ถอดเบื้องหลังแนวคิด ‘inDrive’ แอปฯ ที่มอบอิสระให้ทั้งผู้โดยสารและผู้ขับขี่

Business & Marketing

Marketing

Content Partnership

Content Partnership

Tag

ถอดเบื้องหลังแนวคิด ‘inDrive’ แอปฯ ที่มอบอิสระให้ทั้งผู้โดยสารและผู้ขับขี่

Date Time: 30 ธ.ค. 2565 06:01 น.
Content Partnership

Summary

  • inDrive แอปฯ มาแรงที่สุดในเวลานี้ และน่าจะตอบโจทย์ความต้องการของใครหลายๆ คน ด้วยรูปแบบการบริการที่มอบ ‘อิสระ’ ให้ทั้งกับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

ช่วงเวลาที่ผ่านมา พฤติกรรมการเดินทางของใครหลายๆ คนได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ด้วยการเข้ามาของแอปพลิเคชันรูปแบบ ‘Sharing Economy’ ที่ช่วยให้เราเรียกรถโดยสาร และเดินทางไปยังเป้าหมายต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และตลาดของแอปฯ ในรูปแบบดังกล่าว ต่างคิดรูปแบบที่มีจุดเด่นแตกต่าง มาแข่งขันกันอย่างดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ

แต่ถ้าถามว่าหนึ่งในรูปแบบการบริการที่น่าสนใจ และน่าจะตอบโจทย์ความต้องการของใครหลายๆ คน เราขอยก แอปฯ ‘inDrive’ มาแรงที่สุดในเวลานี้ ด้วยรูปแบบการบริการที่มอบ ‘อิสระ’ ให้ทั้งกับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ซึ่งเราจะพาคุณไปดูทั้งจุดเริ่มต้น และแนวคิดการออกแบบทั้งหมดในบทความชิ้นนี้

จุดเริ่มต้นของ inDrive

จากจุดเริ่มต้นในปี 2555 ไอเดียของแอปฯ inDrive (ชื่อเก่า inDriver) เกิดขึ้นในเมืองยาคุตสค์ (Yakutsk) ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของภูมิภาคไซบีเรีย ซึ่งในช่วงเวลาปีใหม่ผู้คนต่างไม่พอใจที่ค่าโดยสารแท็กซี่ราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ทำให้ผู้คนในเมืองยาคุตสต์เริ่มรวมกลุ่มกันในโซเชียลมีเดีย เปิดช่องทางติดต่อให้ชาวเมืองรับส่งผู้โดยสารกันเอง

โดยมีข้อตกลงสำคัญข้อเดียว คือให้ทั้งฝั่งผู้ขับและผู้โดยสารตกลงค่าบริการกันเอง และในระยะเวลาไม่นาน ก็มีผู้เข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และปัจจุบันได้กลายมาเป็นบริการ ที่มีผู้ใช้มากกว่า 4 ล้านรายการต่อวันทั่วโลก โดยในประเทศไทยก็ให้บริการทั้งในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต เชียงราย ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา

ซึ่งมีบริการทั้งรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ รวมถึงบริการส่งพัสดุต่างๆ อีกด้วย ซึ่งค่าบริการทั้งหมด โดยสารสามารถเลือกคนขับได้อย่างอิสระตามข้อตกลงและความชอบของผู้โดยสาร โดยไม่สามารถต่อรองหรือเจรจาค่าโดยสารได้ ในส่วนของคนขับสามารถเลือกที่จะรับ หรือปฏิเสธคำขอการเรียกรถได้

การรีแบรนด์ครั้งใหญ่

ความน่าสนใจอีกจุดหนึ่งของ แอปฯ inDrive คือการที่ล่าสุด บริษัทได้ทำการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ และปรับเปลี่ยนให้บริษัทอยู่ในรูปแบบกลุ่มบริษัท และโครงการพัฒนาที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการมอบความสะดวกสบายในด้านการขนส่ง รวมทั้งครอบคลุมในตลาดอื่นๆ ในอนาคต ที่บริษัทมองว่าสามารถทำคอนเซปต์ การแลกเปลี่ยนอิสระ ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับไปใช้ได้อีกด้วย

คำว่า ‘inDrive’ ย่อมาจาก ‘Inner Drive’ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง และแรงผลักดันจากภายใน ซึ่งสามารถสะท้อนพันธกิจของบริษัทในการท้าทายโครงสร้างธุรกิจที่เคยมี แทนที่ด้วยความเชื่อว่าทุกคนมี ‘อิสระ’ ในชีวิต

ออกแบบฟังก์ชันตอบโจทย์ทั้งผู้ขับและผู้ใช้

หัวใจสำคัญที่สร้างความแตกต่างจากแอปฯ อื่นๆ คือการที่ inDrive ให้อิสระในการเลือกกับผู้ใช้ และสามารถดูคะแนนการบริการของผู้ขับแต่ละคน และสามารถเลือกคนที่มีคะแนนดีที่สุด หรือยืนยันความปลอดภัยในการขับขี่จากรีวิวของผู้ใช้คนก่อนหน้า สามารถพิจารณาค่าใช้จ่ายที่ผู้ขับกำหนด และมีตัวเลือกที่จะยอมรับหรือปฏิเสธได้อีกด้วย

นอกจากนี้ inDrive ยังปรับปรุงด้านเวลาให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใช้งานจะใช้เวลารอคนขับเพียง 7 นาที ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงเวลา และสถานที่ที่เราจะเดินทาง

ในส่วนของผู้ขับขี่เองก็เช่นกัน ความยืดหยุ่นของการบริการ ที่ไม่ใช้อัลกอริทึมกำหนดค่าโดยสาร และไม่มีการลงโทษหากผู้ขับปฏิเสธให้บริการอีกด้วย ด้วยการออกแบบระบบการจ่ายเงินที่ยืดหยุ่นนี่เอง ที่ทำให้ทั้งผู้โดยสารและผู้ขับ ได้รับ ‘ความคุ้มค่า’ ที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด

นอกจากนี้แอปฯ inDrive ยังไม่มีการเรียกเก็บค่าคอมมิชชันกับผู้ขับขี่ในระยะเวลาที่จํากัด ซึ่งระบบนี้เองจะทำให้ผู้ขับขี่ได้รับรายได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ในด้านความปลอดภัย ภายในแอปฯ ก็มีการออกแบบระบบมารองรับอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น ปุ่มติดต่อฉุกเฉิน ที่ผู้ใช้สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว หรือการแชร์ตำแหน่ง ที่ให้ผู้ใช้สามารถแชร์รายละเอียดการโดยสาร และตำแหน่งแบบเรียลไทม์ให้กับเพื่อหรือคนใกล้ชิดได้ตลอดเวลา รวมทั้งยังมีฟังก์ชันแชต และทีมสนับสนุน ที่พร้อมให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับใครที่สนใจใช้บริการ หรืออยากสมัครเป็นผู้ขับขี่ สามารถดาวน์โหลดแอปฯ inDrive ได้ที่ Google Play Store, Apple AppStore หรือ Huawei App Gallery หรือสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.indrive.com และ Facebook: @indrive.thailand / Instagram: @indrive.th


Author

Content Partnership

Content Partnership