ปรับปรุงค่าลดหย่อน-ยกเว้นภาษี

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ปรับปรุงค่าลดหย่อน-ยกเว้นภาษี

Date Time: 7 ต.ค. 2562 08:25 น.

Summary

  • นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรกำลังศึกษาเพื่อปรับปรุงค่าลดหย่อนและยกเว้นทางภาษีมากกว่า 20 รายการ

Latest

อัปเดต 5 กลยุทธ์ขายของ พิชิตใจคน Gen Z อยากรักษ์โลก แต่ของมันต้องมี แบรนด์รับมืออย่างไร?

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรกำลังศึกษาเพื่อปรับปรุงค่าลดหย่อนและยกเว้นทางภาษีมากกว่า 20 รายการ หลังจากการสำรวจของกรมพบว่าคนที่มีฐานะดีคิดเป็น 20% ของจำนวนประชากร 65 ล้านคน ได้ประโยชน์จากค่าลดหย่อนและการยกเว้นภาษีมากที่สุด ดังนั้นกรมจึงจะปรับปรุงค่าลดหย่อนและการยกเว้นภาษีใหม่ โดยพิจารณาว่าค่าลดหย่อนใดมีความจำเป็นบ้าง ถ้าค่าลดหย่อนใดไม่มีความจำเป็นก็อาจตัดออกไป หรือบางรายการอาจปรับวงเงินลดหย่อนให้น้อยลง เพื่อไม่ให้เอื้อประโยชน์ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง “การปรับลดหรือยกเลิกค่าลดหย่อนบางรายการจะทำให้คนรวยได้รับค่าลดหย่อนน้อยลง ขณะที่คนชนชั้นกลางจะได้ค่าลดหย่อนเพิ่มขึ้น เป็นการช่วยลดภาระภาษีให้คนชนชั้นกลางได้มากขึ้น”

ปัจจุบันค่าลดหย่อนทางภาษีบางรายการ เช่น เงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่นำมาหักลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาทนั้น คนที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือคนรวย เพราะมีเงินมากพอที่จะลงทุนใน LTF เต็มวงเงินที่ 500,000 บาท เป็นต้น โดยกรมกำลังศึกษารูปแบบกองทุนลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีแทน LTF ที่สิทธิประโยชน์ภาษีกำลังสิ้นสุดลงปลายปีนี้ โดยได้รับข้อเสนอของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ที่ให้ลดวงเงินลงทุนแต่ไม่เกิน 250,000 บาท แต่ต้องลงทุนยาว 7 ปีปฏิทินมาพิจารณาอยู่

ทั้งนี้ ปัจจุบันสรรพากรกำหนดให้มีค่าลดหย่อนมากกว่า 20 รายการ เช่น ให้ค่าลดหย่อนส่วนตัวรายละ 60,000 บาท, ค่าลดหย่อนบุตรรายละ 30,000 บาท, ค่าลดหย่อนอุปการะพ่อแม่รายละ 30,000 บาท, ค่าลดหย่อนคนพิการรายละ 60,000 บาท เบี้ยประกันชีวิตไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) คนละ 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ดอกเบี้ยจากเงินกู้บ้านไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี เป็นต้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ