“ปิยสวัสดิ์” ยื่นจดหมายอัดกบง. เสนอปฏิรูปพลังงาน 6 ประเด็น

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“ปิยสวัสดิ์” ยื่นจดหมายอัดกบง. เสนอปฏิรูปพลังงาน 6 ประเด็น

Date Time: 25 ก.ค. 2562 08:28 น.

Summary

  • กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน (ERS) นำโดย ”ปิยสวัสดิ์” เตรียมยื่นจดหมายเปิดผนึกเสนอต่อ “สนธิรัตน์” รมว.พลังงาน ปฏิรูปพลังงาน 6 ข้อ อัดยับ “กบง.” ชุดที่ผ่านมาอนุมัติสร้างโรงไฟฟ้าภาคตะวัน

Latest

อัปเดต 5 กลยุทธ์ขายของ พิชิตใจคน Gen Z อยากรักษ์โลก แต่ของมันต้องมี แบรนด์รับมืออย่างไร?

กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน (ERS) นำโดย ”ปิยสวัสดิ์” เตรียมยื่นจดหมายเปิดผนึกเสนอต่อ “สนธิรัตน์” รมว.พลังงาน ปฏิรูปพลังงาน 6 ข้อ อัดยับ “กบง.” ชุดที่ผ่านมาอนุมัติสร้างโรงไฟฟ้าภาคตะวันตก 1,400 เมกะวัตต์ โดยไม่ประมูลไร้ธรรมาภิบาล

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกลุ่ม ปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน (ERS) เปิดเผยว่า กลุ่มเตรียมยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เพื่อเสนอแนวทางปฏิรูปพลังงานที่สำคัญ 6 ประเด็น ได้แก่ 1.การ ปรับโครงสร้างราคาพลังงานต่างๆ ที่ควรสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง 2.เพิ่มการแข่งขันและประสิทธิภาพในธุรกิจพลังงาน เพื่อมิให้มีการเอาเปรียบผู้บริโภค 3.ลดการแทรกแซงโดยมิชอบ และแสวงหา ประโยชน์ในกิจการพลังงานที่รัฐถือหุ้น และการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 4.กระบวนการในการกำหนดนโยบายต้องมีความ เหมาะสม 5.ทิศทางของการสำรวจ พัฒนาและจัดหาแหล่งพลังงาน และ 6.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด

นายปิยสวัสดิ์กล่าวว่า กระทรวงพลังงาน ต้องเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของโลก และแก้ข้อสงสัยเรื่องการเอื้อประโยชน์เอกชน
ซึ่งบั่นทอนธรรมาภิบาลภาครัฐ ให้เป็นวาระเร่งด่วน แม้ว่าการบริหารพลังงาน ที่ผ่านมาจะตอบโจทย์ การแก้ไขปัญหาหลายด้าน ตามที่กลุ่มเคยเสนอไว้ แต่ก็ยังมีหลายเรื่องที่หากทิ้งไว้จะทำให้มีความอ่อนแอลงและมีผลกระทบต่อความสามารถ ในการแข่งขันและฐานะการเงินระหว่างประเทศของไทย อาทิ ธรรมาภิบาลด้านบริหารจัดการนโยบายพลังงานที่ยังมีจุดที่ก่อให้เกิดข้อสงสัย เนื่องจากเอกชนบางรายได้ประโยชน์จากนโยบายและการตัดสินใจของหน่วยงานภาครัฐ เช่น คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีการอนุมัติต่ออายุและ สร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ ในภาคตะวันตก 2 โรง โรงละ 1,400 เมกะวัตต์ แทนโรงเดียวที่มีกำลังการผลิต 700 เมกะวัตต์ ที่หมดอายุลงโดยไม่มีการประมูล

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดประมูลสร้างท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 ที่มี การเพิ่มคลังรับก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) โดยไม่เชื่อมโยงกับแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี 2018) ขณะที่ราคาพลังงานยังมีการอุดหนุนราคาพลังงานบางประเภทในระดับสูง ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคบางส่วน และไม่สร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเชื้อเพลิงชีวภาพที่ต้นทุนการผลิตยังสูงเกินควร

ขณะที่ด้านธรรมาภิบาล กลุ่มยังมีข้อเสนอให้ปรับปรุงโครงสร้างการบริหาร อาทิ แก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2562 เพื่อแยกการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแลและการดูแลผลประโยชน์ของรัฐ ในฐานะของผู้ถือหุ้นออกจากกันอย่างแท้จริง โดยเห็นควรเพิ่มการแข่งขันในกิจการผลิตไฟฟ้าให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ระบบผลิตไฟฟ้า จะเปลี่ยนแปลงสู่ระบบ กระจายศูนย์อย่างรวดเร็วในอนาคต และส่งเสริมการผลิตเองใช้เองของผู้บริโภค ด้วยการปรับโครงสร้างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยยังคงให้ควบคุมระบบสายส่ง ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และให้จัดกลุ่มโรงไฟฟ้าอื่นๆของ กฟผ. เป็นหน่วยงานอิสระเพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขันกับเอกชนที่เปิดกว้างและโปร่งใส อันจะเป็นโอกาสทางธุรกิจต่อไปในอนาคต.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ