มีข้อมูลรายงานว่า ปัจจุบัน ตลาดศัลยกรรมตกแต่ง และ หัตถการทั่วโลกมีมูลค่ามากกว่า 2 ล้านล้านบาท โดยคาดช่วงปี 2022-2030 จะมีอัตราการเติบโตที่เร็วและแรงเฉลี่ยอยู่ที่ 9.6% ต่อปี
ขณะ วงการแพทย์ของไทยนั้น อาจต้องยอมรับว่า ศัลยกรรมความงาม ของไทย มีชื่อเสียงติด TOP ระดับโลกไปแล้ว โดยการรักษา ทำศัลยกรรมในไทย ยังมีราคาถูกกว่าประเทศชั้นนำอื่นๆ 50-80% เช่น เมื่อเทียบกับ สหรัฐฯ แคนาดา และ ยุโรป เป็นต้น
ซึ่งรูปแบบศัลยกรรมที่มีชื่อเสียงของไทยมากที่สุด นั่นก็คือ การผ่าตัดแปลงเพศ และ ศัลยกรรมจมูก-ตา ผ่านกลยุทธ์ทางตลาดที่สำคัญต่างๆ ได้แก่
นี่เองที่ทำให้ตลาดศัลยกรรม และเสริมความงาม ในประเทศไทยแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยล่าสุด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธุรกิจศัลยกรรมและเสริมความงามของไทยปีนี้ น่าจะมีมูลค่าตลาดสูงถึงประมาณ 71,000-72,000 ล้านบาท ขยายตัวราว 2.3-3.6% ภายใต้ ปัจจัยหนุน มาจาก ...
โดยมูลค่าตลาดข้างต้น เป็นการทยอยกลับมาฟื้นตัวอย่างน่าสนใจ ภายหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลายลง แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่กลับไปเท่าก่อนโควิด เพราะเมื่อพิจารณา ตัวเลขการเติบโตในภาพรวม อาจไม่ได้สะท้อนผลประกอบการที่ดีขึ้นของผู้ประกอบการทุกราย ขึ้นอยู่กับการตอบโจทย์ลูกค้าด้วย
ทั้งในเรื่องของค่าบริการ รสนิยม คุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการ รวมถึงผลลัพธ์หรือความพึงพอใจในผลงานของแพทย์ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ผู้บริโภคมีต่อการเลือกใช้บริการธุรกิจศัลยกรรมและเสริมความงามที่แตกต่างกันออกไป
อย่างไรก็ดี ในประเด็นสำคัญ มองไปข้างหน้า ธุรกิจศัลยกรรมและเสริมความงามยังคงเผชิญกับอีกหลายปัจจัยท้าทาย โดยเฉพาะ การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ศัลยแพทย์ตกแต่ง ที่อาจทำให้เกิดการแย่งชิงบุคลากรทางการแพทย์กันมากขึ้น และส่งผลต่อต้นทุนของธุรกิจที่สูงขึ้น อีกทั้งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็ว อาจส่งผลต่อต้นทุน
ซึ่งหากลูกค้ามาใช้บริการน้อยและไม่สม่ำเสมอ ความคุ้มค่าด้านการลงทุนก็จะน้อยและอาจขาดทุนในที่สุด สะท้อนให้เห็นว่า การอยู่รอดหรือประสบความสำเร็จของธุรกิจในยุคที่ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย และมีทางเลือกมากขึ้นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย
รวมถึง แม้ว่าปัจจุบันผู้บริโภคจะเปิดกว้างมากขึ้นต่อการทำศัลยกรรมและเสริมความงาม แต่ด้วยปัจจัยเฉพาะหน้าด้านภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อที่ยังเปราะบางและค่าครองชีพที่สูง น่าจะส่งผลต่อการทำรายได้ของผู้ประกอบการท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงจากจำนวนผู้เล่นในธุรกิจที่มีจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 4,000 ราย
โดยเฉพาะการแข่งขันกับผู้เล่นในต่างประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ที่รุกเข้ามาทำการตลาดในไทยมากขึ้น รวมถึงมีการดึงลูกค้าให้ไปใช้บริการในประเทศตนเองผ่านตัวแทนหรือเอเจนซี่ต่างๆ รวมถึงประเทศคู่แข่งในอาเซียนที่หันมาเจาะตลาดศัลยกรรมและความงามมากขึ้น เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น
"ปัญหาการขาดแคลน ศัลยแพทย์ตกแต่ง เกิดการแย่งชิงตัว อีกมุม ความต้องการของลูกค้ามาพร้อมกับความคาดหวังต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ นั้น จะทำให้ธุรกิจนี้ ต้นทุนพุ่ง มีผลต่อการทำกำไร และท่ามกลางกลุ่มลูกค้ามีศักยภาพไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่การแข่งขันรุนแรง ห่วงบางรายอาจปรับตัวไม่ได้ หรือ แข่งขันไม่ได้ อาจต้องเลิกกิจการไป"
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังระบุว่า ปัจจัยเรื่องกฎระเบียบ หรือ กฎหมายในการดำเนินธุรกิจที่เข้มงวดขึ้น ก็เป็นอีกความท้าทายในอนาคต เนื่องจาก ท่ามกลางข่าวสารของการให้บริการศัลยกรรมที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือ ผิดกฎหมายที่มีให้เห็นในปัจจุบัน ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาตรวจสอบหรือควบคุมมากขึ้น เช่น ความเข้มงวดในการโฆษณาการขอใบอนุญาตประกอบการกิจการ โดยเฉพาะบุคคลธรรมดา
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย