ทุ่มหมดหน้าตัก 3.8 หมื่นล้าน รฟท.สร้างทางคู่เชื่อมอีอีซี

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ทุ่มหมดหน้าตัก 3.8 หมื่นล้าน รฟท.สร้างทางคู่เชื่อมอีอีซี

Date Time: 28 พ.ย. 2562 09:32 น.

Summary

  • นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบรายละเอียดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา

Latest

“คิง” เปิดแผนสู้ศึกตลาดน้ำมันรำข้าว ทุ่ม 1.5 พันล้าน เร่งเพิ่มกำลังการผลิตสู่ยอดขายหมื่นล้าน

นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบรายละเอียดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เตรียมนำเสนอผลการศึกษาขั้นสุดท้าย ให้ รฟท.พิจารณาเดือน ธ.ค.นี้ คาดว่ารัฐบาลจะลงทุน 38,500 ล้านบาท ในการพัฒนาโครงข่ายการเดินทางและการขนส่งทางรางจากภาคกลางไปยังเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) กับ 3 ท่าเรือ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง, สัตหีบ และมาบตาพุด รวม 202 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 18 สถานี ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง และกระจายสินค้าไปยังอาเซียน

“โครงการนี้คุ้มค่ากับการลงทุน มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 14% ส่งผลทางอ้อมช่วยเพิ่มมูลค่าการผลิตในระบบเศรษฐกิจได้ 100,000 ล้านบาท, เพิ่มมูลค่าการจ้างงาน 11,000 ล้านบาท สร้างมูลค่าเพิ่มด้านรายได้ให้กับการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) 29,000 ล้านบาท โครงการนี้จะต้องเร่งดำเนินการเพื่อรองรับอีอีซี คาดว่าเริ่มก่อสร้างปี 2564”

ทั้งนี้ โครงการแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ 1.ปรับปรุงทางรถไฟเดิม ฯลฯ ช่วงหัวหมาก-สถานีชุมทางศรีราชา ระยะทาง 115 กม., 2.ก่อสร้างทางคู่เส้นใหม่ ช่วงศรีราชา-ชุมทางเขาชีจรรย์-มาบตาพุด 70 กม. ฯลฯ, ก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองชุมทางศรีราชา-ชุมทางเขาชีจรรย์ 2 กม. โดยเริ่มดำเนินการช่วงที่ 2 และ 3 ได้ก่อน เนื่องจากช่วงที่ 1 ยังติดปัญหาความชัดเจนของรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา

“ภายหลังการพัฒนาทำให้ระยะเวลาการขนส่งสินค้าจากกรุงเทพฯไปยังท่าเรือเพียง 2 ชั่วโมง เนื่องจากรถไฟทำความเร็วได้มากขึ้น โดยการขนส่งสินค้า ความเร็วจะเพิ่มจาก 40-50 กม.ต่อชั่วโมง (ชม.) เป็น 80-90 กม.ต่อ ชม. ส่วนการขนส่งคนความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 60-70 กม.
ต่อ ชม. เป็น 100 กม.ต่อ ชม. มีปริมาณผู้โดยสาร 2.3 ล้านคนต่อปี ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มขึ้นเป็น 5.9 ล้านคนต่อปีในปี 2598.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ