ขู่สายสื่อสารลงใต้ดินต้นทุนพุ่ง 50 เท่า

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ขู่สายสื่อสารลงใต้ดินต้นทุนพุ่ง 50 เท่า

Date Time: 28 มิ.ย. 2562 05:40 น.

Summary

  • ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทนจาก 6 ผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม ประกอบไปด้วย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (ในเครือเอไอเอส), บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด

Latest

คาราบาวแดง ตั้งเป้าเพิ่มแชร์ 3% ทะยานสู่แชมป์ตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง ผนึกไทยรัฐ กรุ๊ป ปีที่ 4 ลุยแคมเปญใหญ่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทนจาก 6 ผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม ประกอบไปด้วย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (ในเครือเอไอเอส), บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด, บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์,บมจ.อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม, บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด และ บมจ.เอแอลที เทเลคอม ได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อคัดค้าน “โครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” โดยมีนายพันศักดิ์ เจริญ ผู้อำนวยการส่วนประสานมวลชนและองค์กรประชาชน ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับหนังสือ

นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กรเอไอเอส เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการทั้ง 6 ราย ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีประชาชนผู้ใช้บริการรวมกันกว่า 70 ล้านราย มายื่นหนังสือขอให้นายกรัฐมนตรีชะลอและทบทวนโครงการนำสายสื่อสารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระยะทางรวมกว่า 2,450 กิโลเมตรลงใต้ดินในรูปแบบท่อร้อยสาย เนื่องจากผลศึกษาพบว่าการนำสายสื่อสารลงใต้ดินอาจทำให้ต้นทุนสูงขึ้นถึง 50 เท่า

ทั้งการลงทุนและการซ่อมบำรุงรักษา ซึ่งจะกระทบต่อค่าบริการที่สูงขึ้น ทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการต้องรับภาระเพิ่มขึ้น โดยแนวทางแก้ไขไม่จำเป็นต้องนำสายสื่อสารลงใต้ดินทั้งหมด แต่ใช้วิธีพาดหรือต่อสายที่เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงามได้ ซึ่งเอกชนได้ร่วมกันทำตัวอย่างการเดินสายสื่อสารไว้ที่ถนนนาคนิวาส กทม.แล้ว ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาว จะร่วมกันตั้งองค์กรกลางขึ้นมาเป็นหน่วยงานเดินสายสื่อสาร เพื่อลดจำนวนสายสื่อสารและบริหารจัดการได้สะดวกขึ้นในอนาคต “เอกชนขอให้ศึกษาแนวทางการจัดระเบียบสายสื่อสาร เพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมและความคุ้มค่า หากจำเป็นต้องนำลงใต้ดินก็ให้ทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และให้ผู้ขอใช้ท่อร้อยสายทุกราย สามารถเข้าถึงท่อร้อยสายของหน่วยงานรัฐได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านเอกชนรายใด การนำลงใต้ดินทั้งหมด ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง หากมีการซ่อมบำรุงสายที่อยู่ใต้ดินจะทำยากกว่า ต้องเปิดท่อเพื่อซ่อมอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ