ลูกค้าสินมั่นคงประกันภัย จะเคลมประกันโควิดอย่างไร เมื่อบริษัทขอฟื้นฟูกิจการ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ลูกค้าสินมั่นคงประกันภัย จะเคลมประกันโควิดอย่างไร เมื่อบริษัทขอฟื้นฟูกิจการ

Date Time: 23 พ.ค. 2565 15:42 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • ลูกค้าสินมั่นคงประกันภัย จะเคลมประกันอย่างไร เมื่อบริษัทกำลังยื่นฟื้นฟูกิจการกับศาลล้มละลายกลาง ในขณะที่มูลค่าหนี้ประกันภัยโควิด เจอ จ่าย จบ อยู่ที่ 30,000 ล้านบาท

Latest


ลูกค้าสินมั่นคงประกันภัย จะเคลมประกันอย่างไร เมื่อบริษัทกำลังยื่นฟื้นฟูกิจการกับศาลล้มละลายกลาง ในขณะที่มูลค่าหนี้ประกันภัยโควิด เจอ จ่าย จบ อยู่ที่ 30,000 ล้านบาท

หลังจาก บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ SMK ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯ โดยเสนอให้บริษัทตัวเอง เป็นผู้บริหารแผนเอง โดยศาลล้มละลายกลางเตรียมนัดไต่สวนเจ้าหนี้ที่ประกอบไปด้วยธนาคาร ไปจนถึงเจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยโควิด เจอ จ่าย จบที่แจ้งเคลม หรือใช้สิทธิ์เรียกร้องแล้วรวมกว่า 350,000 รายการ คิดเป็นค่าสินไหมประมาณ 30,000 ล้านบาท ในวันที่ 18 ส.ค. 65 นี้

ล่าสุด สินมั่นคงประกันภัย ได้อธิบายประเด็นคำถามต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยื่นฟื้นฟูกิจการเพื่อให้ลูกค้าประกันภัยโควิดได้มีความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ชัดเจนมากขึ้น ดังนี้

ถาม : การยื่นฟื้นฟูกิจการ ใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี หมายความว่าสินมั่นคงจะหยุดการจ่ายสินไหมโควิดไปอย่างน้อย 5 ปี จริงหรือไม่

ตอบ : ไม่จริง บริษัทฯ จะเริ่มจ่ายหลังจากศาลเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งคาดว่าจะเป็นประมาณเดือนมิ.ย. 2566 และแนวทางการจ่ายชำระหนี้ที่อยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการจะต้องมีการเจรจากันระหว่างเจ้าหนี้และบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะพยายามอย่างเต็มที่ที่จะหาแนวทางการชำระหนี้ที่เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ และจะต้องได้รับจากแผนฟื้นฟูมากกว่ากรณีปิดกิจการ

ถาม : เมื่อศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูแล้ว ทำไมจึงไม่สามารถจ่ายเงินผ่อนตามสัญญาได้

ตอบ : หลังศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ บริษัทฯ จะไม่สามารถจ่ายสินไหมโควิดให้ผู้เอาประกันกรมธรรม์โควิดได้เป็นการชั่วคราว เนื่องจากติดข้อห้ามตามกฎหมายฟื้นฟูกิจการ Automatic Stay หรือสภาวะพักการชำระหนี้ เพื่อให้บริษัทฯ กับเจ้าหนี้ได้เจรจาตกลงหาแนวทางการชำระหนี้ผ่านกระบวนการฟื้นฟูกิจการ โดยจะต้องมีการเสนอแผนการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โควิดอย่างเท่าเทียมกันทุกรายภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ

ถาม : หากศาลไม่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ บริษัทฯ จะกลับมาจ่ายสินไหมโควิดอีกหรือไม่

ตอบ : หากศาลไม่อนุญาตให้บริษัทฯ ฟื้นฟูกิจการ บริษัทฯ จะไม่สามารถแก้ปัญหาทางการเงินได้ ซึ่งบริษัทฯ จะไม่สามารถจ่ายสินไหมโควิดได้ สำนักงาน คปภ. จะมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต และบริษัทฯ ต้องหยุดดำเนินธุรกิจอย่างแน่นอน

การฟื้นฟูกิจการจึงเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเพียงช่องทางเดียวที่มีอยู่ หากไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้ จะมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากและไม่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใดเลย บริษัทฯ จึงพยายามอย่างเต็มที่ที่จะดำเนินการฟื้นฟูกิจการให้ประสบความสำเร็จ เพื่อประโยชน์แก่ผู้เอาประกันโควิดและผู้เอาประกันประเภทอื่นๆ

ถาม : เข้าฟื้นฟูกิจการแล้วจะยังมีการจ่ายหนี้โควิดหรือไม่

ตอบ : แม้จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ผู้เอาประกันยังเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะต้องเสนอแนวทางการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งจะต้องมีมูลค่าการชำระหนี้มากกว่ากรณีที่บริษัทฯ ต้องปิดกิจการอย่างแน่นอน และหากที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการและศาลเห็นชอบด้วยแผนดังกล่าว เจ้าหนี้สินไหมโควิดย่อมได้รับชำระหนี้ตามข้อกำหนดของแผนต่อไป

ถาม : แผนฟื้นฟูกิจการมีระยะเวลา 5 ปี แต่การเรียกร้องค่าสินไหมของผู้เอาประกันหรือเจ้าหนี้มีอายุความ 2 ปี ทำให้อายุความในการเรียกร้องค่าสินไหมหมดก่อนที่แผนฟื้นฟูจะเสร็จ จริงหรือไม่

ตอบ : ไม่จริง การนับอายุความในการเรียกร้องค่าสินไหมจะหยุดลงเมื่อศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และจะเริ่มกลับมานับอายุความต่ออีกครั้งเมื่อออกจากการฟื้นฟูกิจการ ดังนั้น ระยะเวลาในแผนฟื้นฟูกิจการไม่ได้มีผลต่ออายุความในการเรียกร้องค่าสินไหม

ถาม : กระบวนการเจรจาในศาล จะเอื้อประโยชน์ให้ลูกหนี้มากกว่าเจ้าหนี้โควิด จริงหรือไม่

ตอบ : ไม่จริง การเจรจาในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ใช้หลักการให้เกิดผลชนะด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ ภายใต้ความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างกันด้วยเหตุ ด้วยผล และข้อเท็จจริง และกฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่มีสิทธิออกเสียงว่าจะยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการที่บริษัทฯ เสนอหรือไม่

เนื่องจากเจ้าหนี้โควิดมีจำนวนหลายแสนราย ความคุ้มครองสูงสุดคือ 100,000 บาท และจำนวนหนี้รวม 30,000 ล้านบาท หากไม่มีการเจรจาเกิดขึ้น บริษัทฯ จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาตในที่สุด และเจ้าหนี้ต้องไปเรียกร้องต่อที่กองทุนประกันวินาศภัยซึ่งต้องใช้เวลาหลายปีกว่าทุกรายจะได้รับชำระหนี้

ถาม : การสอบถามสถานะเคลมสินไหมโควิด ติดต่อได้ที่ใดบ้าง

ตอบ : บริษัทฯ ยังเปิดให้บริการตามปกติ โดยผู้เอาประกันสามารถสอบถามสถานะเคลมสินไหมโควิดได้ที่อาคารสำนักงานใหญ่ และสาขาของบริษัทฯ ในแต่ละจังหวัด.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ