สถานการณ์ยังเปราะบาง Fed ขึ้นดอกเบี้ยเพียง 25bps แต่ไม่ลดดอกเบี้ยปีนี้

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สถานการณ์ยังเปราะบาง Fed ขึ้นดอกเบี้ยเพียง 25bps แต่ไม่ลดดอกเบี้ยปีนี้

Date Time: 24 มี.ค. 2566 08:30 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • Fed จะยังขึ้นดอกเบี้ยสู้เงินเฟ้อและปิดประตูที่จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้

Latest


  • Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% และส่งสัญญาณว่ายังไม่ถึงจุดสิ้นสุด อย่างไรก็ดี Fed Dot Plot ยังคงคาดการณ์ดอกเบี้ยสิ้นปี 2023 ที่ระดับเดิม ขณะที่กรรมการแสดงความกังวลถึงปัญหาของกลุ่มธนาคารไม่มากนัก
  • ตลาดเคลื่อนไหวอย่างผันผวนก่อนปิดตลาดในแดนลบ โดยตลาดตีความว่า Fed จะยังขึ้นดอกเบี้ยสู้เงินเฟ้อ และปิดประตูที่จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้
  • เรามองเป็นโอกาสสะสมกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการขึ้นดอกเบี้ยที่อาจจำกัด เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นเติบโตกลุ่มเทคโนโลยี แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มเติบโต อย่าง TMB-ES-GCG, ES-USTECH ร่วมกับหุ้นขนาดใหญ่ปันผลดีอย่าง ES-GDIV

Fed ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ขณะที่ Dots Plot สิ้นปี 2023 ไม่เปลี่ยนแปลง

ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในการประชุมนโยบายการเงินประจำเดือนมีนาคม 2023 และส่งสัญญาณว่ายังไม่เสร็จสิ้นการขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้วิกฤติธนาคารรุนแรงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดทั่วโลก

โดยคณะกรรมการ Federal Open Market Committee ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้เพิ่มเป้าหมายสำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของรัฐบาลกลางเป็น 4.75% ถึง 5% ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2007 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดวิกฤติการเงิน

นับเป็นการชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยเหลือ 0.25% เป็นครั้งที่ 2 หลังจากการปรับขึ้น 0.5% ในเดือน ธ.ค. และการปรับขึ้น 0.75% 4 ครั้งก่อนหน้านั้น คณะกรรมการเฟดคาดการณ์ (ตามรายงาน Fed Dot Plot) ว่า อัตราดอกเบี้ยจะสิ้นสุดในปี 2023 ที่ประมาณ 5.1% ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากค่ากลางจากคาดการณ์ครั้งล่าสุดในเดือน ธ.ค. ขณะที่ปี 2024 เพิ่มขึ้นเป็น 4.3% จาก 4.1%

มุมมองของ Fed ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักและไม่กังวลต่อสถานการณ์กลุ่มธนาคาร

เฟดกล่าวว่า ระบบธนาคารของสหรัฐฯ นั้น มั่นคงและยืดหยุ่น แต่ความวุ่นวายในกลุ่มสถาบันการเงินน่าจะส่งผลให้เกิดภาวะสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น สำหรับภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อในระดับที่ไม่แน่นอน ซึ่งหากสถานการณ์ย่ำแย่ลง อาจทำให้เฟดไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยตามที่คาด

ในแง่ของเงินเฟ้อ รายงานการประชุมได้นำข้อความที่ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อผ่อนคลายลง ในการประชุมรอบก่อนออกจากรายงานและแทนที่ด้วย เงินเฟ้อยังคงสูงอยู่ แต่กล่าวว่า การเข้มงวดนโยบายการเงินเพิ่มเติมยังอาจเหมาะสม แทนที่ก่อนหน้านี้ซึ่งกล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยยังจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัว

ด้านการลดขนาดงบดุล หรือที่เรียกว่า Quantitative Tightening ธนาคารกลางยืนยันยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยปล่อยให้มีเพดานสูงสุดต่อเดือนที่ 6 หมื่นล้านดอลลาร์สำหรับพันธบัตร และ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์สำหรับหลักทรัพย์ค้ำประกัน (mortgage-backed) ที่จะปล่อยให้ตราสารหมดอายุโดยไม่ออกฉบับใหม่มาทดแทน

การตอบสนองของตลาดหลังรับรู้ผลการประชุม

ตลาดหุ้นตอบรับผลการประชุมในเชิงบวก เนื่องจากเฟดตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 0.25% โดยตีความว่า เฟดกำลังกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น และต้องสิ้นสุดการปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาตลาดพลิกกลับมาอยู่ในแดนลบ หลังจากถ้อยแถลงของผู้ว่าฯ เจอโรม พาวเวลล์ ตอกย้ำว่าหากเฟดจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยอย่างรุนแรงต่อเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ เฟดก็จะทำ และยังไม่เห็นเหตุผลมากพอที่จะต้องปรับลดดอกเบี้ยปลายปีนี้

นอกจากนั้น รมว.คลัง อย่าง นางเจเน็ต เยลเลน กล่าวรายงานต่อสภาว่า หน่วยงานไม่มีนโยบายเพิ่มมูลค่าประกันเงินฝาก ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อหุ้นกลุ่มธนาคาร ดัชนีตลาดหุ้น S&P 500 และ NASDAQ ทำจุดสูงสุดที่ระดับ 1% ระหว่างวัน ก่อนปิดตลาดปรับตัวลง -1.6% ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในตลาดปรับตัวลง ขณะที่ Terminal Rate ปรับตัวขึ้นไปอยู่ที่ 5.2% ณ สิ้นวันทำการ

มุมมองการลงทุน

เรามองว่าเฟดกำลังส่งสัญญาณในเชิง Dovish อยู่เบื้องหลังถึงความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นในภาคธนาคาร แต่ด้วยระดับเงินเฟ้อที่ยังคงสูงและภาคแรงงานที่ร้อนแรง ทำให้เฟดจำเป็นต้องลดความร้อนแรงและมุมมองเชิงบวกที่มากเกินไปของตลาด ทำให้เรามองว่าตลาดอาจกลับเข้าสู่ภาวะผันผวนอีกครั้ง

อย่างไรก็ดี เรายังมองว่าการปรับตัวของตลาดในรอบนี้ จะเป็นโอกาสในการเข้าสะสมกลุ่มหุ้นเติบโตและเทคโนโลยี ที่รับรู้ความกังวลดอกเบี้ยขาขึ้นค่อนข้างมาก และไม่ได้รับผลกระทบจากความวุ่นวายในภาคการเงิน เราแนะนำทยอยสะสมกองทุนหุ้นเติบโตอย่าง TMB-ES-GCG และกองทุนหุ้นเทคโนโลยีอย่าง ES-USTECH

ทั้งนี้ แนะนำสะสมหุ้นเติบโตร่วมกับกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ปันผลดีอย่าง ES-GDIV ซึ่งเป็นกลุ่มกิจการที่นักลงทุนให้ความสนใจในช่วงสถานการณ์เศรษฐกิจไม่แน่นอน และยังช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน

บทความโดย บดินทร์ พุทธอินทร์
ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ