หม่าล่า รสชาติเผ็ดชา ซอฟต์พาวเวอร์จากจีน ตลาดใหญ่แค่ไหนในไทย?

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

หม่าล่า รสชาติเผ็ดชา ซอฟต์พาวเวอร์จากจีน ตลาดใหญ่แค่ไหนในไทย?

Date Time: 1 ต.ค. 2566 10:00 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • ซุปต้าเจิ้งหม่าล่า, บะหมี่ไต้หวันซุปหม่าล่า, พิซซ่าหน้าหม่าล่า, เลย์รสหม่าล่าบาร์บีคิว, ซูชิหม่าล่า, ข้าวกล่องหน้าหมูสไลด์ซอสหม่าล่า, ไก่ทอดหม่าล่า, ขนมไหว้พระจันทร์รสชาติหม่าล่า เมนูเหล่านี้คือส่วนหนึ่งที่บรรดาแบรนด์ต่างๆ จับกระแส “หม่าล่า” ฟีเวอร์ นำเครื่องเทศรสเด็ดเผ็ดชาจากจีน มารังสรรค์เป็นเมนูต่างๆ เพื่อขานรับกับความนิยมของผู้บริโภคที่ไทยที่ดูเหมือนกับว่าจะเทใจให้วัฒนธรรมอาหารจากจีนกันอย่างไม่ขาดสาย

Latest


ด้วยรสชาติที่มีลักษณะเฉพาะตัว ประกอบกับคนไทยชอบทานรสเผ็ดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และที่สำคัญแบรนด์ต่างๆ ในไทยฟัง “เสียงผู้บริโภค” ในโลกสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียอย่างใกล้ชิด จึงไม่แปลกใจที่ บรรดาร้านหม่าล่าหม้อไฟ และหม่าล่าสายพาน จึงกลายเป็นเมนูยอดนิยมของเหล่าหม่าล่าเลิฟเวอร์

หม่าล่า รสชาติเผ็ดชา ที่คนคลั่งไคล้ ตลาดใหญ่แค่ไหนในไทย?

คำว่า ‘หม่าล่า’ หรือ ‘หมาล่า’ มาจาก má là ในภาษาจีน หม่า หมายถึง อาการชาที่ปลายลิ้น และล่า หมายถึง รสเผ็ด โดยถือเป็นรสชาติเฉพาะของอาหารจีนในมณฑลเสฉวน ซึ่งความรู้สึกเผ็ดชานี้มาจากเครื่องเทศ “ฮวาเจียว” (花椒) พริกไทยเสฉวน หรือ Sichuan Pepper 

ส่วนหม่าล่าในไทย ส่วนใหญ่จะเป็นแบบปิ้งย่าง และชาบู หม้อไฟ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นประเภทหม่าล่าก็จะมีแตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น ชาบูหม้อไฟ เสียบไม้ต้ม เสียบไม้ย่าง ผัดแห้ง และชาบูสายพาน ก็ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากยิ่งขึ้น

ด้วยกระแสความนิยมอาหารจีนในประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสนใจอาหารจีนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเมนู “หม่าล่า” จึงทำให้บรรดาแบรนด์น้อยใหญ่ต่างเร่งฝีเท้าเข้ามาแย่งชิงสัดส่วนเค้กก้อนนี้

โดยในอดีตร้านอาหารจีนส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเชน แต่เป็นกลุ่ม independence ช่วงที่ผ่านมามีเชนร้านอาหารใหญ่ในเมืองไทยเปิดร้านอาหารจีนค่อนข้างเยอะเช่นเดียวกัน อาทิ “ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป” (Minor Food Group) หนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร เปิดตัวร้าน “ริเวอร์ไซด์ กริลล์ ฟิช แอนด์ หม่าล่า” (Riverside Grilled Fish & Mala) ร้านอาหารจีนสไตล์ฉงชิ่ง-เสฉวน ชื่อดังที่มีสาขารวม 149 สาขา ทั้งในจีน และสิงคโปร์  

ส่วนเทรนด์การกินหม่าล่าในไทยเริ่มต้นเมื่อไรไม่มีใครรู้แน่ชัด แต่เห็นได้จากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เชนร้านหม้อไฟอันดับ 1 อย่าง “ไหตี่เลา” ที่เข้ามาเปิดตลาดหม่าล่าหม้อไฟในไทยจนได้รับกระแสตอบรับดีเกินคาด มีคนรอต่อคิวกันยาวจนแน่นร้าน ต่อมาก็มีร้านอื่นๆ เปิดตัวตามมากันอย่างหนาแน่น ทำให้ฐานแฟนคลับหม่าล่าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่มูลค่าตลาดร้านอาหารจีนในไทยมีแนวโน้มเติบโต โดยมีมูลค่าตลาดราว 5,000-6,000 ล้านบาท ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงการคลังระบุว่า ตั้งแต่ปี 2558 ไทย มีมูลค่าการนำเข้าเครื่องเทศจากจีนมากเป็นอันดับหนึ่งถึง 1.5 ล้านล้านบาท จากมูลค่านำเข้าเครื่องเทศทั้งหมด 6.9 ล้านล้านบาท 

ตัวอย่างแบรนด์หม่าล่าชื่อดังในไทย 

ไม่ว่าจะเป็น Haidilao (ไหตี่เลา) ร้านหม้อไฟหม่าล่าชื่อดังจากจีน รสชาติน้ำซุปเข้มข้น โดยสาขาแรกเปิดที่เซ็นทรัลเวิลด์, Shu Daxia สู่ต้าเสีย ร้านหม้อไฟหม่าล่าจากเฉิงตู มณฑลเสฉวน ที่โดดเด่นเรื่องการตกแต่งร้าน โดยมีสาขาในจีนมากกว่า 600 แห่ง

หรือแม้กระทั่ง CQK MALA Hotpot ร้านหม่าล่าหม้อไฟสูตรต้นตำรับแท้ๆ จากเมืองฉงชิ่งขวัญใจคนรุ่นใหม่, Le Hot Chinese Hotpot หม้อไฟหม่าล่าสไตล์เสฉวน, หลิวอี้โส่ว หม่าล่าหม้อไฟ ร้านดังที่มีสาขาเกือบทั่วโลก น้ำซุป 5 รสชาติต้นตำหรับแท้ๆ จากเมืองจีน, ฉงชิ่ง เกาเก้า หม้อไฟรสชาติจัดจ้านย่านรัชดาภิเษก ที่ตกแต่งร้านด้วยสไตล์จีนโบราณ, Xiao long kan หม่าล่าหม้อไฟต้นตำรับจีนแท้ๆ หอมกลิ่นเครื่องเทศจากจีน, ตระกูลเฉิน (หม่าล่าทอด) หม่าล่าทอดตระกูลเฉินที่แรกในไทย แปลกใหม่ไม่ซ้ำใครด้วยเครื่องเทศกว่า 10 ชนิด

อีกทั้ง สุกี้จินดา ร้านสุกี้สายพานเจ้าแรกในไทย และมีชาบูเสียบไม้ด้วยเช่นกัน รวมทั้งแบรนด์น้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวอย่าง XIXI MALA หม้อไฟหม่าล่าไร้น้ำมันเจ้าแรกในไทย ร้านหม่าล่าน้องใหม่จาก CQK

หม่าล่า? “กระแสฉาบฉวย” หรือ “ยั่งยืน” 

ซึ่งแน่นอนว่า “หม่าล่า” หรืออาหารจีน ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ จะสามารถสร้างอิมแพ็กให้กับผู้ประกอบการที่เห็นโอกาส และสบช่องคว้าเส้นทางรวยกันเป็นจำนวนมากได้มากน้อยแค่ไหน เพราะมีคำถามที่สะท้อนกลับมาว่า ในอนาคตร้านหม่าล่าเหล่านี้? จะล้นเมือง หรือจะแย่งลูกค้ากันหรือไม่ 

เหมือนกับบรรดาร้านชาไข่มุก หรือบิงซู ที่เคยเกิดกระแสฟีเวอร์ และผุดขึ้นกันเป็นดอกเห็ดจำนวนมาก แต่ระยะหลังๆ ก็มีทั้งผู้ที่อยู่รอด และอีกฝั่งคือจับมือปิดตัวไปตามๆ กัน 

ซึ่งจากการที่ได้มีการวิเคราะห์ Insight รวบรวมผ่าน DXT360 แพลตฟอร์มติดตามข่าวสารและเสียงของผู้บริโภค (Social Listening) ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด (dataxet:infoquest) โดยเก็บข้อมูลระหว่าง 31 ส.ค.-11 ก.ย. 66 ที่มีการพูดถึง “หม่าล่า” พบว่า สังคมออนไลน์ หรือ โซเชียลมีเดียมีการพูดถึงหม่าล่ามากถึง 3,697 ข้อความ และมี Engagement ทั้งหมดจำนวน 315,561 ครั้ง โดยแบ่งเป็น

• Twitter มีการพูดถึง 2,691 ข้อความ มีจำนวน Engagement 4,875 ครั้ง
• Facebook มีการพูดถึง 455 ข้อความ มีจำนวน Engagement 175,225 ครั้ง
• Instagram มีการพูดถึง 281 ข้อความ มีจำนวน Engagement 95,804 ครั้ง
• YouTube มีการพูดถึง 270 ข้อความ มีจำนวน Engagement 39,657 ครั้ง

และถ้าพูดถึงประเภทอาหารที่ทุกคนต้องนึกถึง เรียกได้ว่าไม่สามารถขาดคำว่า ชาบู สุกี้ และปิ้งย่าง ไปได้ และเมื่อพูดถึงหม่าล่าด้วยแล้ว พบว่า “ชาบูหม่าล่า” ถูกพูดถึงมากที่สุด 46% รองลงมาเป็น “สุกี้หม่าล่า” 37% และ “ปิ้งย่างหม่าล่า” 17%

ดังนั้นแล้ว “หม่าล่า” เหล่านี้จะยังคงครองใจบรรดาเอฟซีไปได้อีกนานแค่ไหน? จะเป็นเพียง “กระแสฉาบฉวย” หรือจะกลายมาเป็น “ความยั่งยืน” ของอาหารที่คุ้นเคยไปเลย เหมือนดั่งเช่น หมูกระทะ ชาบู สุกี้ พิซซ่า ที่คนก็ยังคงนิยมกินกันอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเวลาจะผ่านมาเนิ่นนานแค่ไหนก็ตาม


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ