ธุรกิจร้านอาหารถือเป็นหนึ่งใน SME ที่สามารถสร้างการเติบโตให้กับ GDP ประเทศไทย แม้จะมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภค แต่ด้วยโครงสร้างอุตสาหกรรมแบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก ทำให้ธุรกิจร้านอาหารไทยซึ่งส่วนใหญ่ขับเคลื่อนโดยผู้ประกอบการรายย่อยไม่เติบโตเท่าที่ควร
Thairath Money จึงสรุปภาพรวมอุตสาหกรรมร้านอาหาร เทรนด์และทิศทางการปรับตัวที่จะทำให้ร้านอาหารอยู่รอดในปัจจุบัน จากงานเปิดตัวอีเวนต์และสัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจร้านอาหาร ResTech 2023 ซึ่งมีกำหนดการจัดงานวันที่ 8-9 ธันวาคมที่จะถึงนี้
ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของเพจ Torpenguin และผู้จัดงาน Restech 2023 อธิบายถึงภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบกิจการร้านอาหารกว่า 700,000 แสนราย แต่ขนาดตลาด (market size) ยังทรงตัวอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท อีกทั้งต้นทุนค่าแรงในการจ้างพนักงานยังเพิ่มขึ้นจาก 10% เป็น 15% ของยอดขาย และมีแนวโน้มแพงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ร้านอาหารแต่ละร้านมียอดขายได้น้อยลง จากส่วนแบ่งในตลาดที่มากขึ้น นอกจากจะต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการ SME ด้วยกันเองแล้ว ร้านอาหารรายย่อยยังต้องแบกรับความกดดันที่มากขึ้นจากคู่แข่งรายใหญ่ อย่างเชนร้านอาหารชื่อดังหลายเจ้าในไทย ที่ได้ปรับตัวออกมาเปิดสาขาในพื้นที่ชุมชนมากขึ้น เนื่องจากคนเดินห้างสรรพสินค้าน้อยลง
อีกทั้งปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในตลาด casual dinning ที่ทุกอย่างเป็น full service ต้องใช้พนักงานทุกกระบวนการตั้งแต่ประกอบอาหารจนถึงการบริการลูกค้า แต่ในอีก 2-3 ข้างหน้า ประเทศไทยจะเข้าสู่ตลาดร้านอาหารแบบ fast casual ที่ลูกค้าจะต้องบริการตัวเอง โดยเทคโนโลยี self-ordering จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งเทรนด์เหล่านี้เกิดขึ้นไปแล้วกับร้านอาหารในประเทศยุโรป สหรัฐอเมริกา
ดังนั้นการจะทำให้ SME ร้านอาหารในไทยเติบโต มีศักยภาพในการแข่งขันกับปัจจัยที่มา disrupt คือการสร้างระบบนิเวศให้รายย่อยได้มีพื้นที่ทำธุรกิจร่วมกัน มากกว่าแข่งขันกันเอง โดยมีเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสร้างการเติบโต ซึ่งจะช่วยลดและบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
เกษมศักดิ์ ศิริรักษ์ ประธานผู้บริหาร CEO บริษัท มูฟฟ์ มีเดีย จำกัด (Starving Time) ได้แบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับเทรนด์ธุรกิจร้านอาหารในปัจจุบันและแนวทางการปรับตัว ดังนี้