73% ของคนทำงานรุ่นใหม่  อยากใช้ “วันลา” เพื่อฟื้นฟูจิตใจ ให้ความสำคัญกับ “ทำไมจึงต้องทำ”

Business & Marketing

Leadership & Culture

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

73% ของคนทำงานรุ่นใหม่ อยากใช้ “วันลา” เพื่อฟื้นฟูจิตใจ ให้ความสำคัญกับ “ทำไมจึงต้องทำ”

Date Time: 17 ก.ย. 2567 10:53 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • สลิงชอท กรุ๊ป เผยเทรนด์การทำงานยุคใหม่ที่องค์กรต้องปรับตัว เมื่อนิยมแนวคิดการทำงานระหว่างเจเนอเรชันใหม่และเจเนอเรชันมากประสบการณ์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง พบ 73% ของคนทำงานรุ่นใหม่ อยากใช้ “วันลา” เพื่อฟื้นฟูจิตใจและให้ความสำคัญกับคำว่า “ทำไมจึงต้องทำ” และมอง จุดหมายปลายทาง คือนิยาม ความสำเร็จทางอาชีพ

Latest


แม้ปัจจุบันกลุ่มคนมิลเลนเนียล หรือคนเจน Y จะเป็นกลุ่มคนที่ใหญ่ที่สุดในโลกการทำงานของไทย และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากในการกำหนดทิศทาง ส่งอิทธิพลต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคม หากแต่ในอนาคต คนเจน Z หรือที่ถูกเรียกว่า คนทำงานรุ่นใหม่ ๆ จะเข้ามาเป็นส่วนผสมของช่วงชั้นการทำงานมากขึ้นเรื่อย ๆ

โดยคนรุ่นนี้มาพร้อมกับมุมมองเกี่ยวกับอาชีพการงาน และวิธีการกำหนดความสำเร็จในชีวิตและในการทำงาน แตกต่างจากคนรุ่นก่อน ๆ อย่างสิ้นเชิง โดย 95% ของคนทำงานเจนใหม่ ยังคำนึงถึงประเด็นด้านความหลากหลายและความเท่าเทียมของพนักงาน และมีแนวโน้มที่จะไม่เลือกสมัครงานกับองค์กรที่มีค่านิยมไม่ตรงกับทัศนคติของพวกเขาอีกด้วย

ข้อมูลสำรวจค่านิยมและแนวคิดการทำงานที่แตกต่างกันระหว่างเจนเนอเรชั่นใหม่และเจนเนอเรชั่นมากประสบการณ์ (Next Gens Think and Work Differently) ผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากผู้นำองค์กรและผู้นำฝ่าย HR กว่า 242 คนในไทย ของสลิงชอท กรุ๊ป ล่าสุด พบประเด็นสำคัญที่น่าสนใจหลายข้อ

  • “จุดหมายปลายทาง” คือนิยามความสำเร็จทางอาชีพของเจนใหม่ ซึ่งหมายถึงการได้รับชัยชนะเล็ก ๆ ในแต่ละวัน ในขณะที่เจนมากประสบการณ์กลับมองความสำเร็จว่าเป็น “การเดินทาง” โดยให้ความสำคัญกับการทุ่มเทในการทำงาน
  • 48% ของเจนใหม่ชอบการฟีดแบคเชิงสร้างสรรค์เป็นประจำรายสัปดาห์ ในทางกลับกันเจนมากประสบการณ์มักปฏิบัติเป็นรายเดือน หรือรอจนจบโปรเจกต์ก่อน
  • 73% ของคนเจนใหม่ใช้วันลาหยุดเพื่อฟื้นฟูจิตใจ และยังต้องการให้มีการพูดคุยเรื่องสุขภาพจิตในที่ทำงานอย่างเป็นปกติ
  • เจนใหม่ให้ความสำคัญกับ “ทำไมจึงต้องทำ (why)” แต่เจนมากประสบการณ์ให้ความสำคัญกับวิธีการว่าทำ “อย่างไร (How)”

ด้วยเหตุนี้ จึงกลายเป็นความท้าทายขององค์กรและผู้ประกอบการในปัจจุบัน ที่ต้องตระหนัก รับรู้ รับฟังพนักงาน รวมถึงนำเสนอคุณค่าในองค์กรที่พนักงานต้องการ (EVP) ให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ ความต้องการที่เปลี่ยนไป อีกทั้งยังแตกต่างกันของคนแต่ละเจนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ในผลสำรวจชุดเดียวกัน สิ่งที่คนทั้ง 2 เจนมองเห็นตรงกัน คือ ผู้นำที่โปร่งใสควรแบ่งปันประสบการณ์ความล้มเหลว พูดและกระทำสอดคล้องกัน และให้ข้อมูลอัปเดตข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ของบริษัทเป็นประจำ

เช่นเดียวกัน 85% ของทั้งสองเจนมองว่า Work-Life Balance เป็นกุญแจสำคัญไปสู่การเติบโต และต้องการชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น

ขณะผลสำรวจประเด็นปัญหาด้านความเท่าเทียมของผู้นำชายและหญิงผ่านผลสำรวจ Elevate the System 2024 จากผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 894 คนใน 5 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ยังพบว่า ในประเทศไทย 43% ของผู้ชายเชื่อว่าผู้หญิงเลือกที่จะให้ความสำคัญกับครอบครัวมากกว่าการทำงาน

โดยทั้งผู้ชาย (44%) และผู้หญิง (51%) มองว่า ความคาดหวังเรื่องการรับผิดชอบในครอบครัว อาจขัดขวางความก้าวหน้าในอาชีพของผู้หญิง อีกทั้งผู้หญิงมักได้รับโอกาสและข้อเสนอมากกว่าผู้ชาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มที่จะไม่แสวงหาและรับโอกาสในการพัฒนาเท่าผู้ชาย

ซึ่งจากผลสำรวจทั้ง 2 ประเด็น นำมาสู่การสร้างสรรค์แนวทาง ‘REAL Way of Work’ หรือ ‘REAL WoW’ ที่ชวนผู้นำรุ่นใหม่เปิดใจ ยอมรับ เข้าใจ และโอบรับความหลากหลายทางเจนเนอเรชั่นและเพศ เพื่อให้สามารถประสบผลสำเร็จในการทำงานร่วมกัน โดยประกอบด้วย

  • R: Respect Individuality - เคารพความเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมารวมและมองลึกถึงตัวตนและจุดแข็งของแต่ละคน
  • E: Evolve Conversation - สร้างสภาพแวดล้อมดีต่อใจพนักงาน (Psychological Safety) ทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนได้ โดยไม่กลัวว่าจะถูกตัดสิน
  • A: Activate Growth Strategies – สนับสนุนการเติบโตตามต้องการ โดยเตรียมพร้อมระบบองค์กรที่รองรับเส้นทางการเติบโตที่แตกต่างกันไปของพนักงาน
  • L: Lead Inclusively – นำพาทีมให้เป็นหนึ่งเดียว โดยจะต้องรับฟัง เข้าอกเข้าใจ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อใจให้พนักงาน

ติดตามข่าวสารด้านการตลาด กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ