ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทย เผยเทรนด์สื่อสารการตลาดยุคใหม่ ที่ต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริงด้วยการสื่อสารแบบ Connected Experience Solutions
นายภารุจ ดาวราย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันประสบการณ์ของผู้คนต่างมีรายละเอียดที่ซับซ้อน ทั้งในเชิง insight และพฤติกรรม สื่อที่สัมผัสในแต่ละบริบท หรืออิทธิพลจากคนรอบข้าง โดยทุกประสบการณ์ก็ต่างเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญ
ดังนั้นการเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย หรือ Real Identity เห็นภาพประสบการณ์ทั้งกระบวน จึงเป็นหัวใจแห่งการบริหารการสื่อสารที่จะพาแบรนด์และธุรกิจไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่ง ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทย มุ่งเน้นและให้ความสำคัญทางด้านการวางกลยุทธ์ทางการสื่อสาร เข้าถึงและสร้างประสบการณ์ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ด้วย Connected Experience Solutions ผ่านการผนึกกำลังกันในทุกๆ discipline หรือ Power of ONE และเรามั่นใจว่าจะสามารถเดินหน้าไปพร้อมกับพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจของเราอย่างมั่นคงอีกด้วย
นายเจนคณิต รุจิรโมรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า มนุษย์ในยุคปัจจุบันมีมุมมองความคิดที่เป็นไปตามประสบการณ์ที่เป็นปัจเจกบุคคลมากๆ วัฒนธรรมการสื่อสารและพฤติกรรมของผู้คน โดยเฉพาะช่วงที่ความปกติเป็นเรื่องที่หาได้ยาก ก็พัฒนาไปตามการเปลี่ยนแปลงของสื่อ และเข้าถึงคอนเทนต์ จึงตามมาด้วยค่านิยมของผู้คนมีการแตกแขนงออกไปหลากหลาย
โดยนำมาสู่ความคลุมเครือของความเหมาะสม และการยอมรับในเรื่องต่างๆ ความท้าทายของโลกความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นการต้องสร้างกรอบทางเดินให้กลุ่มเป้าหมายเดินไปรู้จักแบรนด์ สร้างประสบการณ์กับแบรนด์และผลิตภัณฑ์ภายใต้โลกที่เปิดกว้างขึ้น กำหนดทางเดินประสบการณ์แบบที่สร้างความสัมพันธ์ได้อย่างเข้าอกเข้าใจกับผู้คน ซึ่งสุดท้ายแล้วการที่จะทำได้ให้ดีที่สุดก็คือการเข้าใจ Real Identity หรือตัวตนที่แท้จริงของผู้คนให้เจอนั่นเอง”
นางสาวลลิต คณาวิวัฒน์ไชย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ด้านดิจิทัลและมีเดีย ปับลิซีส กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า หัวใจสำคัญของเทรนด์ของสื่อคือการที่เราอยู่ในยุคที่ทุกอย่างเชื่อมเข้าหากัน (Connected era) ซึ่งมันคือการสร้างประสบการณ์การบริโภคสื่อที่เชื่อมต่อทุกๆ จอ ทุกๆ แพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่องเพื่อพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายและสร้างการเดินทางหรือ Journey ให้กับกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ต้น (awareness)
จนสิ้นสุดปลายทางก็คือการซื้อผลิตภัณฑ์ (purchase) ซึ่งนวัตกรรมของสื่อรวมไปถึงสิทธิ์ของปัจเจกบุคคลถือว่ามีอิทธิพลในการพัฒนาการเลือกใช้สื่อเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าหลักการการบริหารสื่อยังคงอยู่ที่ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness)
แต่ปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์นี้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าสนใจโดยผู้บริโภคมีส่วนในการกำหนดทิศทางกับการใช้สื่อมากขึ้น สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลหรือ Data รวมไปถึงสิทธิ์ในการได้มาซึ่งสิทธิประโยชน์จากการเปิดเผยข้อมูลให้สื่อถือเป็นเทรนด์ที่ทำให้เห็นว่าผู้บริโภคเรียกร้องและมองหาประสบการณ์ที่สื่อและผู้บริโภคอยู่ร่วมกันแบบได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย (Win-Win ecosystem) ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยสร้างคอมมูนิตี้รวมไปถึงการสร้างความภักดี (Loyalty) ให้กับสื่อและแบรนด์ในอนาคตอีกด้วย
นายวิบู หาญวรเกียรติ หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริลเลียน แอนด์ มิลเลียน กล่าวว่า ภายหลังจากที่ทุกคนได้ถูกจำกัดการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์เป็นเวลานาน ทำให้เกิดการพัฒนาพฤติกรรมต่างๆ ที่สร้างมาจากปัจจัยที่ว่ามนุษย์นั้นต้องการสังคมและการแสดงออก การถูกจำกัดการสนทนา และการสื่อสารที่ไม่เจอผู้คนแบบเห็นหน้ากันจึงสร้างวัฒนธรรมและพฤติกรรมบนโลกดิจิทัลที่ชื่อว่า Expressional Economy หรือสังคมบ่งบอกความเป็นตัวตน ด้วยแพลตฟอร์มบนโลกดิจิทัลที่เข้าถึงในวงกว้าง
โดยนวัตกรรมของ gadget ต่างๆ ที่ช่วยให้คนแต่ละคนแสดงออกซึ่งตัวตนของตัวเองได้ง่ายขึ้น ทำให้พฤติกรรมบนโลกของแพลตฟอร์มออนไลน์มีการขยายตัวในวงกว้าง เราจะเห็นว่ามีคอนเทนต์ ครีเอเตอร์ เกิดใหม่กันอย่างมากมาย การสร้างตัวตนบนแพลตฟอร์มถือเป็นเทรนด์ที่แบรนด์และผลิตภัณฑ์มองข้ามไม่ได้
ดังนั้นการเข้าใจพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้แบรนด์และผลิตภัณฑ์ปรับเปลี่ยนการสื่อสารให้มีตัวตนที่ชัดเจนและถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ที่กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจอยู่ได้นั่นเอง เราจะเห็นว่าแบรนด์ต้องขยับเข้าใกล้กลุ่มเป้าหมายที่มีความชัดเจนในการแสดงออกมากขึ้นและมองหาแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นมนุษย์มากขึ้นบนโลกออนไลน์
นางสาวสมิหรา ทันต์เจริญกิจ กรรมการผู้จัดการ ดิจิทาซ ประเทศไทย เผยเทรนด์ของคอนเทนต์ในปัจจุบันว่า โลกของคอนเทนต์ในปัจจุบันเราไม่จำเป็นจะต้องไขว่คว้าหรือใช้เวลาในการค้นหามากนัก เพียงแค่เรามีความสนใจเรื่องใดเรื่องนึง ทุกๆ แพลตฟอร์มบนโลกโซเชียลพร้อมที่จะปรับคอนเทนต์และป้อนสิ่งที่ปัจเจกบุคคลให้ความสนใจอยู่กับเราเอง และสืบเนื่องจากการที่มีปริมาณคอนเทนต์ ครีเอเตอร์เกิดใหม่มากมาย จึงทำให้คอนเทนต์บนโลกโซเชียลที่ดูเหมือนจะกระจัดกระจายนั้นกลับมีความชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากผู้คนมีความสนใจหรือ interest ที่ชัดเจนขึ้น
ด้วยความก้าวหน้าของอัลกอริทึมจึงทำให้เรามองเห็นคอนเทนต์ที่เราสนใจเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าแบรนด์ต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความสนใจนี้ให้ได้ ซึ่งก็คือการอยู่ให้ถูกที่ ถูกเวลา เกาะกระแสในเวลาและหัวข้อที่เหมาะสมและส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ไปข้างหน้าซึ่งนั่นก็จะนำไปสู่การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้นั่นเอง
อีกหนึ่งเทรนด์ที่มองข้ามไม่ได้คือคอนเทนต์ที่ผนึกกำลังหรือ Collaboration กันในหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะระหว่างแบรนด์กันเอง, แบรนด์กับอินฟลูเอนเซอร์ หรือแม้กระทั่งอินฟลูเอนเซอร์กับสื่อ ซึ่งเรามองว่าการจับมือร่วมมือกันก็เพื่อการยืมเสียงของอีกฝ่ายเพื่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่อาจจะมี interest ที่ต่างกันโดยการสร้างโอกาสเพิ่มการทำความรู้จักกับแบรนด์ที่ตนเองอาจจะไม่คุ้นเคยมาก่อน หรือการสร้างคอนเทนต์ให้มีความน่าสนใจกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้อัลกอริทึมกรองคอนเทนต์ให้ไปถึงผู้บริโภคในวงกว้างขึ้นนั่นเอง
นางสาวโศรดา ศรประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า กลยุทธ์ของการสื่อสารต้องการบุคลากรที่มีความสามารถและมีองค์ความรู้ที่ไม่เพียงแค่ทำงานได้ในด้านเดียวแต่ต้องสามารถมองภาพการสื่อสารแบบ Connected Experience ร่วมกับบุคลากรคนอื่นๆ ในองค์กรเพื่อประสิทธิภาพในการวางกลยุทธ์ที่ครบในทุกความเชี่ยวชาญอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ปับลิซิส กรุ๊ป ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรรวมไปถึงการให้โอกาสทางการพัฒนาความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ ถือเป็นโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้บุคลากรของเราพร้อมที่จะเรียนรู้และเปิดประตูสู่โลกของการสื่อสารแบบไร้รอยต่อในทุกๆ ความเชี่ยวชาญตั้งแต่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ความคิดสร้างสรรค์ บริหารและวางแผนสื่อ การประชาสัมพันธ์และอินฟลูเอนเซอร์ จนไปถึงคอนเทนต์ดิจิทัล ซึ่งเราพร้อมที่จะพาพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจของเราเติบโตไปข้างหน้าไปด้วยกันอย่างยั่งยืน และมองอนาคตแห่งการสื่อสารให้กับพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จทั้งในปัจจุบันและอนาคต