ดร.ปรียกร มิมะพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ เดล คาร์เนกี ประเทศไทย กล่าวว่า การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่างๆ ในด้าน Soft Skills ที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในสถาบันชั้นนำระดับโลกในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรและบุคลากร เดล คาร์เนกี มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาทักษะทางสังคม ทักษะในการบริหารจัดการ และ ทักษะที่จำเป็นต่างๆ ที่ช่วยให้คนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิต
โดยการเน้นความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางสังคม กระบวนการคิด และการจัดการทัศนคติของตน เพื่อสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กรและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างยั่งยืน นอกจากการพัฒนาหลักสูตรสำหรับองค์กรแล้ว ยังมุ่งเน้นการนำหลักสูตรมาใช้พัฒนาศักยภาพให้กับบุคคลทั่วไป เพื่อนำความรู้นี้ไปสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับตนเองและสังคม โดยกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาทักษะไปพร้อมกับการพัฒนาความยั่งยืน ซึ่งเป็นเทรนด์สำคัญที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกในปัจจุบัน
เดล คาร์เนกี ประเทศไทย จึงได้กำหนดนโยบายด้าน ESG ในขอบข่ายด้านต่างๆ อาทิ การสนับสนุนโอกาสทางการศึกษา ตามปรัชญาการดำเนินงานที่ว่า เราสร้างคน เพื่อให้พวกเขาไปสร้างสังคมที่ดี Empower People to create value for society ส่งเสริมการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยที่ผ่านมาได้เข้าไปสอนทักษะชีวิตกับน้องๆ ในชุมชนคลองเตย
นอกจากนี้ ยังร่วมส่งเสริมด้านความใส่ใจสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างให้พนักงานมีสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี และการส่งเสริมด้าน DEI ที่สร้างความเข้าใจด้านความหลากหลาย ความเสมอภาค และการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อทะลายกำแพงความแตกต่างและเพิ่มความหลากหลายทางความคิดและการแสดงออกในตัวตนของบุคคล
ในการพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์นั้น ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน เดล คาร์เนกี ได้รับเกียรติจากโรงเรียนพระดาบส ซึ่งเป็นโครงการตามกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา เข้าอบรมคณะครู บุคลากร และนักเรียน กว่า 1,000 คน ให้ได้เรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาทักษะที่จำเป็นโดยผ่านหลักสูตร The Dale Carnegie Course ซึ่งเป็นหลักสูตรที่พัฒนาผู้นำ และบุคคลที่ประสบความสำเร็จมากว่า 100 ปี ด้วยความเชื่อที่ว่า การให้ความรู้และสอนให้เขาจับปลา ยั่งยืนกว่าการให้สิ่งของ เพราะความรู้นี้จะอยู่ติดตัวเขาไป และต่อยอดได้ในอนาคต
นอกจากนี้ เดล คาร์เนกี ยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ ยูเอ็นโกลบอลคอมแพ็ก (UN Global Compact UNGC) โดยมุ่งให้กลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับหลักการสากล 10 ประการ (Ten Principles) ในด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านคอรัปชั่น ซึ่งรวมถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ให้มีความสมดุล ในปี 2567 เดล คาร์เนกี ได้เข้าร่วมโครงการ SI Sustainable Intelligence ที่จัดโดย UNGC เพื่อเป็นหนึ่งในองค์กรที่มีส่วนร่วมในการมอบทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนไทยรวม 100,000 คน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ด้าน ESG
"ปัจจุบัน เดล คาร์เนกี ประเทศไทย ได้ปลูกฝัง mindset ด้านความยั่งยืนให้แก่บุคลากรภายในองค์กร โดยเริ่มจากความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม ขยะ และพลังงาน ที่เริ่มจากเรื่องใกล้ตัว เช่น ลดการเกิดคาร์บอนด้วยการเปลี่ยนจากใช้รถยนต์ส่วนตัวมาใช้บริการขนส่งสาธารณะแทน การเปิดโลกทัศน์ด้านการบริหารจัดการขยะด้วยการนำไปสัมผัสประสบการณ์จริงที่โครงการดอยตุง เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ ดอยตุง โมเดล เพื่อศึกษาด้านการจัดการขยะ พลังงาน และสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ"
หากพิจารณาถึงบทบาทของ เดล คาร์เนกี ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านส่งเสริมความยั่งยืนนั้น ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเนื้อหาหลักสูตรจะมุ่งเน้นการพัฒนาภาวะผู้นำแห่งอนาคต หรือการสร้างวัฒนธรรมที่ยั่งยืน เพื่อให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรตามนโยบาย ESG ให้ประสบความสำเร็จ เพราะงานด้าน ESG จะสำเร็จได้นั้นต้องมีคน เป็นแรงผลักดันที่สำคัญ ดังนั้น การสร้างความรู้ความเข้าใจ และผลักดันให้เกิดการกระทำด้วยความเต็มใจและเห็นประโยชน์สูงสุดของความยั่งยืน ผู้นำต้องชี้นำ เป็นแบบอย่างและสนับสนุนการมีส่วนร่วม เพื่อสานความร่วมมือของบุคลากรทั้งองค์กร ให้สร้างวัฒนธรรมธรรมที่แข็งแรง
ปัจจุบันเทรนด์การพัฒนา Leadership เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการด้าน ESG ในไทย ได้รับการยอมรับและเล็งเห็นความสำคัญว่าเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับองค์กรเพิ่มมากขึ้นจากในอดีตที่จะสร้างผู้นำในส่วนงานต่างๆ โดยทั่วไป แต่ระยะหลังๆ หลายองค์กรได้มีการปรับ core value ให้เน้นความสำคัญด้าน ESG ซึ่งงานในส่วนดังกล่าวก็จะมีหน่วยงานภายในที่ดูแล โดย เดล คาร์เนกี จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะรายบุคคล ผ่านการสร้างสรรค์หลักสูตรที่ส่งเสริมทักษะเพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายด้าน ESG อย่างมีประสิทธิภาพ
ดร.ปรียกร ชี้ให้เห็นถึงงานวิจัยของ เดล คาร์เนกี ในการมีส่วนร่วมพัฒนาความยั่งยืนว่า การพัฒนาองค์กรในอนาคตที่สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจและของโลก ผู้นำต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาคนโดยเฉพาะระดับหัวหน้างานขึ้นไปที่ต้องบริหารทีม การพัฒนากระบวนการภายในที่ตอบรับกับความยั่งยืน การกำหนดตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับเป้าหมายในระยะยาว และการสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัยทางจิตใจเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่ง และเติบโตได้อย่างยั่งยืน
บริษัท เอ็มเอ็มพี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ภายใต้ ผู้นำมากความสามารถ นายเอนก จงเสถียร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ในฐานะผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายฟิล์มพันสินค้าและบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีไลน์การผลิตครบวงจร ตลอดระยะเวลา 36 ปี เอ็มเอ็มพีฯ มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า ผู้ประกอบการทั้งในประเทศ ต่างประเทศ และระบบขนส่งสินค้า ในการผลิตนวัตกรรมฟิล์มยืดพันสินค้า ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน
ล่าสุดเอ็มเอ็มพีฯ พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมใหม่ ฟิล์มยืดพันสินค้า ภายใต้แบรนด์ M Stretch หรือ เอ็ม เสตรช ที่มีส่วนผสมของเม็ดพลาสติกรีไซเคิล (Post - Consumer - Recycled resin : PCR) มากถึง 30% ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในตลาดตอนนี้ ตอบโจทย์ Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียนในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ซึ่งการผลิตฟิล์มยืดจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล PCR นั้น ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และความชำนาญในการผลิตสูง เพื่อที่จะสามารถผลิตฟิล์มยืดจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลให้มีคุณภาพเทียบเคียงกับฟิล์มยืดที่ผลิตมาจากเม็ดพลาสติกใหม่ได้สำเร็จ อีกทั้งยังคงคุณสมบัติที่ดีของฟิล์มยืดพันสินค้า
อาทิ ความใส ความแข็งแรง ความเหนียว ความยืดหยุ่น และการยึดเกาะสินค้า ให้สามารถขนส่งได้อย่างปลอดภัย ซึ่งมีทั้งแบบพันด้วยมือ และพันด้วยเครื่องจักร ตอบโจทย์ผู้ประกอบการทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในประเทศ และภาคการส่งออก พร้อมชูไทยเป็นต้นแบบ เพื่อวางแผนขยายการใช้งานฟิล์มพันสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ โดยที่ผู้ประกอบการสามารถควบคุมต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย แถมยังตั้งเป้าในการช่วยลดขยะพลาสติกได้มากกว่า 100 ตันต่อปีอีกด้วย
นายณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์ Head of Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ด้วยจุดเด่นของการให้บริการทางการเงินภายใต้โมเดลธุรกิจ Open Architecture ทำให้ธนาคารทิสโก้สามารถคัดเลือกผลิตภัณฑ์การเงินที่ดี (Good products) จาก 8 บริษัทประกันชั้นนำมาตอบโจทย์ความต้องการให้กับลูกค้าได้อย่างเต็มที่
โดยในส่วนของการคัดเลือกประกันสุขภาพโรคร้ายแรงซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการปกป้องความมั่งคั่งนั้น ธนาคารทิสโก้แนะนำ ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง TISCO CI Extra Care จาก บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หนึ่งในพันธมิตรด้านผลิตภัณฑ์ประกันของธนาคารทิสโก้ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ธนาคารทิสโก้ได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนากับบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต เพื่อให้ลูกค้าได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่าอีกด้วย
บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความจำเป็นในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบหลังน้ำลดอย่างเร่งด่วน จึงได้จัดทำโครงกา TOA ไม่ทิ้งกัน สู้ภัยน้ำท่วม 2567 นำพนักงานทีโอเอจิตอาสาในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ลงพื้นที่ร่วมกับเทศบาลตำบลห้วยไคร้ เทศบาลตำบลเวียงพางคำ และองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง อำเภอแม่สาย ระดมมอบถุงยังชีพ ข้าวสาร อาหารแห้ง นม น้ำดื่ม และของใช้จำเป็นอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก อาทิ ชุมชนบ้านปางห้า ต.เกาะช้าง ชุมชนวัดถ้ำผาจม ต.เวียงพางคำ ชุมชนเหมืองแดง ต.แม่สาย ชุมชนบ้านสันยาว ต.ห้วยไคร้อีกด้วย