สมาคมธุรกิจร้านอาหาร แนะวิธีอยู่รอดจากปัจจัยลบรอบตัว

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

สมาคมธุรกิจร้านอาหาร แนะวิธีอยู่รอดจากปัจจัยลบรอบตัว

Date Time: 3 ส.ค. 2567 05:02 น.

Summary

  • หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อธุรกิจร้านอาหารคือ ต้นทุนค่าแรง กับค่าแรงขั้นต่ำที่จ่อขึ้นวันละ 400 บาท เดือน ต.ค. ที่จะถึงนี้ ซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มภาระทางการเงิน แต่ยังบีบให้หลายร้านต้องพิจารณาปรับลดจำนวนพนักงาน

Latest

อัปเดต 5 กลยุทธ์ขายของ พิชิตใจคน Gen Z อยากรักษ์โลก แต่ของมันต้องมี แบรนด์รับมืออย่างไร?

ในยุคที่ธุรกิจร้านอาหารไทยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและท้าทายอย่างไม่หยุดยั้ง การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันกลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่ต้องจัดการกับปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ยังต้องเผชิญกับปัญหาภายในที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผล ประกอบการและความยั่งยืนของธุรกิจ

หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อธุรกิจร้านอาหารคือ ต้นทุนค่าแรง กับค่าแรงขั้นต่ำที่จ่อขึ้นวันละ 400 บาท เดือน ต.ค. ที่จะถึงนี้ ซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มภาระทางการเงิน แต่ยังบีบให้หลายร้านต้องพิจารณาปรับลดจำนวนพนักงานหรือเพิ่มราคาสินค้าและบริการ เพื่อรักษาสถานะทางการเงิน

รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นไปล่วงหน้าก่อนค่าแรงเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ค่าไฟ ค่าแก๊สที่จ่อคิวต่อไปล้วนแต่ยังเป็นภาระหนักที่ผู้ประกอบการ ต้องแบกรับ ที่สำคัญกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ซบเซา ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อธุรกิจร้านอาหาร

นางลัดดา สำเภาทอง ทางสมาคมธุรกิจร้านอาหารได้อัปเดตข้อมูลของธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยว่า ภาพรวมของธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มไทยในปีนี้ มีการคาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตในอัตรา 5-7% ต่อปี มูลค่ารวมสูงถึง 6.69 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยสถิติ ปี 66 มีมูลค่าแตะที่ 6.48 ล้านบาท

เนื่องจากโมเมนตัมของนักท่องเที่ยวต่างชาติมีการเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงจากฐานสูงของปีก่อนหน้า โดยที่อัตราการเติบโตในปี 2567-2569 คาดว่าจะเติบโต 4-5% ต่อปี หรือประมาณ 2.75 แสนล้านบาท-3 แสนล้านบาท

ปัจจุบันมีร้านอาหารทั่วประเทศประมาณ 6.8-7 แสนร้าน แพลตฟอร์มบริการจัดส่งอาหารมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจร้านอาหารยังคงดำเนินต่อไปได้ท่ามกลางวิกฤติ ซึ่งช่วยให้การบริโภคเปลี่ยนแปลงและขยายพื้นที่บริการได้ มีการสนับสนุนด้านซอฟต์พาวเวอร์อาหาร เช่น การใช้มาสคอตและการตลาด เช่น ลาบูบู้และน้องหมีเนย ยังช่วยกระตุ้นการ ท่องเที่ยวและการใช้จ่ายในธุรกิจต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ ร้านอาหารเผชิญกับปัจจัยลบหลายประการ เช่น การชะลอการจับจ่ายของผู้บริโภค ต้นทุนอาหารที่เพิ่มขึ้น 100-300% การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น และการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงการที่ผู้บริโภคเลือกร้านอาหารผ่านรีวิวในโซเชียลมีเดีย

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ร้านอาหารรายย่อยมีการปิดตัวลงกว่า 40% และคาดว่าหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ อาจมีการปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง 50% ภายในปีนี้ สาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจซบเซา การหดตัวของกำลังซื้อ และต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น สาเหตุมาจากกำลังซื้อของประชาชนในประเทศหดตัวลงกว่า 60% หนี้ครัวเรือนที่ส่งผลให้ประชาชนรัดเข็มขัดแน่นขึ้น รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบ ทั้งผักสด ค่าไฟ ค่าขนส่ง

อย่างไรก็ตาม โครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่รัฐบาลเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2567 มองว่าน่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง แต่เงื่อนไขมีเยอะมาก ทำให้ร้านค้าจำนวนมากไม่กล้าเข้าร่วมโครงการ เพราะเกรงว่าจะโดนเก็บภาษีย้อนหลัง

นางลัดดากล่าวว่า กลยุทธ์การอยู่รอดของร้านอาหารรวมถึงการสร้างจุดเด่นที่แตกต่าง เช่น ประเภทอาหาร บรรยากาศ การบริการ หรือราคา ต้องติดตามเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค การปรับตัวตามความต้องการของลูกค้า สร้างประสบการณ์ที่ดี ใช้เทคโนโลยี และทำการตลาดอย่างมีประสิทธิ ภาพ เพื่อดึงดูดลูกค้า และสร้างแบรนด์

สมาคมธุรกิจร้านอาหารที่ก่อตั้งในปี 2559 มีร้านอาหารสมาชิกประมาณ 50,000 ราย มีภารกิจในการสนับสนุนสมาชิก แก้ไขปัญหา และเจรจาตกลงเพื่อประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงการช่วยลดต้นทุนการผลิตอาหาร และติดตามความเคลื่อนไหวของตลาด

สำหรับกิจกรรมสนับสนุนในปี 2567 รวมถึงการทำสัมมนาร้านอาหารใน 5 ภูมิภาค การเชื่อมโยงกับซัพพลายเชน เช่น วัตถุดิบและอุปกรณ์รายสำคัญ เพื่อให้ร้านอาหารสามารถสร้างความได้เปรียบในแง่ต้นทุนวัตถุดิบ และโครงการ Thai Touch (You Can Trust) ที่มุ่งส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอี

รวมถึงการจัดทริปเพื่อเปิดโอกาสในการขยายตลาดและจับคู่ธุรกิจทั้งในประเทศจีน และกลุ่มประเทศ CLMV รวมถึงแผนการช่วยดันยอดขายในช่วงพีกของปี และแผนการอื่นๆในการช่วยดันยอดขายให้กับร้านอาหาร ซึ่งเป็นเทศกาลการดื่มเลี้ยงฉลอง เพื่อให้เก็บเกี่ยวโอกาสได้สูงสุดอีกด้วย.


วานิชหนุ่ม
wanich@thairath.co.th

คลิกอ่านคอลัมน์ “ตลาดนัดหัวเขียว” เพิ่มเติม


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ