สมาคมศูนย์การค้าไทย แต่งตั้ง "ชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล" เป็นนายกสมาคมฯ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สมาคมศูนย์การค้าไทย แต่งตั้ง "ชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล" เป็นนายกสมาคมฯ

Date Time: 13 ธ.ค. 2565 16:10 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • สมาคมศูนย์การค้าไทย แต่งตั้ง "ชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล" เป็นนายกสมาคมฯ สมัยแรก พร้อมชูนโยบายภายใต้โรดแม็ป 3 ปี ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและประเทศชาติ

Latest


สมาคมศูนย์การค้าไทย แต่งตั้ง "ชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล" เป็นนายกสมาคมฯ สมัยแรก พร้อมชูนโยบายภายใต้โรดแม็ป 3 ปี ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและประเทศชาติ

เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 65 สมาคมศูนย์การค้าไทย (Thai Shopping Center Association) หรือ TSCA ประกาศวิสัยทัศน์ในการสร้าง Sustainable Ecosystem ที่ยั่งยืนและแข็งแกร่ง พร้อมชูบทบาท ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและประเทศชาติอย่างเต็มที่

ทั้งนี้ สมาคมฯ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ในการลงคะแนนการเลือกตั้งกรรมการบริหารชุดใหม่ และมีการเสนอชื่อและประกาศให้นายชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมศูนย์การค้าไทยเป็นสมัยแรกอย่างเป็นทางการ

โดยมีการกำหนดทิศทางและนโยบายภายใต้โรดแม็ป 3 ปี (2565-2567) เพื่อผลักดันธุรกิจศูนย์การค้าไทยมูลค่าหลายแสนล้านบาทให้กลับมาคึกคัก ท่ามกลางโจทย์ และความท้าทายที่เปลี่ยนไป ด้วยการตอกย้ำบทบาทศูนย์การค้าในการเป็น Key Driving Force ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้เดินหน้า และเป็น Ecosystem ที่สำคัญของประเทศ

พร้อมทั้งเชื่อมโยงไปสู่หลากหลายธุรกิจ และส่งผลต่อ Stakeholders ทำให้ทุกคนตลอดทั้ง Value chain เติบโตและแข็งแกร่งไปด้วยกัน ซึ่งการรวมตัวกันของสมาชิกสมาคมมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจในทุกระดับตั้งแต่ผู้ประกอบการ SMEs, ระบบการจัดการด้านโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมก่อสร้าง, อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและการบริการ ไปจนถึงแหล่งผลิตวัตถุดิบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับแผนงานโรดแม็ป 3 ปี (2565-2567) ของสมาคมศูนย์การค้าไทยแบ่งออกเป็น 4 แนวคิด ได้แก่

- Springboard effects ศูนย์การค้าเป็น Platform ที่แข็งแกร่ง ทำให้เกิดการจ้างงานกว่า 2.4 ล้านคน สร้าง Wealth distribution การค้าขาย มีร้านค้าและ SMEs กว่า 120,000 ราย สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน 750,000 ล้านบาทต่อปี

พร้อมผลักดันให้ศูนย์การค้าไทยเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวในระดับโลก ขานรับนโยบายรัฐ ผลักดันการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ เพิ่ม Shopping per head มากกว่าเท่าตัว (จากหัวละ 1,200 บาท เป็น 3,000 บาท) จากการจับจ่ายในศูนย์การค้า ซึ่งต่อยอดใน ecosystem ของธุรกิจได้อีก 3 ต่อ ทั้งร้านค้าในศูนย์ Outsource และภาคขนส่ง

- Recovery with synergy เดินหน้าสร้างความแข็งแกร่งในสมาชิกศูนย์การค้า เพื่อฟื้นฟูธุรกิจหลังวิกฤติไปด้วยกัน ด้วยมาตรการรับมือกับภาวะผันผวนของเศรษฐกิจโลก สำหรับความท้าทายแรกที่ได้ร่วมกันหารืออย่างเร่งด่วนกับคณะกรรมการฯ คือเรื่องการฟื้นฟูธุรกิจ และเศรษฐกิจในภาพรวมภายหลังวิกฤตการณ์โควิด ที่ภาคธุรกิจศูนย์การค้าต่างสูญเสียรายได้ และทุ่มเม็ดเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้า และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ เกือบ 2 แสนล้านบาท

นอกจากรายได้ที่หายไป ธุรกิจศูนย์การค้ายังต้องรับมือกับภาวะการผันผวนของเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลกระทบให้สถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อของประเทศไทยล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ปรับตัวสูงขึ้นถึง 7.86% ถือเป็นสถิติอัตราเงินเฟ้อไทยที่สูงที่สุดในรอบ 14 ปี นับจากเดือนก.ค.ปี 2551

โดยมีสาเหตุหลักมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาน้ำมันและอัตราค่าไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก นับเป็นความท้าทายของสมาคมในช่วงระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ที่ต้องพัฒนาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าและธุรกิจเองให้กลับฟื้นคืนอย่างยั่งยืน

- Empowering entrepreneurs and SMEs เสริมกำลังคนให้มีความรู้ ความสามารถในระดับสากล แบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ สนับสนุน และส่งเสริมทุก Stakeholder ให้สามารถกลับมาค้าขายได้ คงการจ้างงาน กระตุ้นการลงทุน และช่วยกระจายรายได้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของร้านค้า และผู้ประกอบการ ยกระดับคุณภาพการให้บริการ และความเป็นเอกลักษณ์ของศูนย์การค้าโดยคนไทย

- Journey to sustainability ผลักดันให้สมาชิกศูนย์การค้าเดินหน้าแผนประหยัดพลังงานทั้งระยะเร่งด่วน และระยะยาว และส่งเสริมนโยบาย NET Zero อย่างยั่งยืน อาทิ การติดตั้งแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น Solar Rooftop, Solar Street Light, Solar Carport พร้อมใช้ระบบอัจฉริยะอย่าง Motion Sensor Switch สำหรับระบบไฟแสงสว่าง

การร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในการคัดแยกขยะ ไปจนถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และพัฒนาศูนย์การค้าในรูปแบบ Eco-Friendly Mall เพื่อใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องตามมาตรฐาน Green Building ในระดับสากล

ปัจจุบัน สมาคมศูนย์การค้าไทยประกอบด้วยผู้ประกอบการธุรกิจศูนย์การค้าทั้งหมด 13 ราย ได้แก่
- บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เดอะมอลล์ชอปปิ้งคอมเพล็กซ์ จำกัด
- บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด
- บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด
- บริษัท แพลทินัม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน)
- บริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท อัลไล รีท แมนเนจเมนท์ จำกัด
- บริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท พิริยา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
- บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท แปซิฟิค พาร์ค ศรีราชา จำกัด


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ