฟื้นฟูกิจการ ทั้งที่ทราบว่าอยู่ระหว่างถูกนายกำแหงฟ้องคดีล้มละลาย พร้อมอธิบายว่าบอร์ดได้พิจารณาด้วยความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์สุจริตอย่างไร ในการ ปกป้องผลประโยชน์บริษัท ทั้งที่เคยแจ้งว่าสาเหตุที่ยื่นขอฟื้นฟูกิจการเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย หากต้องแพ้คดีหรือล้มละลาย ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายกำหนดว่าตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้เพื่อพิจารณา หากมีการฟ้องคดีล้มละลาย ให้งดการพิจารณาคดีล้มละลายไว้ก่อน

นอกจากนี้ ยังให้ชี้แจงเพิ่มเติม เช่น บอร์ดและฝ่ายจัดการดำเนินการอย่างไรจนเป็นเหตุให้บริษัทมีหนี้สินล้นพ้นตัวภายในเวลาอันสั้น และเหตุใดที่ประชุมบอร์ดวันที่ 8 พ.ค.สามารถนำมูลหนี้รวม 3,117 ล้านบาทที่บริษัทได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในวันที่ 21 และ 30 พ.ค.60 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังวันที่บริษัทไปยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการมาใช้พิจารณาว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นข้อมูลยื่นขอฟื้นฟูกิจการได้ และบอร์ดได้พิจารณาอย่างไรว่าหนี้ที่เกิดจากการเรียกร้องค่า เสียหายและค่าขาดประโยชน์เป็นภาระหนี้ทั้งจำนวนของบริษัท

ทั้งนี้ การที่บริษัทไม่เปิดเผยข้อมูลต่อตลาด หลักทรัพย์เกี่ยวกับการถูกฟ้องล้มละลายและคำสั่งศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด พิจารณาได้ว่ากรรมการและผู้บริหารมีเจตนาที่จะฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ