ว่าด้วย CBDC และนวัตกรรมการเงินบนพื้นฐานความรับผิดชอบ ในมุมมองของแบงก์ชาติ

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ว่าด้วย CBDC และนวัตกรรมการเงินบนพื้นฐานความรับผิดชอบ ในมุมมองของแบงก์ชาติ

Date Time: 28 ต.ค. 2565 09:16 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • ธปท. ให้ความสำคัญกับ นวัตกรรม แต่ต้องการเห็น นวัตกรรมบนพื้นฐานของความรับผิดชอบ ที่สร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจจริงได้ ไม่ได้ทำขึ้นหวังเก็งกำไร หรือสร้างกระแส พร้อมเผยความคืบหน้าทดสอบ CBDC ระหว่างสถาบันการเงิน หวังจะเป็น Game Changer

Latest


ธปท. ให้ความสำคัญกับ นวัตกรรม แต่ต้องการเห็น นวัตกรรมบนพื้นฐานของความรับผิดชอบ ที่สร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจจริงได้ ไม่ได้ทำขึ้นหวังเก็งกำไร หรือสร้างกระแส พร้อมเผยความคืบหน้าทดสอบ CBDC ระหว่างสถาบันการเงิน หวังจะเป็น Game Changer โอนเงินข้ามประเทศในอนาคต 

ดังนั้นในบทความนี้จะมาว่าด้วยเรื่อง นวัตกรรมการเงินบนพื้นฐานของความรับผิดชอบที่แบงก์ชาติต้องการ ความคืบหน้าและความคาดหวังของ CBDC หรือสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง ซึ่งกล่าวในงาน BOT Digital Finance Conference 2022 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า นวัตกรรม เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ ซึ่งสิ่งที่ ธปท.ต้องการ คือ การไม่ได้พิจารณานวัตกรรมในมุมศักยภาพเท่านั้น แต่ต้องเป็น ‘นวัตกรรมบนพื้นฐานของความรับผิดชอบ’ (responsipility innovation) กล่าวคือ นวัตกรรมนั้นๆ ต้องมีการดูแลความเสี่ยงที่อยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม

ซึ่งจะต้องสามารถเสริมศักยภาพและเพิ่มผลิตภาพของเศรษฐกิจจริงได้ม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงิน เช่น ไม่ทำขึ้นเพื่อหวังเก็งกำไร สร้างกระแส หรือหลอกลวงประชาชน อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงความยั่งยืน ที่จะไม่สร้างภาระหนี้มากเกินสมควรในระยะยาว นอกจากนี้จะต้องช่วยสร้างความมั่งคั่งที่สังคมเข้าถึงและได้รับผลประโยชน์อย่างทั่วถึง และไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม

ยกตัวอย่างเช่น โครงการ PromptPay โครงการ mBridge เป็นการทดลอง Wholesale CBDC ร่วมกับธนาคารกลางอื่นหลายแห่ง ที่จะช่วยลดต้นทุนภาคธุรกิจได้ และการทำ tokenization ของสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ ซึ่งตรงนี้เป็นแนวคิดใหม่ แต่มีศักยภาพที่จะสามารถเป็น Game Changer ได้ และในขณะเดียวกัน ปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่ธปท. มองว่านวัตกรรมบางประเภทอาจยังต้องผ่านการพิสูจน์เพิ่มเติมให้มั่นใจว่า มีศักยภาพที่จะนำมาปรับใช้ และสามารถสร้างประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจจริงได้

ขณะที่มุมมองเกี่ยวกับบล็อกเชน ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าวว่า เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพจะเป็น Game Changer ได้ แต่สิ่งที่ธปท.ต้องการเห็นคือ นวัตกรรมที่เป็นไปได้ เพิ่มการแข่งขัน และสามารถสร้างโอกาสใหม่ให้เกิดขึ้นได้ เพราะถ้าแค่ช่วยให้ต้นทุนถูกลงมันไม่เพียงพออีกต่อไป ดังนั้น ธปท. พร้อมเปิดรับภาคเอกชนให้เข้ามาพูดคุยหารือร่วมกัน เพื่อที่จะสามารถเพิ่มผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาดให้เกิดขึ้น

หวัง CBDC ตัวเปลี่ยนเกมภาคการเงิน

CBDC (Central Bank Digital Currency) หรือเงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง เป็นนวัตกรรมที่ค่อนข้างมีความหวังในการที่จะเป็น Game Changer ภาคการเงินได้ โดยเฉพาะสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางที่ใช้สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงิน (Wholesale CBDC) ปัจจุบันธปท.อยู่ระหว่างทดสอบร่วมกับธนาคารกลางของฮ่องกง ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสถาบันศึกษาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้โครงการที่ชื่อว่า m-CBDC Bridge โดยการนำสกุลเงินทั้ง 4 สกุล มาใช้แลกเปลี่ยนในธุรกรรมจริง ซึ่งมีธนาคารพาณิชย์กว่า 20 แห่งจาก 4 ประเทศเข้าร่วม

ผลการทดสอบที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า CBDC สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการโอนเงินระหว่างประเทศได้มากกว่าระบบเดิมในปัจจุบัน โดยสามารถลดเวลาการโอนเงินระหว่างประเทศที่เดิมใช้เวลา 3-4 วัน ซึ่งใช้ต้นทุนสูงมาก ลดเหลือเพียงระดับวินาทีเท่านั้น ดังนั้น ตรงนี้จึงมีศักยภาพในการเป็น Game Changer ในฝั่งของการชำระเงินข้ามประเทศ ขณะที่การดำเนินโครงการ m-CBDC Bridge ในระยะต่อไปจะต้องมีการเพิ่มตัวอย่างการใช้งานให้หลากหลายขึ้น

สำหรับโครงการทดสอบ CBDC นั้น ปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่มีการดำเนินการในหลายประเทศ และมีหลายโครงการที่เกิดขึ้น เช่น โครงการ
Jura ที่เป็นการทดสอบร่วมกันระหว่างสวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส Dunbar ทดสอบร่วมกันระหว่าง 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และแอฟริกาใต้

“ตอนนี้มีธนาคารกลางประมาณ 10 กว่าแห่งที่กำลังทดสอบ CBDC กันอยู่ ดังนั้นประเทศไทยไม่ได้ล้าหลังในเรื่องนี้ ในระยะต่อไปเราคาดหวังการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคธุรกิจเพิ่มมากขึ้น เพราะมันจะสามารถพลิกโฉมได้ในอนาคต และท้ายที่สุดแล้ว หากแต่ละประเทศสามารถนำมาเชื่อมต่อกันได้ทั้งหมด มันจะเป็นระบบการชำระเงินที่กลายเป็นอีกหนึ่งโครงสร้างพื้นฐานทางการโอนเงินระหว่างประเทศที่นอกเหนือจากระบบ SWIFT ในปัจจุบัน” ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าว

ขณะที่ความท้าทายที่เกิดขึ้น หนีไม่พ้นในเชิงเทคนิค แต่หลักๆ ของโครงการนี้ คือ เรื่องของ Governance การตัดสินใจร่วมกันระหว่างประเทศ รวมถึงเรื่องของกฎระเบียบที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน แต่ท้ายที่สุดก็จะหาจุดลงตัวระหว่างกันได้

ส่วนการทดสอบสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางที่ใช้สำหรับธุรกรรมรายย่อยของภาคธุรกิจและประชาชน (retail CBDC) ปัจจุบัน ธปท.ได้เดินหน้าโครงการอย่างเต็มที่ เพียงแต่เป็นโครงการที่ทำขึ้นเพื่อศึกษาเรียนรู้ ไม่ได้เพื่อเป็นการเปิดตัวใช้งาน เพราะยังมีประโยชน์กับภาคการเงินเดิมที่ไม่ชัดเจนมากนัก จะต่างกับ Wholesale CBDC ที่มีตัวอย่างการใช้งานที่เห็นประโยชน์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งคาดว่าอาจเกิดขึ้นได้ใน 5 ปี

ดังนั้นจึงได้มีการจัดทำเป็นโครงการที่ทดสอบการใช้งานจริงในวงจํากัด (Pilot Project) มีกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมจำนวนหมื่นราย

อย่างไรก็ตาม ธปท. มองว่า retail CBDC อาจไม่ได้เหมาะกับการทดสอบใช้งานในระดับพื้นฐาน (Foundation track) ที่เน้นใช้งานโดยทั่วไป เพราะปัจจุบันมี Promtpay ที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว แต่จะเหมาะกับการทดสอบในระดับนวัตกรรม (Innovation track) มากกว่า ที่จะมีการต่อยอดโดยการเขียนโปรแกรมลงไปเพื่อกำหนดการใช้งานในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งทำงานในฟังก์ชันที่ซับซ้อนได้ ซึ่งหากสามารถก้าวไปถึงตรงนี้ได้ก็จะสามารถกลายเป็นนวัตกรรมที่ไปสู่ Game Changer ได้เช่นกัน


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ