บ.ยักษ์ใหญ่แห่ปลดพนักงาน Disney หวังลดค่าใช้จ่าย Zoom มองเกมธุรกิจพลาด จ้างงานมากไปในช่วงโควิด

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

บ.ยักษ์ใหญ่แห่ปลดพนักงาน Disney หวังลดค่าใช้จ่าย Zoom มองเกมธุรกิจพลาด จ้างงานมากไปในช่วงโควิด

Date Time: 9 ก.พ. 2566 18:40 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

Summary

  • 2 บริษัทระดับโลก เตรียมปลดพนักงานร่วม 8,300 คน ในวันเดียว Disney อ่วม หวังลดต้นทุน หลังสตรีมมิงไม่ทำกำไร ด้าน Zoom ซีอีโอตัดเงินเดือนตัวเอง 98% มองเกมธุรกิจพลาด จ้างงานมากเกินไปในช่วงโควิด

Latest


Disney อ่วม หวังลดต้นทุน หลังสตรีมมิงไม่ทำกำไร เตรียมปลดพนักงาน 7,000 คน หวังลดต้นทุน 1.8 แสนล้านบาท

Disney ประกาศแผนปรับโครงสร้างองค์กร หวังลดต้นทุน 5.5 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 184,140 แสนล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ 33.48 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) ปลดพนักงานกว่า 7,000 คน คิดเป็น 4% ของจำนวนพนักงานทั่วโลก หลังธุรกิจสตรีมมิงขาดทุน กลับมาโฟกัสทำภาพยนตร์สำหรับครอบครัวและเด็ก

หลังประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2566 (ตุลาคม-ธันวาคม 2565) Bob Iger ซีอีโอของ Disney ได้ประกาศแผนปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อกระตุ้นการผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ด้วยการลดต้นทุนให้ได้ 5.5 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะมีการเลย์ออฟพนักงานมากกว่า 7,000 คน หรือคิดเป็น 4% ของพนักงานทั่วโลก

เริ่มจากการควบรวมแผนกผลิต และเผยแพร่เนื้อหาเข้ากับบริการสตรีมมิง ยกเว้นช่องกีฬาเจ้าใหญ่ของอเมริกาอย่าง ESPN ที่ให้บริการผ่านเคเบิลโทรทัศน์ และระบบสตรีมมิงที่จะถูกแยกออกมาเป็นแผนกเดี่ยวครั้งแรก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างมูลค่าได้อย่างต่อเนื่อง โดยเป็นความพยายามของบริษัทที่จะสร้างรายได้จากการทำให้ช่องกีฬาขายได้ง่ายขึ้น

การปรับโครงสร้างองค์กร ช่วยให้การทำงานมีความคล่องตัวและรวดเร็วมากขึ้น ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญตั้งแต่ Bob Iger กลับมาดำรงตำแหน่งซีอีโอแทน Bob Chapek ที่มีการส่งสัญญาณเลย์ออฟพนักงาน เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

ถึงแม้ Disney จะทำรายได้จากบริการสตรีมมิงเพิ่มขึ้น 13% เป็น 5.3 พันล้านดอลลาร์ จากปีก่อน แต่เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ได้ปรับขึ้นราคาสมาชิกรายเดือน Disney Plus เป็น 11 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นแพ็กเกจแบบไม่มีโฆษณา เพิ่มขึ้น 38% จากราคาเดิมที่ 8 ดอลลาร์ เนื่องจากยอดผู้สมัครสมาชิกทั่วโลกลดลงกว่า 2.4 ล้านบัญชี จากยอดผู้สมัครสมาชิกทั้งหมด 161.8 ล้านบัญชี มีสาเหตุมาจากราคาสมัครสมาชิกที่ถูกของ Disney Plus ในอินเดีย
อีกทั้งในปีที่แล้ว ยังแพ้การประมูลเพื่อต่ออายุสิทธิ์การแข่งขันคริกเกตพรีเมียร์ลีก ประกอบกับรายได้จาก Hulu ที่สมาชิกเติบโตเพียง 2% ในต่างประเทศ

ส่วนไตรมาสแรกของปีนี้ สามารถทำรายได้รวม 23.5 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 8% จากปีก่อน ซึ่งเกินความคาดหมายของ Wall Street แต่แพลตฟอร์มสตรีมมิง Disney Plus ยังไม่สามารถทำกำไรได้ ณ ปัจจุบัน แต่บริษัทคาดว่าจะเริ่มทำกำไรได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2567 เป็นต้นไป ทำให้ปัจจุบันแผนกสตรีมมิงสูญเสียมูลค่าไปแล้วทั้งหมด 1.1 พันล้านดอลลาร์

ในปีนี้ บริษัทมีแผนที่จะกลับไปโฟกัสความบันเทิงหมวดครอบครัวและเด็ก ด้วยการทำภาพยนตร์แอนิเมชันภาคต่อ อย่างภาพยนตร์ที่ทำได้รายได้ขึ้นหิ้งอย่าง Toy Story, Zootopia และ Frozen

ซีอีโอ Zoom ตัดเงินเดือนตัวเอง 98% หลังประกาศปลดพนักงาน 1,300 คน เซ่นพิษเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา Eric Yuan ซีอีโอของ Zoom ประกาศปลดพนักงาน 1,300 คน หรือประมาณ 15% ของพนักงานทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพนักงานทุกทีมในบริษัท เนื่องจากการจ้างงานที่มากเกินไปในช่วงโควิด

และเพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อการบริหารที่ผิดพลาด Yuan ประกาศลดเงินเดือนของตัวเองลง 98% เหลือเพียง 10,000 ดอลลาร์ต่อเดือน และไม่ขอรับโบนัส
ในปีงบประมาณที่กำลังจะมาถึง จะทำให้มีรายได้ทั้งปีที่ 500,000 เท่านั้น

อีกทั้งยังได้ประกาศลดฐานเงินเดือนของทีมผู้บริหารสูงสุดลง 20% รวมถึงงดรับโบนัสบริษัทในปีงบประมาณที่กำลังจะมาถึง

ในช่วง 24 เดือน ของการแพร่ระบาดโควิด Zoom มีการเติบโตอย่างรวดเร็วถึง 3 เท่า เพื่อตอบรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้งาน รวมถึงมีการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุผลให้บริษัทโฟกัสไปที่การทำงานอย่างหนัก เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน จนละเลยการมองภาพกว้างถึงการเติบโตระยะยาว ซึ่งจะสะท้อนถึงความยั่งยืนของบริษัท

จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2565 บริษัท Big tech ได้มีการทยอยประกาศปลดพนักงานออกมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ การจ้างงานที่มากเกินไปในช่วงโควิด โดยเดือนมกราคม ที่ผ่านมา Amazon, Alphabet (บริษัทแม่ Google) และ Microsoft ได้ประกาศปลดคนเพิ่มจำนวน 18,000 คน 12,000 คน และ 10,000 คน ตามลำดับ
เนื่องจากยอดผู้ใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลลดลงอย่างรวดเร็ว หลังการผ่อนคลายมาตรการโควิดในหลายประเทศ
และนี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ซีอีโอออกมาแสดงความรับผิดชอบ ด้วยการตัดเงินเดือนตัวเอง ก่อนหน้านี้ Sundar Pichai
ซีอีโอของ Alphabet และ David Solomon ซีอีโอของ Goldman Sachs ก็ได้ประกาศลดเงินเดือนตัวเองเช่นกัน


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ