AKA (อากะ) ผู้ชนะในศึกปิ้งย่าง เซ็น กรุ๊ป ลุย เปิดสาขาใหม่-ออกแคมเปญเพิ่ม ต่อยอดมะนาวช็อตไวรัล

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

AKA (อากะ) ผู้ชนะในศึกปิ้งย่าง เซ็น กรุ๊ป ลุย เปิดสาขาใหม่-ออกแคมเปญเพิ่ม ต่อยอดมะนาวช็อตไวรัล

Date Time: 28 ธ.ค. 2566 16:48 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • เซ็น กรุ๊ป (ZEN) หรือ บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นับเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นรายใหญ่ ของวงการธุรกิจร้านอาหารที่โลดแล่นอยู่ในตลาดมากว่า 30 ปี โดยเริ่มต้นจากร้านอาหารญี่ปุ่น เซ็น เรสเตอร์รอง (ZEN Restaurant) ที่เรียกว่าเป็นธุรกิจ Full Restaurant จากนั้นก็ได้ขยับขยายเพิ่มแบรนด์ใหม่ๆ ที่ไม่ใช่อาหารญี่ปุ่นในพอร์ต ให้มีความหลากหลายมากขึ้น

Latest


โดยร้านอาหารในพอร์ตของกลุ่ม เซ็น ไม่ว่าจะเป็น On the Table, ตำมั่ว, ลาวญวน, Tetsu, เขียง, Din’s แต่ที่เห็นจะเป็นดาวเด่นที่สุดของกลุ่ม เซ็น ก็คงจะเป็น “AKA (อากะ)” ร้านบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่นปิ้งย่างสไตล์ยากินิคุ ด้วยการขยายสาขาเร็วสุด เยอะสุด และไม่ว่าจะออกแคมเปญอะไรมา AKA ก็มักจะได้รับผลตอบรับที่ดีเสมอมา อย่างที่เราเห็นกัน “AKA Long Shot” มะนาวลองช็อต ที่คนแห่กันไปทาน และรีวิวลงโซเชียล ทำให้เกิดเป็นกระแสไวรัล ดันยอดขายพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลานั้นๆ 

AKA (อากะ) ดาวเด่นแห่งเซ็น กรุ๊ป

ทั้งนี้ AKA (อากะ) YAKINIKU ร้านปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่น ดำเนินกิจการโดย บริษัท อากะอินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด ในเครือของบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ภายใต้สโลแกน PASSION FOR GRILL เริ่มกิจการในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550 สาขาแรกตั้งอยู่ที่ ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลเวิลด์ โดยชื่อของร้าน “อากะ” มีที่มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า “สีแดง” ซึ่งให้ความรู้สึกร้อนแรง และเป็นสัญลักษณ์ของเปลวไฟจากเตาถ่านที่ใช้การปิ้ง-ย่างอาหาร มีต้นแบบ มาจากแดนอาทิตย์อุทัย แต่ได้มีการปรับรสชาติให้เข้มข้นขึ้นตามรสนิยมของคนไทย จึงไม่น่าแปลกใจที่ทำไมใครๆ ต่างพูดถึง “AKA (อากะ)” กันอย่างหนาหู

ปัจจุบัน AKA (อากะ) มีทั้งหมด 53 สาขา และแฟรนไชส์ในประเทศ 1 สาขา ซึ่งการที่ AKA (อากะ) กลายเป็นแบรนด์ “เบอร์หนึ่ง” ในพอร์ตของเซ็น กรุ๊ป ที่ขยายสาขาเร็วสุด เยอะสุด ด้วยเหตุผลเนื่องจากในปี 66 บริษัทได้มีการวางแผนขยายสาขาของทุกแบรนด์ในเครือ โดยใช้ Growth Strategy เปิดสาขาบนพื้นที่ใหม่ๆ มุ่งเน้นการขยายไปที่น่านน้ำใหม่ เช่น ในพื้นที่ต่างจังหวัด เมืองหลักและเมืองรองที่บริษัทไม่เคยไป 

โดยทางบริษัทตั้งเป้า AKA (อากะ) เป็น “แบรนด์เรือธง” ที่จะขยายสาขาให้ได้มากที่สุด และสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้อย่างแน่นอน ด้วยเป็นประเภทอาหารที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ง่าย ทั้งเรื่องราคา, วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ มีความหลากหลาย รวมทั้งมีหลากหลายโมเดลที่สามารถปรับให้เข้าถึงและเหมาะสมกับจังหวัด หรือ ชุมชนในบริเวณนั้นๆ ทางแบรนด์ AKA (อากะ) ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน 

ทั้งนี้ยังได้มีการตั้งเป้าว่าอีก 5 ปี ข้างหน้า จะเติบโตขึ้น และขยายสาขาเร็วขึ้นอีกมากกว่า 100 สาขา ซึ่งในปี 66 นี้ได้ขยายสาขาใหม่ 15 สาขา โดยปัจจุบันที่มีอยู่คือ 53 สาขาที่ทางบริษัทเป็นเจ้าของ และแฟรนไชส์อีก 1 สาขานั่นเอง

“มะนาวช็อต” แคมเปญทอง ดันยอดขายพุ่ง

ส่วนแคมเปญล่าสุดของแบรนด์ AKA (อากะ) ที่ประสบความสำเร็จในปี 2566 เลยคือ แคมเปญครบรอบ 16 ปี  ‘ความจุกที่ยืดยาว’ ต่อยอดมะนาวช็อต ตบท้ายมื้อปิ้งย่าง สู่ Product Killer ‘AKA LONG SHOT’ ดึงลูกค้าเข้าร้าน ทำให้ยอดขายพุ่งขึ้นกว่า 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเมื่อจบแคมเปญ ตอกย้ำความสำเร็จของกลยุทธ์การตลาดที่เกิดจากเสียงของผู้บริโภค (Voice of Customer) ซึ่งได้รับการยอมรับในวงกว้างอย่างล้นหลาม และยังสามารถสร้าง Earned Media มูลค่าสูงกว่า 500 ล้านบาท ได้แบบถล่มทลายทั่วโซเชียลโดย Real Consumer 

หากจะให้เล่าโดยละเอียด “มะนาวช็อต” มีที่มาที่ไปจากการที่แบรนด์ AKA (อากะ) ทำ Research กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นแฟนตัวยงผลสำรวจพบว่า กลุ่มลูกค้ามีความเชื่อมั่นในคุณภาพวัตถุดิบ และชื่นชอบเมนูในร้านที่หลากหลาย ทั้งพอร์คชอปซอสอากะ, หมูสามชั้นซอสสไปซี่โกชูจัง, เบคอนเนื้อ AUS, กุ้งแม่น้ำ, เนื้อฮิระนิกุ และเมนูอื่นๆ แต่ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจทั้ง 100% ของกลุ่มลูกค้า ยกให้มะนาวช็อตเป็นเมนู Killer Item ที่ต้องสั่งหลังจบมื้อทุกครั้ง 

ผนวกกับการทำ Consumer Observation ในกลุ่มคนรักบุฟเฟ่ต์ และการใช้ Social Listening Tools ก็ได้รับเสียงเรียกร้องจากผู้บริโภคที่อยากให้แบรนด์อากะขาย “มะนาวช็อต” และ “ขยายไซส์ให้ใหญ่” สะใจกว่าเดิมด้วย

ทั้งหมดนี้ได้ต่อยอดสู่ Product ‘AKA Long Shot’ มะนาวลองช็อต จุกสะใจ ซึ่งลูกค้าก็มีส่วนร่วมในการพัฒนาไปพร้อมกับแบรนด์ด้วย โดยยังคงมี Brand Essence ที่ชูคาแรกเตอร์ของแบรนด์ได้อย่างชัดเจน เต็มไปด้วยความสนุก และความครีเอทีฟ ผ่านการดีไซน์แพคเกจจิ้งที่มีรูปลักษณ์ที่ใครเห็นต้องสตั๊น แถมยังสามารถแก้ไข Pain Point ให้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ จนสามารถสร้าง Engagement ได้ทั้ง Online ที่มีการพูดถึงแบบถล่มทลายบนโซเชียล และ Offline ดึงลูกค้าเข้าร้าน กระตุ้นยอดขายได้แบบพุ่งทะยาน เกินเป้าที่คาดหวังไว้เลยทีเดียว

ส่วนใหญ่สายปิ้งย่างนิยมสั่งเป็น Premium Buffet มากกว่า 40%

ขณะที่ยอดใช้จ่ายต่อบิล ต่อครั้งมากกว่า 1,300 บาท ส่วนจำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการต่อวัน รวมทุกสาขามากกว่า 2,600 คน/วัน, Peak date มากกว่า 4,300 คน/วัน โดยที่ส่วนใหญ่คนที่ทาน AKA (อากะ) นิยมสั่งเป็น Premium Buffet มากกว่า 40%

ดังนั้นในปี 2566 นี้เราจะเห็นได้ว่า “AKA (อากะ)” ประสบความสำเร็จอย่างมาก ด้วยรสชาติที่ถูกปากคนไทย บวกกับวัตถุดิบคุณภาพ และโลเคชั่นเข้าถึงได้ง่าย นั่นจึงทำให้ทั้งชาวไทย และต่างชาติ ต่างไปลิ้มลอง และฝากท้องกับอากะกันอย่างไม่ขาดสาย สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่า ผู้บริโภคยุคใหม่มีพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยที่เน้นเรื่องความคุ้มค่าเป็นหลัก 

ดังนั้นในช่วงปลายปี 2566  จึงเป็นโอกาสของแบรนด์ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจจากการเฉลิมฉลองของกลุ่มลูกค้า ขณะเดียวกันร้านอาหารทุกประเภทก็แข่งขันกันอย่างดุเดือด ตลาดจึงมีความคึกคัก ดังนั้นแต่ละแบรนด์จึงต้องสร้างจุดแข็งของสินค้า เพื่อให้น่าดึงดูดกับผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด จึงไม่แน่ว่าในปี 2567 เราอาจจะได้เห็นสาขาของ AKA (อากะ) เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโลเคชั่นตามศูนย์การค้าเครือ CPN หรือการขยายออกไปตามหัวเมือง, ไฮเปอร์มาร์เก็ต อย่าง โรบินสัน โลตัส และซีคอน ฯลฯ  

เนื่องจากเป็นกลยุทธ์การตลาดของทุกแบรนด์ในเครือเซ็น กรุ๊ป และอาจจะมีแคมเปญใหม่ๆ มาให้ “สาวกปิ้งย่าง” ได้จอยกันอีกเป็นแน่ 

สุดท้ายนี้จากข้อมูลพบว่านับตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม 2566 (อัปเดตข้อมูลเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566) โดยเซ็น กรุ๊ป ได้เปิดร้านอาหารใหม่รวมทั้งหมด 55 สาขา แบ่งเป็นสาขาที่บริษัทเป็นเจ้าของ 35 สาขา สาขาแฟรนไชส์ในประเทศ 15 สาขา และสาขาแฟรนไชส์ต่างประเทศ 5 สาขา โดยในจำนวนนี้ก็มี AKA (อากะ) รวมอยู่ด้วยนั่นเอง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ