แจ็คแอนด์จิล นำตำนานขนม “ฟันโอ-ทิวลี่ ทวิน” กลับมาเล่าใหม่ หวังสร้างสีสันตลาดสแน็ก

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แจ็คแอนด์จิล นำตำนานขนม “ฟันโอ-ทิวลี่ ทวิน” กลับมาเล่าใหม่ หวังสร้างสีสันตลาดสแน็ก

Date Time: 19 ก.ค. 2566 18:41 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • "ฟันโอ 6 ชิ้น กลับมาแล้ว" "ทิวลี่ ทวิน อร่อยฟิน 2 ชิ้น 2 บาท" ก็กลับมาด้วย สองสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการรีแคมเปญ นำสินค้าเรือธงที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคกลับมาเล่าใหม่อีกครั้ง ด้วยการชูจุดขายสินค้าที่มีคุณภาพสูงในราคาที่คุ้มค่า ของ บริษัท ยูอาร์ซี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวภายใต้แบรนด์ แจ็คแอนด์จิล (Jack’n Jill)

Latest


นอกจากนี้แจ็ค แอนด์ จิล ยังเล็งเห็นช่องทางและโอกาสในการเพิ่มไลน์สินค้าให้ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการเติบโตของกระแสดูแลสุขภาพที่กำลังได้รับความนิยมและมาแรงในปัจจุบัน จึงได้ตั้งเป้าบุกตลาด Health & Wellness เต็มตัวในครึ่งปีหลัง ผ่านการเปิดตัวแบรนด์น้องใหม่ แตกไลน์สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ “เล็คซัส (Lexus)” และ “โอ๊ตครันชน์ (Oat Krunch)” ชูจุดขาย Affordable premium บิสกิตที่ผลิตด้วยวัตถุดิบคุณภาพดีในราคาที่เอื้อมถึง เจาะตลาดในเซกเมนต์ Cookie และ Cracker ไปเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา 


แต่ทั้งนี้ขนมภายใต้พอร์ตโฟลิโอของ แจ็คแอนด์จิล ไม่ได้มีแค่อย่างสองอย่างเท่านั้น ซึ่งหากเอ่ยชื่อทุกคนก็คงจะอ๋อ! กันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น ฟันโอ ทิวลี่ โลซาน โรลเลอร์โคสเตอร์ ดิวเบอร์รี่, ไดนาไมท์ ฯลฯ 

หากย้อนกลับไปดู แจ็คแอนด์จิล เป็นแบรนด์ขนมที่มาจากฟิลิปปินส์ เกิดขึ้นในปี 1954 และเริ่มเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเมื่อปี 2536 หากนับอายุก็ราวๆ 30 ปี


ด้าน นายฐานันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้จัดการทั่วไป ประเทศไทย ลาว และกัมพูชา และรองประธาน บริษัท ยูอาร์ซี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมของตลาดขนมขบเคี้ยวในประเทศไทยปี 2565 ที่ผ่านมา มีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 74,000 ล้านบาท ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ตลอดจนแรงหนุนจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้านมากขึ้นในภาคประชาชน โดยบริษัทฯ มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 10% จากวันที่เริ่ม จึงนับว่าแม้ระยะเวลาไม่นานแต่ก็ห่างไกลพอสมควร


ครอง Market Share ตลาดขนมขบเคี้ยว กว่า 10%

สำหรับในปี 2566 คาดว่าภาพรวมตลาดจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากปัจจัยบวกในหลายๆ ด้าน รวมถึงมีผู้เล่นรายใหม่ส่งสินค้าเข้ามาช่วยกระตุ้นให้ตลาดคึกคักและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผลประกอบการของยูอาร์ซี (ประเทศไทย) ปี 2565 เติบโตอยู่ที่ 10% สำหรับแผนการดำเนินงานปี 2566 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 10-15% จากปีก่อน


โดยปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ในเครือฯมากกว่า 15 แบรนด์ ที่มีสินค้ากว่า 200 SKUs แบ่งออกเป็น 5 หมวดสินค้า ได้แก่ บิสกิต, เวเฟอร์, ขนมขบเคี้ยว, เค้ก และลูกอม ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์เรือธงแบรนด์บิสกิต และเวเฟอร์อันดับ 1 ได้แก่ ฟันโอ และทิวลี่  


ทั้งนี้ในส่วนของตลาดคุกกี้บริษัทฯ มีสัดส่วนทางการตลาดอยู่ที่ 34% จากมูลค่าตลาด 4,065 ล้านบาท ขณะที่กลุ่ม Wafer บริษัทมีสัดส่วนทางการตลาดอยู่ที่ 20% จากมูลค่าตลาด 4,694 ล้านบาท จึงถือได้ว่า แจ็คแอนด์จิล (Jack’n Jill) ครองความเป็นเบอร์ 1 ในตลาดบิสกิต และเวเฟอร์เลยก็ว่าได้


และด้วยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของลูกค้ามาโดยตลอดจึงทำให้แบรนด์ของ แจ็คแอนด์จิล กลายเป็นขนมที่อยู่กับทุกช่วงวัยเลยก็ว่าได้ ดังนั้นแจ็คแอนด์จิล จึงพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง 


ทุ่มงบการตลาดกว่า 300 ล้านบาท 

ในครั้งนี้บริษัทฯ เตรียมทุ่มงบประมาณทางการตลาดเต็มสูบในการจัดทำแคมเปญพิเศษแบบอัดแน่นจัดเต็มตลอด 12 เดือน ผ่านช่องทางออนไลน์และโซเชียลมีเดียเป็นหลัก ทั้งปรับแผนกลยุทธ์ทางการตลาดครอบคลุม 360 องศา โดยทุ่มงบการตลาดกว่า 300 ล้านบาท ติด Top 3 Advertisers ของบริษัทที่มีมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน โดยจะมีสัดส่วนการทำตลาดออนไลน์ 60% และออฟไลน์ 40%


จากการดำเนินงานที่ผ่านมาได้ผลักดันให้เกิดการออกสินค้าที่มีนวัตกรรม สร้างสีสันและความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมในตลาด อาทิ ฟันโอสแควร์, โลซาน ทูโทน, ลัช ซาวร์, โรลเลอร์โคสเตอร์ จัมโบ้ แบบแผ่นเรียบ, ทิวลี่xฟันโอ นอกจากนี้ ยังมีการออกไลน์สินค้าที่ Collaboration กับพันธมิตรชั้นนำ เช่น ทิวลี่xโอวัลติน และโรลเลอร์โคสเตอร์xบาร์บีคิว พลาซ่า เป็นต้น 


ชูกลยุทธ์เด็ด ฟังเสียงผู้บริโภค-ออกสินค้าใหม่ 

จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าในสนามการแข่งขันตำแหน่ง “แชมป์” นั้นว่าได้มายาก แต่ทว่าการรักษาแชมป์นั้นยากยิ่งกว่า แจ็คแอนด์จิล จึงได้วางกลยุทธ์ทางการตลาดที่ ให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพ และราคาที่จับต้องได้ รวมทั้งการออกสินค้าใหม่ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่หลากหลาย โดยในหนึ่งปีมีการออกสินค้าเฉลี่ย 30-50 ตัวต่อปี ซึ่งใช้ระยะเวลา 3-6 เดือนจึงจะออกสินค้าใหม่ได้ เพราะเน้นผู้บริโภคเป็นหลัก มีการติดตามฟังกระแส Social listening ลูกค้าต้องการอะไรเราก็จะทำออกมาตอบสนอง 


ขณะเดียวกันยังมีความรับผิดชอบต่อสังคม การดึงบุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซนเตอร์ เพื่อจับเทรนด์คนรุ่นใหม่ เจาะกลุ่มผู้บริโภค Gen Z และเอาใจสายกินทั่วประเทศ รวมทั้งมองหาการขยายธุรกิจในหลายๆ รูปแบบ ทั้งขนาด แพ็กเกจจิ้ง หรือธุรกิจใหม่ที่ไทยยังไม่มี เพื่อรักษา Positioning ของแบรนด์


สุดท้ายนี้บริษัทฯ ยังได้เดินหน้าสู่ความยั่งยืน (Sustainability) ตั้งเป้า Net-Zero GHG Emission ภายในปี 2055 ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการใช้พลังงานทดแทนจากการติดตั้ง Solar Power ครอบคลุมทุกโรงงานแล้วเสร็จในปี 2021


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ