EEC คึกคัก ธุรกิจฟื้น ดันคลังสินค้าอัจฉริยะไทย โต 10-15% รับเทรนด์ดิสรัปต์ซัพพลายเชน

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

    EEC คึกคัก ธุรกิจฟื้น ดันคลังสินค้าอัจฉริยะไทย โต 10-15% รับเทรนด์ดิสรัปต์ซัพพลายเชน

    Date Time: 12 ต.ค. 2566 07:24 น.

    Video

    ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

    Summary

    • ธุรกิจฟื้นตัว EEC ทุ่มหนัก ดีมานด์พุ่ง ปลุกโลจิสติกส์คึกคัก ดันตลาดอินทราโลจิสติกส์ไทยโต 10-15% สมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย แนะผู้ประกอบการเร่งหาทางเลือกสู่ทางรอด ลงทุนด้านเทคโนโลยีโลจิสติกส์ ระบบคลังสินค้า

    Latest


    จากข้อมูลของสมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย ระบุว่า ภาพรวมการลงทุนในอุตสาหกรรมคลังสินค้าอัจฉริยะ หรือ อินทราโลจิสติกส์ ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องตามสภาวะการลงทุนของประเทศไทย และการเพิ่มขึ้นของดีมานด์ในตลาด โดยคาดว่าในปีนี้จะขยายตัวราว 10-15% เทียบกับช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 8,000 ล้านบาท คาดเงินสะพัด 1,000-1,200 ล้านบาท

    ส่วนในปี 2565 ที่ผ่านมามีมูลค่าสูงถึง 6,000-8,000 ล้านบาท เติบโตจากปี 2564 ประมาณ 5-8% ด้วยแรงหนุนจากเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว บวกกับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีความคืบหน้ามากขึ้น จึงมีการลงทุนทางด้านอินทราโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง 

    ทั้งนี้ ระบบการจัดระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ หรือ อินทราโลจิสติกส์ มีบทบาทสำคัญในการขนส่งวัสดุภายในโรงงาน ศูนย์กระจายสินค้า บริการพัสดุ โกดังสินค้า โดยระบบเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ ความยั่งยืน ลดต้นทุน และการดำเนินงานต่างๆของผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี 

    สราวุธ เล้าประเสริฐ  อุปนายกสมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ทำให้ภาคการผลิตต้องตื่นตัว ขยับขยาย และหันมาโฟกัสอินทราโลจิสติกส์มากขึ้นมาจากทั้งปัจจัยภายในประเทศ และต่างประเทศ เนื่องจากอินทราโลจิสติกส์ถือเป็นส่วนหนึ่งของฟันเฟืองของภาคอุตสาหกรรมไทยและทั่วโลก ฉะนั้นในระยะสั้นและระยะยาวก็จะมีผลในการทำให้ผู้ประกอบการต้องหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น อาทิ ภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด ค่าพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น สงครามยูเครน ความตึงเครียดในจีน และล่าสุดคือสงครามอิสราเอล รวมทั้งปัญหาซัพพลายเชนในอดีตที่ผ่านมา 

    ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องหาทางปรับตัวมากขึ้น เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในแง่ซัพพลายโลจิสติกส์ ทั้งหมดนี้ถือเป็นปัจจัยภายนอกที่ทำให้ผู้ประกอบการมองเห็นความสำคัญในการลงทุนด้านอินทราโลจิสติกส์เพื่อให้กระบวนการซัพพลายเชนมีความคล่องตัวและสามารถแข่งขันในตลาดได้

    ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศ ด้วยความที่อินทราโลจิสติกส์เป็นเซกเตอร์ที่มีแรงงานเกี่ยวข้องเยอะมาก และไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย ฉะนั้นแรงงานในภาคส่วนนี้จะหายาก เนื่องจากต้องอาศัยสกิล ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องสร้างขึ้นมา และหาเทคโนโลยีมาช่วย จึงเป็นเหตุผลให้ต้องมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม  นับเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยี 

    เอกชน ลงทุนด้านอินทราโลจิสติกส์ราว 10-15% ของงบลงทุนทั้งหมด

    “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยธุรกิจ SMEs หรือกิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าขนาดใหญ่ ดังนั้นเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีการเติบโตขึ้น “คลังสินค้า” จึงถือเป็นหนึ่งในการพัฒนาที่จำเป็นในการยกระดับมาตรฐานธุรกิจให้เทียบเท่าระดับสากล ทั้งนี้ระบบอินทราโลจิสติกส์ไทย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งไทยเป็นคน Import โดยระบบอินทราโลจิสติกส์ไทยอยู่ในอันดับ 30-35 ของโลก ขณะที่อันดับ 1 คือ สิงคโปร์ ตามมาด้วย อังกฤษ เยอรมัน ตามลำดับ ขณะเดียวกันในส่วนของงบการลงทุนของแต่ละธุรกิจในด้านอินทราโลจิสติกส์นั้นจะอยู่ราวๆ 10-15% ของงบการลงทุนทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 10-20 ล้านบาทต่อโครงการโดยเฉลี่ย”  สราวุธ กล่าว

    ทั้งนี้ทางด้านของรัฐบาลไทย ก็ได้มีมาตรการพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ เพื่อยกระดับการจัดการคลังสินค้าไทยสู่มาตรฐานระดับสากล เพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการไทย รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียนในอนาคตด้วยเช่นกัน

    ซึ่งในครั้งนี้ Euro Expo, Expolink Global Network, Messe Stuttgart รวมถึง สมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย (TIA) ได้เดินหน้าจัดงาน LogiMAT | Intelligence Warehouse 2023 ที่จะเป็นตัวกลางสำคัญในการเพิ่มพูนความรู้กับผู้ประกอบการไทย ในอุตสาหกรรมอินทราโลจิสติกส์ และจะสามารถสร้างเครือข่ายการค้าผ่านการเจรจาธุรกิจได้ด้วยเช่นกัน ผ่านการรวมตัวกันของบริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำจากหลายประเทศ เพื่อแสดงถึงความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ระหว่างประเทศในอนาคต อาทิ คลังสินค้าเสมือนจริง การสาธิตการทำงานของเทคโนโลยีรถยกระดับโลก รวมถึงกิจกรรมใหม่ที่เพิ่มเข้ามาเป็นปีแรก อย่างเทคโนโลยี Cold Chain 


    Author

    กองบรรณาธิการ

    กองบรรณาธิการ