เทคโนโลยีกับวิถีใหม่

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

เทคโนโลยีกับวิถีใหม่

Date Time: 1 ก.ย. 2563 05:01 น.

Summary

  • เศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตต้องอาศัย เทคโนโลยีในการพัฒนาธุรกิจ และ การผลิต ที่จะเข้ามาในระบบอุตสาหกรรมและการผลิตเร็วกว่าที่คิด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการลดต้นทุนการผลิตสู้กับเศรษฐกิจโลก

Latest

แมคโดนัลด์เปิด 3 สาขาใหม่ในแหล่งท่องเที่ยวรับเทศกาลปีใหม่

เศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตต้องอาศัย เทคโนโลยีในการพัฒนาธุรกิจ และ การผลิต ที่จะเข้ามาในระบบอุตสาหกรรมและการผลิตเร็วกว่าที่คิด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการลดต้นทุนการผลิตสู้กับเศรษฐกิจโลกที่กำลังชะลอตัวอย่างหนัก และส่วนสำคัญก็คือรับมือกับ เศรษฐกิจหลังโควิด-19 ที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนโดยสิ้นเชิงจากหน้ามือเป็นหลังมือ

ความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ต้องจับตาไปที่การ เริ่มต้นจาก อุตสาหกรรมด้านพลังงาน เป็นหลัก เพราะเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญกับ การเติบโตกับเศรษฐกิจ มากที่สุด จะเห็นได้จากการสร้างกำไรและรายได้เข้าประเทศ มากระจุกอยู่ที่ ธุรกิจด้านพลังงาน เป็นส่วนใหญ่ ส่วน การท่องเที่ยว และ อุตสาหกรรมการบิน ที่เคยสร้างรายได้เข้าประเทศ ต้องพลิกโครงสร้างธุรกิจใหม่จากหน้ามือเป็นหลังมือเช่นกัน

การร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีจะมีมากขึ้นกว่าในอดีต ไม่ใช่ลักษณะต่างคนต่างพายอีกต่อไป ยกตัวอย่าง การพัฒนาเทคโนโลยี เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนด้วยช่องการไหลขนาดไมโคร สเกล Microchannel Heat Exchanger Technology ที่ต้องอาศัยองค์ ความรู้ ด้านเทคโนโลยีการออกแบบ ให้เครื่องมือในกระบวนการผลิตมีขนาดเล็กลงกว่าเดิม 70-90% ช่วยลดอุณหภูมิของสารไฮโดรคาร์บอนในกระบวนการจากเดิม 5-20 องศาเซลเซียส ส่งผลให้สารไฮโดรคาร์บอนกลั่นตัวเป็นของเหลวได้มากขึ้น ช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดเงิน ได้ถึงปีละ 40 ล้านบาท

ผลงานดังกล่าวเป็นการร่วมมือวิจัยระหว่าง ปตท.และ GC ที่เมื่อเร็วๆนี้ วรวัฒน์ พิทยศรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและดิจิทัล ปตท. วริทธิ์ นามวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเพื่อ ความเป็นเลิศพีทีที โกลบอล และ ไพโรจน์ สมุทรธนานนท์ กรรมการผู้จัดการจีซี เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริง ลงนามตกลงโครงการดังกล่าวไปเป็นที่เรียบร้อยเพื่อขยายนวัตกรรมไปสู่การผลิตทั้งภาครัฐและเอกชนต่อไป

ที่ผ่านมา ความร่วมมือทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่าง ปตท.กับ GC สร้างสิ่งประดิษฐ์ทางด้านเทคโนโลยีและการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ มีการจดสิทธิบัตรเอาไว้ทั้งในและต่างประเทศ ถึงกว่า 40 ฉบับ และอนุญาตให้มีการนำเทคโนโลยีไปขยายผลในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการพัฒนาและวิจัยในขั้นตอนต่อไป

อาทิ เทคโนโลยีในการทดแทนการนำเข้า เทคโนโลยีจำพวกอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น การนำความรู้มาร่วมกันดำเนินงานวิจัยและพัฒนา ต่อยอดความคิด เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในทางธุรกิจของประเทศ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

ในยุคที่จะก้าวเข้าสู่การแข่งขันด้านเทคโนโลยีอย่างเต็มตัว งานด้านพัฒนาและวิจัย เป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องหันมาให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เศรษฐกิจในอนาคต ไม่ได้เอาชนะกันที่ แรงงานคน หรือการลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะด้านแรงงานอีกต่อไป

แต่จะเป็นการแข่งขันและเอาชนะกันด้านเทคโนโลยีเท่านั้น.

หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ