แผนควบรวมเสร็จสิ้น คุ้มภัยโตเกียวมารีน ตั้งเป้าเบี้ยรับปี 63 ที่ 1.7 หมื่นล้าน

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แผนควบรวมเสร็จสิ้น คุ้มภัยโตเกียวมารีน ตั้งเป้าเบี้ยรับปี 63 ที่ 1.7 หมื่นล้าน

Date Time: 25 ส.ค. 2563 16:37 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • แผนควบรวมกิจการเสร็จสิ้น "คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย" ตั้งเป้าเบี้ยรับปี 63 ที่ 17,000 ล้านบาท เร่งพัฒนาระบบออนไลน์ตอบโจทย์ลูกค้า และนายหน้าประกัน

แผนควบรวมกิจการเสร็จสิ้น "คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย" ตั้งเป้าเบี้ยรับปี 63 ที่ 17,000 ล้านบาท เร่งพัฒนาระบบออนไลน์ตอบโจทย์ลูกค้า และนายหน้าประกัน

นายสุธีชัย สันติวราคม กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ บมจ.คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย มีความคืบหน้าหลายด้านภายหลังการควบรวมกิจการตามกฎหมาย นับตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ. 63 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ จากสถานการณ์ โควิด-19 แม้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับรวมในช่วงครึ่งปีแรก เช่น ยอดการจำหน่ายรถยนต์ป้ายแดงลดลง และ ปริมาณการส่งออกที่ลดลง

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากมาตรการผ่อนปรนของภาครัฐ ผลการดำเนินงานของบริษัทก็ได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ที่ผ่านมา บริษัทฯ ยังสามารถดูแลและให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการสนับสนุนจากเครือข่ายสาขาทั่วประเทศ

ขณะเดียวกัน แผนการดำเนินงานหลังควบรวมฯ จากส่วนธุรกิจต่างๆ มีความคืบหน้าไปมาก การดำเนินงานเป็นไปอย่างบูรณาการมากขึ้น ปีนี้บริษัทฯ คาดว่า จะมีรายได้เบี้ยรับรวมราว 17,000 ล้านบาท

ด้าน นายฮิโระโนะริ คิริว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า เราวางแผนรวมกิจการสาขาใน 23 จังหวัด ที่มี 2 สาขาคุ้มภัยและโตเกียวมารีนเข้าไว้ด้วยกัน ถึงตอนนี้เราดำเนินการรวมสาขาเสร็จเรียบร้อยไปแล้วทั้งสิ้น 10 สาขา

นอกจากนี้ เรายังเดินหน้าพัฒนาระบบออนไลน์ที่เรียกว่า Safe Smart เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ตัวแทนและนายหน้าให้สามารถบริหารจัดการกรมธรรม์ประกันภัยของลูกค้าที่แจ้งไว้กับบริษัท

สำหรับ คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัยฯ มีการดำเนินกลยุทธ์ผ่านช่องทางการขายหลัก ประกอบไปด้วย 1. ช่องทางสาขาที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ 2. ฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งจากเครือข่ายบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในไทยและกลุ่มประเทศแม่น้ำโขง

3. ช่องทางการขายผ่านตัวแทนและโบรกเกอร์ 4. การเป็นพันธมิตรร่วมกับดีลเลอร์ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ 5. ช่องทางอื่นๆ อาทิ B2B2C


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ