“มวยไทย” เกมกีฬา ปรากฏการณ์เขย่าเศรษฐกิจ ฐานแฟนคลับหญิง ดันแบรนด์ไทย Fairtex-Twins ดังในจีน

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

“มวยไทย” เกมกีฬา ปรากฏการณ์เขย่าเศรษฐกิจ ฐานแฟนคลับหญิง ดันแบรนด์ไทย Fairtex-Twins ดังในจีน

Date Time: 9 ธ.ค. 2567 10:38 น.

Video

วิเคราะห์อนาคต Google เจ้าแห่งเสิร์ชเอนจิน จะอยู่ยังไง ถ้าไม่ได้ผูกขาด | Digital Frontiers

Summary

  • “มวยไทย” กีฬา วัฒนธรรม และ โอกาสทางธุรกิจ ที่มีตลาดใหญ่ ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ปรากฏการณ์ เขย่าเศรษฐกิจในจีน ฐานแฟนคลับหญิง ดันแบรนด์ไทย Fairtex ,Twins สร้างชื่อกระฉ่อน โรงเรียนสอนมวยไทย กระจาย 500 แห่ง ทั่วประเทศ

Latest


ปี 2568 ที่จะถึงนี้ “มวยไทย” เตรียมปรากฏตัวอย่างยิ่งใหญ่ ในประเทศจีน จากการที่จีนจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน World Games  หรือ การแข่งขันกีฬาโลกที่จัดขึ้นระหว่างประเทศ ในกลุ่มกีฬาที่ไม่ได้อยู่ในโอลิมปิก เป็นครั้งแรก 

โดยจะมี “มวยไทย” เป็น 1 ประเภทกีฬาของการแข่งขันร่วมด้วย ภายใต้ 35 ชนิดกีฬา และกว่า 60 ประเภทกีฬาทั่วโลก ซึ่งนี่ถูกมองว่า จะเป็นปรากฎการณ์ที่น่าจับตามอง ของ “มวยไทย” อีกครั้ง 

ที่กำลังสร้างความนิยม และ อิทธิพลอย่างรวดเร็วในจีน เพราะนอกจาก อยู่ในตำแหน่งของเกมกีฬาชื่อดัง สะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยหนึ่งเดียวในโลกแล้ว ยังเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ จนอาจเรียกได้ว่า เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อีกด้วย 

ข้อมูลรายงานของ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเฉิงตู กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของไทย ระบุว่า หากย้อนไป ถึงการแข่งขันระดับนานาชาติ เช่น WBC (Muay Thai China Championship) ที่จัดใน    นครอู่ฮั่น ในปี 2566 

ครั้งนั้น มีผู้เข้าชมสูงถึง 20,000 คนต่อรอบ และมียอดรับชมผ่านสตรีมมิ่งกว่า  1 ล้านครั้ง และยังดึงดูดความสนใจจากแฟนกีฬาทั่วประเทศ โดยกิจกรรมดังกล่าวสร้างรายได้ผ่านการขายตั๋ว สปอนเซอร์ และการถ่ายทอดสด ซึ่งช่วยยกระดับมวยไทยในตลาดจีนอย่างมาก

มวยไทยในจีน โตปีละ 20% 

ขณะปัจจุบัน พบอัตราการเติบโตของมวยไทยในจีน สูงถึง 20 % ต่อปีโดยเฉพาะความนิยม ในกลุ่มเยาวชนที่มีความสนใจในศิลปะการป้องกันตัวที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม

โดยจำนวนผู้สนใจที่ลงเรียนมวยไทยในจีนเพิ่มขึ้น 50% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้

ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจ คือ ความสนใจจากกลุ่มผู้หญิง การเติบโตของฐานแฟนคลับหญิงในจีนสะท้อนจากการจัดเวิร์กช็อปสำหรับผู้หญิงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้หญิงกว่า 30% ที่ฝึกศิลปะป้องกันตัวเลือกมวยไทยเป็นกีฬาหลัก

ส่งต่อโอกาสทางธุรกิจของแบรนด์ไทย โดย พบปัจจุบันทั่วประเทศจีน มีโรงเรียนและยิมมวยไทย เปิดฝึกสอนมาถึง 500 แห่ง ซึ่ง โรงเรียนเหล่านี้สร้างรายได้รวมทั้งหมด 1.2 พันล้านหยวนต่อปี จากกิจกรรม เวิร์กช็อปและการจัดการแข่งขันระดับท้องถิ่นและระดับชาติ และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องอีกด้วย 

เจาะในรายละเอียดของรายงานฉบับนี้ ยังพบว่า อุปกรณ์มวยไทย เช่น นวม กางเกงมวย และเครื่องป้องกันตัว ขึ้นแท่นมีมูลค่าตลาดกว่า 300 ล้านหยวนในช่วงปีที่ผ่านมา และคาดว่าปีนี้จะเติบโตสูงถึง 15% 

ตัวอย่างแบรนด์ไทย ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เช่น Fairtex และ Twins ในหมู่ผู้ฝึกซ้อมในจีน และเริ่มขยายร้านค้าแฟรนไชส์ในเมืองใหญ่

“ มวยไทยในจีนไม่เพียงเป็นโอกาสในการเผยแพร่วัฒนธรรม แต่ยังเป็นพื้นที่การค้าที่มีศักยภาพมหาศาล “ 

นอกจากนี้ รายได้ของความนิยมมวยไทยในจีน ยังมาจาก การจัดอีเวนต์ระดับโลก เมืองอย่างเซี่ยงไฮ้และปักกิ่งกำลังกลายเป็นศูนย์กลางจัดการแข่งขันมวยไทยระดับโลก ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนและการลงทุนจากผู้จัดงานกีฬา โดยการแข่งขันหนึ่งรอบสามารถสร้างรายได้ถึง 50-80 ล้านหยวนผ่านการจำหน่ายตั๋ว การถ่ายทอดสด และสินค้าที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ วิเคราะห์ว่า การท่องเที่ยวเชิงกีฬา การผสมผสานของมวยไทยและการท่องเที่ยว เช่น ค่ายฝึกซ้อมสำหรับชาวต่างชาติในไทย ที่กำลังขยายตลาดไปยังนักท่องเที่ยวจีน มีการเพิ่มแพ็กเกจท่องเที่ยวที่รวมการเรียนมวยไทยในเชียงใหม่และภูเก็ต จะสร้างรายได้เฉลี่ย 500 ล้านหยวนต่อปีจากนักท่องเที่ยวจีนเพียงกลุ่มเดียว

ติดตามข่าวสารด้านการตลาด กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ