เศรษฐกิจดิจิทัลล้วนๆ

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

เศรษฐกิจดิจิทัลล้วนๆ

Date Time: 4 ธ.ค. 2564 05:45 น.

Summary

  • นวัตกรรมที่ทันสมัย โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำลังเป็นปัจจัยสำคัญในการวางโครงสร้างธุรกิจของปัจจุบันและอนาคต ที่เป็นความเปลี่ยนแปลงแบบทันทีทันใด

Latest

กำไรไม่พอจ่ายดอกเบี้ย เอสเอ็มอีอ่อนแอ! เสี่ยงเป็นบริษัทซอมบี้

นวัตกรรมที่ทันสมัย โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำลังเป็นปัจจัยสำคัญในการวางโครงสร้างธุรกิจของปัจจุบันและอนาคต ที่เป็นความเปลี่ยนแปลงแบบทันทีทันใดอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด–19 ระหว่าง โอกาส กับ ความท้าทาย โดยเฉพาะ บริษัทขนาดใหญ่ในประเทศ ที่จะต้องปรับตัวให้ทันกับการแข่งขันในก้าวต่อไปของเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

ระหว่าง การผูกขาดทางธุรกิจ กับ การเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจเพื่อขยายโอกาสในการแข่งขัน ก็คือการท้าทายของโลกธุรกิจ ที่ไม่มีขอบเขตจำกัด บริษัททุนใหญ่ในประเทศจะอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่จะคิดนอกกรอบและยอมรับความจริงทั้งในภาคสังคมและธุรกิจ

ยกตัวอย่างการเป็นพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจภายในประเทศ การจับมือระหว่าง เอไอเอส กับ กัลฟ์ หรือ ทรู กับ ดีแทค หรือการควบรวมของ ทีโอทีและแคท

หรือการจับมือทางธุรกิจระหว่าง เฟซบุ๊ก เมสเซนเจอร์ ติ๊กต่อก ยูทูบ กูเกิล เน็ตฟลิกซ์ ช้อปปี้ อาลีบาบา อเมซอน อีเบย์ เหล่านี้ ทำให้เห็นภาพของธุรกิจในอนาคตที่ไม่มีขีดจำกัด เป็นการพัฒนาไปสู่เป้าหมายทางนวัตกรรมของแต่ละองค์กรที่สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือสามารถต่อยอดธุรกิจให้โตไปอย่างไม่มีขีดจำกัด

ธุรกิจโทรคมนาคม เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้นในการแข่งขันสูงที่สุดรองลงมาเป็นธุรกิจโลจิสติกส์ เนื่องจาก เศรษฐกิจดิจิทัล ที่ใช้โครงข่ายเสมือนจริงมากที่สุด ไม่มีร้านค้าจริงๆ แต่เป็นร้านค้าออนไลน์ การตกลงทำธุรกิจแบบออนไลน์ การประชุมสัมมนาทางออนไลน์ การจัดนิทรรศการทางออนไลน์ เพียงแต่ว่าวิธีการและรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปเท่านั้น

หรือที่บริษัทย่อยของ ปตท. อินโนบิก ไปถือหุ้นใน บริษัทโลตัส ฟาร์มาซูติคอล บริษัทผู้ผลิตยาสามัญชั้นนำจาก ไต้หวัน จะเห็นว่าปตท. ไม่ได้ขายแค่น้ำมันเท่านั้น แต่ ทำธุรกิจนอกกรอบ ให้ทันกับการแข่งขันในยุคที่สินค้าสุขภาพอนามัย ยารักษาโรคเป็นสิ่งจำเป็นในลำดับต้นของการดำรงชีวิต

เหรียญเมื่อมีสองด้าน ย่อมมีทั้งคุณทั้งโทษเสมอ มุมหนึ่งจะมองว่าการควบกิจการเป็นการ ฮั้ว ที่สมบูรณ์แบบ แต่อีกมุมก็คือการ ขยายการเติบโตทางธุรกิจเพื่อการแข่งขัน โอกาสที่ไทยจะเอาชนะหรือแข่งขันกับบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกได้ ก็จะต้องสร้างทีมไทยแลนด์ขึ้นมาก่อน จากนั้นเข้าสู่ตลาดของการแข่งขันอย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพพอ

ก็ต้องย้อนไปถึงการจับมือเป็นพันธมิตรของ ทรูและดีแทคอีกที ในรูปของ TECH COMPANY จากมูลค่าการตลาดของทั้ง 2 บริษัท 158,832 ล้านบาท กับ 108,327 ล้านบาท จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 267,159 ล้านบาท ทันทีจากมูลค่ารวม 636,420 ล้านบาท หลังจากขยายธุรกิจแล้วคาดจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เป็น 300,745 ล้านบาท มีสัดส่วนจำนวนผู้ใช้งานที่ 97.8 ล้านเลขหมาย หรือร้อยละ 52.5 ขณะที่ เอไอเอส จะมีสัดส่วนผู้ใช้งานที่ ร้อยละ 44.6

การปรับภูมิทัศน์การแข่งขันของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมสู่เวทีเทคโนโลยีดิจิทัล รายได้ไม่ใช่อยู่ที่จำนวนของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 5 ของรายได้ทั้งหมดแต่จะอยู่ที่การใช้งาน OVER THE TOP หรือการใช้งานในแพลตฟอร์มต่างๆทางออนไลน์ ในอนาคตตลาดโทรคมนาคมก็ไม่ได้มีแค่นี้ยังจะมีคู่แข่งที่น่ากลัวจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำยุคอีกมาก.

หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ