อาหารขยับ-ผักพุ่งสูงสุด 13 เดือน เงินเฟ้อ ก.ค.ลบ 0.5% ชี้เศรษฐกิจฟื้น

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

อาหารขยับ-ผักพุ่งสูงสุด 13 เดือน เงินเฟ้อ ก.ค.ลบ 0.5% ชี้เศรษฐกิจฟื้น

Date Time: 4 ก.ย. 2563 06:01 น.

Summary

  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือน ส.ค.63 ว่า เท่ากับ 102.29 เพิ่มขึ้น 0.29% เทียบกับเดือน ก.ค.63 แต่ลดลง 0.5% เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.62

Latest

รอบรั้วการตลาด : CSA จับมือ VNS พัฒนาอสังหาฯ รับการเติบโตอุตสาหกรรมไทย

น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือน ส.ค.63 ว่า เท่ากับ 102.29 เพิ่มขึ้น 0.29% เทียบกับเดือน ก.ค.63 แต่ลดลง 0.5% เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.62 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และเดือนนี้ถือว่าหดตัวต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) ปีนี้ ลดลง 1.03% เงินเฟ้อพื้นฐานที่หักอาหารสดและพลังงานออกจากการคำนวณ เทียบเดือน ก.ค.63 ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เพิ่มขึ้น 0.30% เทียบกับเดือน ส.ค.62 เฉลี่ย 8 เดือน เพิ่มขึ้น 0.33%

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อติดลบน้อยลง มาจากการลดลงของราคาสินค้าอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เช่น การขนส่งและการสื่อสาร ลด 4.5% จากการลดลงของราคาน้ำมันส่งผลให้กลุ่มพลังงานลด 9.7% ค่าโดยสาร เช่น รถไฟลอยฟ้า ค่าเรือ ลด 0.02% แต่หมวดการรักษาและบริการส่วนบุคคล เช่น ยาสีฟัน โฟมล้างหน้า ค่าแต่งผมชาย เพิ่ม 0.31% ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่ม 1.62% โดยเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับความต้องการบริโภค เช่น ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่ม 1.49% เนื้อสัตว์ เป็ด สัตว์น้ำ เพิ่ม 3.12% โดยเฉพาะเนื้อสุกร ที่ราคายังทรงตัวสูง ตามความต้องการทั้งในและต่างประเทศ ผักสด เพิ่ม 13.94% เช่น ผักชี มะเขือเทศ ต้นหอม ถือว่าราคาสูงสุดในรอบ 13 เดือน เนื่องจากฝนตกชุก ทำให้ผักเสียหาย เครื่องประกอบอาหาร เพิ่ม 3.09% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่ม 1.96% อาหารบริโภคในบ้าน เพิ่ม 0.48% นอกบ้าน เพิ่ม 0.88% แต่ผลไม้ ลด 4.99%

“แนวโน้มเงินเฟ้อเดือน ก.ย.63 และเดือนต่อๆไปคาดหดตัวต่อเนื่องแต่ในอัตราที่ลดลง เพราะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น จากภาคเกษตรที่ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการของรัฐที่ผลักดันให้คนมีงานทำ การแจกเงิน 3,000 บาท เพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้า การส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลดีต่อเงินเฟ้อ ขณะที่ราคาน้ำมันไม่เป็นปัจจัยกดดันเพราะยังทรงตัว ทำให้ทั้งปี ยังคาดการณ์เงินเฟ้อที่ติดลบ 1.5% ถึงลบ 0.7% ค่ากลางอยู่ที่ลบ 1.1%”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ