คาดร้านค้าต่างชาติกินส่วนแบ่งการตลาดคนไทยบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซถึง 63%

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คาดร้านค้าต่างชาติกินส่วนแบ่งการตลาดคนไทยบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซถึง 63%

Date Time: 25 ม.ค. 2564 11:08 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • Priceza คาดร้านค้าต่างชาติกินส่วนแบ่งการตลาดคนไทยบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซถึง 63% ในปี 2021 เตือนการแข่งขันด้วยราคาไม่อาจสู้สินค้าจากจีนได้

Latest


Priceza คาดร้านค้าต่างชาติกินส่วนแบ่งการตลาดคนไทยบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซถึง 63% ในปี 2021 เตือนการแข่งขันด้วยราคาไม่อาจสู้สินค้าจากจีนได้

นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด หรือ Priceza กล่าวว่า เทรนด์อีคอมเมิร์ซในปี 2021 นั้นร้านค้าต่างชาติจะกินส่วนแบ่งตลาดไทยกว่า 63% จึงอยากให้ผู้ค้าไทยเร่งปรับตัว ซึ่งเรามองว่าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเตรียมจะขยายตัวและกินรวบบริการตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ นำโดย 5 เทรนด์ดังนี้

เทรนด์ที่ 1 E-commerce Boom creates high competition

หากย้อนดูคาดการณ์มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของตลาด B2C และ C2C ที่คาดว่าจะเติบโตขึ้น 81% จาก 163,300 ล้านบาท เป็น 294,000 ล้านบาทในปี 2020 จากข้อมูลของไพรซ์ซ่าพบว่าในปี 2020 จำนวนสินค้าใน 3 แพลตฟอร์มอย่าง Lazada Shopee และ JD CENTRAL มีจำนวนสินค้าเพิ่มขึ้นกว่า 32%

เมื่อดูผู้ขายจะพบว่า จำนวนพ่อค้าแม่ค้าในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นสูงถึง 50% ด้วยกัน ชี้ให้เห็นถึงการปรับตัว และเข้ามาแข่งขันในตลาดออนไลน์มากยิ่งขึ้นถึงแม้ว่าจำนวนของพ่อค้าแม่ค้าในไทยจะมีมากขึ้น แต่เมื่อเจาะลึกลงไปกลับพบว่า ส่วนแบ่งการตลาดของจำนวนสินค้าในไทยยังคงเป็นสินค้าจากต่างชาติที่กินส่วนแบ่งกว่า 63% เลยทีเดียว

"นี่เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ค้าชาวไทยต้องเร่งพัฒนาสินค้า เพราะการแข่งขันด้วยราคาไม่อาจสู้สินค้าจากประเทศจีนได้อย่างแน่นอน"

เทรนด์ที่ 2 Direct to Consumer

หลายๆ แบรนด์หันมาสร้างช่องทางการขายสินค้าโดยตรงสู่ผู้บริโภค โดยไม่ผ่านช่องทางการกระจายสินค้าเช่นเดิม จากข้อมูลของไพรซ์ซ่าพบว่า จำนวนร้านค้า Brand Official Shop ใน Shopee Mall และ Laz Mall มีจำนวนร้านค้าเพิ่มขึ้นกว่า 46% ชี้ให้เห็นถึงแบรนด์ที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์โดยตรงกับลูกค้า ตลอดจนลูกค้าก็มีความรู้สึกมั่นใจได้ว่าการได้ซื้อสินค้าโดยตรงกับแบรนด์จะได้รับสินค้าที่ถูกต้อง ของแท้แน่นอน

เทรนด์ที่ 3 From search base shopping to Discovery-base Shopping

ยุคสมัยก่อนคนอยากซื้ออะไรก็พิมพ์ค้นหาบน Search Engine หน้าที่ของคนขายจึงต้องทำให้ตัวเองเกิดการค้นเจอ แต่เทคโนโลยีปัจจุบันทำให้เราไม่ต้องค้นหาสินค้าอีกต่อไป แต่กลับด้านกัน สินค้ามันเรียนรู้สิ่งที่เราสนใจ และค้นหาจนโผล่มาบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของเราจนโดนป้ายยา อุดหนุนสินค้านั้นๆในที่สุด จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า 53% ของออนไลน์ช็อปปิ้งมาจากการที่สินค้าเรียนรู้และค้นหาสิ่งที่ผู้คนสนใจ และอีก 35% มาจากคนเสิร์ชหาข้อมูลสินค้าเอง

เทรนด์ที่ 4 Influencer Commerce

KOL หรือ Key Opinion Leader จะได้รับความนิยมพุ่งสูง จากข้อมูลสถิติของ South China Morning Post 2019 พบว่า 60% ของรูปแบบ Social Marketing ที่มีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างเม็ดเงินให้กับผู้ประกอบการมากที่สุด คือ KOL เห็นได้จากกรณีศึกษาของประเทศจีนที่แบรนด์สินค้าจะนิยมจ้างดารา นักแสดง หรือผู้ที่มีชื่อเสียงมาโปรโมตสินค้าไม่ว่าจะเป็นผ่าน Live สด หรือบนโซเชียลมีเดียโพสต์ต่างๆ ซึ่งได้สร้างยอดขายถล่มทลายให้กับแบรนด์สินค้านั้นๆ สิ่งนี้จะเป็นอีกหนึ่งรูปแบบ Social Marketing ที่น่าจับตามองในปี 2021

เทรนด์ที่ 5 Convergence of Platform

การขยายตัวของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะกินรวบตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ จากจุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์มที่เน้นให้บริการเดียว ได้ขยายตัวให้บริการในด้านอื่นๆ กันมากขึ้น จากภาพเราจะเห็นได้ชัดเจนว่า หลายๆ แพลตฟอร์มได้ขยายตัวให้บริการตั้งแต่ สื่อ, โฆษณา, อีคอมเมิร์ซ, ธนาคาร ไปจนถึงระบบขนส่ง

อย่างไรก็ตามจาก 5 Trend ที่ได้กล่าวไปจะเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ทั้งการแข่งขันกันของแต่ละแพลตฟอร์ม รูปแบบการทำการตลาด ตลอดจนการแข่งขันของสินค้าจีนที่ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งหาวิธีพัฒนา สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแบรนด์ตัวเองเพื่อต่อสู้ในสงครามอีคอมเมิร์ซกันต่อไปในอนาคต โดยเร็วๆ นี้ ไพรซ์ซ่าเตรียมจัดงาน CTC2021 ในวันอาทิตย์ที่ 25 เม.ย.64 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม BITEC


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ