คลังเมินขึ้นแวต ชี้ทำเศรษฐกิจฟื้นตัวสะดุด จ่อชง ครม.เก็บ 7% ไปอีก 1 ปี

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คลังเมินขึ้นแวต ชี้ทำเศรษฐกิจฟื้นตัวสะดุด จ่อชง ครม.เก็บ 7% ไปอีก 1 ปี

Date Time: 19 พ.ค. 2560 13:33 น.

Video

บิทคอยน์ VS เงินในกระเป๋าเกี่ยวกันยังไง ? | Digital Frontiers

Summary

  • คลังย้ำขณะนี้ไม่มีความจำเป็นขึ้นแวต ชี้จะทำให้เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวสะดุด จ่อเสนอ ครม.เร็วๆ นี้ ต่ออายุแวต 7% อีก 1 ปี หนุนเศรษฐกิจขยายตัว รับลูก สนช.เก็บภาษีลาภลอย จากลงทุนภาครัฐ อยู่ระหว่างพิจารณาอัตราจัดเก็บ...

Latest


คลังย้ำขณะนี้ไม่มีความจำเป็นขึ้นแวต ชี้จะทำให้เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวสะดุด จ่อเสนอ ครม.เร็วๆ นี้ ต่ออายุแวต 7% อีก 1 ปี หนุนเศรษฐกิจขยายตัว รับลูก สนช.เก็บภาษีลาภลอย จากลงทุนภาครัฐ อยู่ระหว่างพิจารณาอัตราจัดเก็บ...

เมื่อวันที่ 19 พ.ค. นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงข้อเสนอ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) อีก 1% ว่า เรื่องนี้เป็นข้อเสนอเก่าและอยู่ในแผนการปฏิรูปภาษีของกระทรวงการคลังอยู่แล้ว ซึ่งปัจจุบันภาษีแวตของไทยที่ 7% ถือว่าต่ำมาก อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแผนปรับขึ้นแวตในเวลานี้ ต้องดูสภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว หากปรับเพิ่มแวตตอนนี้จะทำให้เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นสะดุดลงได้

นอกจากนี้ ฐานะการคลังของประเทศ ปัจจุบัน มองว่าไม่จำเป็นต้องปรับเพิ่มแวต เนื่องจากการนำโครงการระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อีเพย์เมนต์) มาใช้ หากได้ประสิทธิภาพเต็มที่จะทำให้การเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 1 แสนล้านบาท โดยขณะนี้ กระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างเสนอต่ออายุแวต 7% อีก 1 ปี หรือไปสิ้นสุด 30 ก.ย. 2561 เพื่อให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องไม่เกิดการสะดุด หากไม่เสนอต่ออายุแวต จะมีผลทำให้แวตเด้งกลับไปอยู่ที่ 10% ทันที โดยอายุแวต 7% มีกำหนดถึง 30 ก.ย. 2560 คาดจะเสนอ ครม.ในเร็วๆ นี้

ส่วนข้อเสนอการเก็บภาษีลาภลอยของ สนช. ทางกระทรวงการคลังกำลังร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนภาครัฐ เช่น ที่ดินตามแนวรถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ หากมีการขายต้องถูกเก็บภาษี เพราะที่ดินดังกล่าวมีราคาแพงขึ้นจากการลงทุนของรัฐ แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดในเรื่องอัตราได้ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการพิจารณา

ขณะที่ ข้อเสนอภาษีนิติบุคคลของ สนช. ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายเดียวกันที่ประกอบธุรกิจในสาขาต่างๆ หลายแห่ง ต้องทำการแยกบัญชีรายได้และรายจ่ายของสาขาแต่ละแห่งแยกออกจากกัน เพื่อเสียภาษีในเขตพื้นที่ที่สาขาตั้งอยู่โดยตรงนั้น โดยขณะนี้ กระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างการปฏิรูปประมวลรัษฎากรทั้งฉบับใหม่ ซึ่งเป็นกฎหมายของกรมสรรพากร พร้อมจะนำข้อเสนอแนะของ สนช.เรื่องต่างๆ มาพิจารณาอีกด้วย

ส่วนแนวคิดการจัดเก็บภาษีจากผลตอบแทนการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เกี่ยวกับความเป็นไปได้และความเหมาะสม และเมื่อได้ข้อสรุปจะเสนอ รมว.คลัง พิจารณาต่อไป


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ