การแข่งขันธุรกิจการบิน

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

การแข่งขันธุรกิจการบิน

Date Time: 25 ส.ค. 2560 05:01 น.

Summary

  • ผลประกอบการ ธุรกิจสายการบิน ในไตรมาสแรก พบว่า การบินไทยและบางกอกแอร์เวย์ส รายได้และกำไรลดลง ในขณะที่สายการบินโลว์คอสต์อื่นๆแม้จะมีรายได้เพิ่มขึ้นแต่บางรายยังขาดทุน สาเหตุเพราะการแข่งขันของธุรกิจการบินและปัจจัยต่างๆจากเศรษฐกิจ

Latest

TSB ชี้ยอดผู้โดยสารพุ่ง4แสนคนต่อวัน

ผลประกอบการ ธุรกิจสายการบิน ในไตรมาสแรก พบว่า การบินไทยและบางกอกแอร์เวย์ส รายได้และกำไรลดลง ในขณะที่สายการบินโลว์คอสต์อื่นๆแม้จะมีรายได้เพิ่มขึ้นแต่บางรายยังขาดทุน สาเหตุเพราะการแข่งขันของธุรกิจการบินและปัจจัยต่างๆจากเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

การบินไทยแจ้งผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2560 ขาดทุนจากการดำเนินงานธุรกิจการบิน จำนวน 1,542 ล้านบาท สาเหตุมาจาก ค่าน้ำมันเครื่องบิน ที่ปรับสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาเฉลี่ยที่ร้อยละ 20.1 ในขณะที่ รายได้จากการโดยสารเฉลี่ยต่อหน่วย ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 10.9 เพราะการแข่งขันที่รุนแรง และ การปรับอัตราค่าธรรมเนียมชดเชยค่าน้ำมัน ถึงจะมี อัตราส่วนการรับผู้โดยสารสูงสุด ในรอบ 10 ปี ก็ยังส่งผลให้ขาดทุนอยู่ดี โดยเป็นผลมาจากการ เปลี่ยนแปลงส่วนได้เสียเงินลงทุนใน บริษัทสายการบินนกแอร์ การด้อยค่าของสินทรัพย์และเครื่องบิน ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทำให้บริษัทขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 5,208 ล้านบาท

เรื่องนี้ อุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย ชี้แจงว่า ในไตรมาสที่ 2 บริษัทได้ดำเนินการตามแผนปฏิรูปองค์กรระยะที่ 3 การเติบโตอย่างยั่งยืน ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา ประกอบกับไตรมาสที่ 2 ถึงเป็นช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว แต่บริษัทมีปริมาณการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 21.9 อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยร้อยละ 78.5 สูงกว่าปีก่อนร้อยละ 69 ซึ่ง การบินไทยมีจำนวนเครื่องบินที่ใช้ในการรับส่งผู้โดยสาร จำนวน 97 ลำ มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการ รวมทั้งสิ้น 5.87 ล้านคน สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 14.9 ทำให้ขาดทุนจากการดำเนินการ ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 13.5 จากรายได้ทั้งสิ้น 45,182 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6

อย่างไรก็ตาม แม้รายได้จากค่าโดยสารและน้ำหนักส่วนเกินเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มขึ้น แต่ก็ประสบกับปัญหารายได้ค่าโดยสารเฉลี่ยต่อหน่วยลดลง เพราะการแข่งขันทางด้านราคาที่รุนแรงมีการตัดราคาจากสายการบินอื่น ในขณะที่ มีค่าใช้จ่ายรวม 46,724 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.6 ทั้งจากค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การใช้จ่ายเพิ่มตามปริมาณการผลิตและปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้ มีการขาดทุนสุทธิ ที่ 5,208 ล้านบาท

ในรายละเอียดการดำเนินการ การบินไทย ขาดทุนสุทธิ 5,211 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนขาดทุนต่อหุ้น 2.39 บาท ขาดทุนสูงกว่า ปีก่อน 1.05 บาท มีสินทรัพย์รวม 291,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,676 ล้านบาท หนี้สินรวม เท่ากับ 260,239 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,703 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นมีจำนวน 31,561 ล้านบาท ลดลง 2,027 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดทุนการดำเนินงานของบริษัทการบินไทยและบริษัทย่อย 6 เดือนแรกของปีนี้

ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการแข่งขันทางด้านธุรกิจการบินค่อนข้างจะรุนแรงมากขึ้นทุกวัน โดยการบินไทยได้ปฏิบัติการตามแผนฟื้นตัวจากการขาดทุนสะสมที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อให้อยู่ในระดับปกติได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ต้องฝ่าคลื่นลมจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีปัญหาและการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินที่ขยายตัวตลอดเวลา โดยเฉพาะเรื่องของคุณภาพและการบริการ.

หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ