ศึกชิงแฟรนไชส์ KFC คึก! “ไทยเบฟ” เปิดตัวเคลื่อนไหวก่อนเซ็นทรัล

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ศึกชิงแฟรนไชส์ KFC คึก! “ไทยเบฟ” เปิดตัวเคลื่อนไหวก่อนเซ็นทรัล

Date Time: 28 ก.ค. 2565 06:20 น.

Summary

  • เผย 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ ไทยเบฟ และเซ็นทรัล เรสตอรองส์ ชิงแฟรนไชส์ “KFC” ในไทยมูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท โดยบริษัท QSA ในเครือไทยเบฟออกมาโชว์ผลงานขยายธุรกิจพร้อมเป้าหมายที่จะสร้างการเติบโต

Latest

คาราบาวแดง ตั้งเป้าเพิ่มแชร์ 3% ทะยานสู่แชมป์ตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง ผนึกไทยรัฐ กรุ๊ป ปีที่ 4 ลุยแคมเปญใหญ่

เผย 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ ไทยเบฟ และเซ็นทรัล เรสตอรองส์ ชิงแฟรนไชส์ “KFC” ในไทยมูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท โดยบริษัท QSA ในเครือไทยเบฟออกมาโชว์ผลงานขยายธุรกิจพร้อมเป้าหมายที่จะสร้างการเติบโตของแบรนด์เคเอฟซีในอนาคต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสำนักข่าวต่างประเทศรายงานโดยอ้างแหล่งข่าว มีผู้บริหารแฟรนไชส์เคเอฟซี (KFC) ในไทยหนึ่งรายต้องการขายสิทธิ์การบริหารกิจการเคเอฟซีในประเทศไทย มูลค่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 11,047 ล้านบาท โดยกระบวนการอยู่ระหว่างการเจรจากับที่ปรึกษาธุรกิจ โดยบริษัทดังกล่าวต้องการขายไปเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา แต่ต้องประสบปัญหาการแพร่ระบาดไวรัสโควิด

ทั้งนี้ แฟรนไชส์ของเคเอฟซีในประเทศไทยปัจจุบันมี 3 รายด้วยกัน คือ 1.บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด หรือ QSA ในเครือไทยเบฟ 2.บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG และ 3.บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด หรือ RD ทั้ง 3 รายบริหารเคเอฟซีในไทยทั้งหมด 953 สาขา

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า คาดหมายกันว่าบริษัท RD เป็นบริษัทที่พิจารณาขายแฟรนไชส์ หลังจากเกิดกระแสข่าวก่อนหน้าว่ามีการพิจารณาขายธุรกิจก่อนช่วงโควิด จึงมองกันว่า 2 บริษัทแรกสนใจที่จะเสนอราคาแข่งขันกัน โดย RD ปัจจุบันมีพนักงานมากกว่า 5,000 คน บริหารเคเอฟซีในไทยกว่า 240 สาขา อย่างไรก็ตาม ทั้งบริษัท QSA และบริษัท CRG ยังไม่ได้ออกมาให้ความเห็นถึงการพิจารณาเข้าซื้อแฟรนไชส์ในครั้งนี้

ล่าสุด บริษัท QSA โดน น.ส.ศสัย ตังเดชะหิรัญ กรรมการผู้จัดการ ได้ออกมาเปิดเผยถึงแผนการผลักดันยอดขาย
เคเอฟซี ภายใต้กลุ่มธุรกิจอาหารไทยเบฟ ในฐานะผู้ได้รับสิทธิ์การบริหารร้านเคเอฟซีในไทยปัจจุบัน 430 สาขา ที่สามารถสร้างการเติบโตได้อย่างรวดเร็วและแข็งแกร่ง ตั้งเป้าผลักดันยอดขายให้เติบโตผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย

1.มัลติ สโตร์ ฟอร์แมต (Multi Store Format) การมีฟอร์แมตของร้านที่หลากหลายประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งช่วยในเรื่องการขยายสาขาตามสภาพแวดล้อมเพื่อเข้าถึงกลุ่มบริโภคได้อย่างเหมาะสม ครอบคลุมตั้งแต่ร้านขนาดใหญ่ในห้างสรรพสินค้า ร้านขนาดกลางในสถานีบริการน้ำมัน และคอมมูนิตี้มอลล์ไปจนถึง ร้าน “ช็อป เฮาส์” ในย่านชุมชน รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาสร้างประสบการณ์ใช้งานในรูปแบบใหม่นำไปสู่การบริการลูกค้าที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2.การเข้าถึงลูกค้าจากทุกช่องทาง การจัดส่งอาหาร (Delivery) ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริการแบบซื้อกลับ การบริการในรูปแบบ self-pick up ที่ลูกค้าสามารถสั่งผ่านมือถือได้ล่วงหน้าและเลือกรับจากสาขาที่สะดวก รวมทั้ง “เคเอฟซี ฟู้ดทรัค” ที่มีการเสริมนวัตกรรมต่างๆ

3.การขยายการเติบโตผ่านสายผลิตภัณฑ์เคเอฟซีตอกย้ำความเป็นตัวจริงเรื่องไก่ทอด โดยยังคงเดินหน้าคิดค้นพัฒนาเมนูใหม่ รวมไปถึงการจัดโปรโมชันต่างๆ การต่อยอดแบรนด์เคเอฟซี โดยร่วมสร้างโอกาสทางธุรกิจกับพันธมิตรในเครือ เปิดตัว KFC Café by SO COFFEE สร้างสรรค์เครื่องดื่มเอาใจลูกค้าด้วยกาแฟคุณภาพดี โดยตั้งเป้าขยายบริการในสาขาของ QSA 250 สาขาภายในปีนี้

“การดำเนินธุรกิจ 5 ปีที่ผ่านมาในฐานะพันธมิตรแฟรนไชส์ของเคเอฟซี บริษัท QSA ตั้งเป้าสร้างยอดขายเติบโต 20% และเปิดสาขาเพิ่มเติมกว่า 30 สาขาในปี 2565 รวมเป็นจำนวนสาขากว่า 430 สาขา หรือเติบโตกว่า 60% จากปี 2561 ที่ได้รับสิทธิ์เป็นหนึ่งในแฟรนไชส์ซีของเคเอฟซีในประเทศไทย.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ